การเลือกเวลาในการถ่ายภาพ
หัวใจสำคัญสำหรับการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติก็คือแสงในธรรมชาติ
ดังนั้นเวลาสำหรับการถ่ายภาพที่ดีจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องพิจารณา
การถ่ายภาพ Portrait
เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามส่วนใหญ่แล้วก็คงจะต้องเน้นไปที่เรื่องทิศทางของแสง
สำหรับถ่ายภาพ ทิศทางแสงที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพก็คือ ทิศทางแสงด้านข้าง
ทิศทางแสงเฉี่ยงด้านหลัง เพื่อให้เกิดแสง Rim Light หรือ
ทิศทางแสงจากด้านหลังเพื่อให้เกิด Effect แสงฟุ้งของเส้นผม
เวลาที่เหมาะสมสำหรับทิศทางแสงประเภทดังกล่าว ได้แก่ช่วงเช้าระหว่าง
7.00-10.00 น. หรือจะเป็นช่วงบ่ายระหว่างเวลา 15.00-17.00
น.ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวนั้นแนวของแสงอาทิตย์จะอยู่ในแนวเฉียง
ซึ่งจะทำให้การกำหนดสถานที่
และการวางแบบเพื่อให้ได้ทิศทางแสงเป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น
แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาที่เลยจากนี้ เราจะพบว่า
ดวงอาทิตย์จะอยู่ตำแหน่งสูงทำให้การวางตำแหน่งทิศทางแสงขาดความสะดวกและ
เพิ่มความยุ่งยากมากขึ้นและพึงหลีกเลี่ยงการถ่ายภาพในเวลาเที่ยงวันเนื่อง
จากแสงอาทิตย์จะอยู่ตำแหน่งสูงเหนือศีรษะ
จะทำเงาตกลงด้านล่างทำให้ขาดความสวยงาม
คุณภาพแสงถ่ายภาพ
คุณภาพแสงสำหรับการถ่ายภาพในที่นี้
เราคงจะกล่าวกันว่าเป็นแสงแข็งแสงนุ่ม ในการถ่ายภาพ Portrait นั้น
แสงที่นิยมสำหรับการถ่ายภาพ
ส่วนใหญ่ก็จะนิยมแสงแบบแสงนุ่มเพื่อความนุ่มนวลของภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วน
ของใบหน้าของแบบ แสงนุ่มสามารถสังเกตได้จากความเข้มของเงาที่ปรากฏ
ถ้าเงาที่ปรากฏเป็นเงาเข้มแสดงว่าเป็นแสงแข็ง
แต่ถ้าเงาที่ปรากฏเป็นเงาที่นุ่มนวลแสดงว่าเป็นแสงนุ่ม
นี่คือธรรมชาติของแสง การเลือกสถานที่จะมีส่วนในเรื่องของแสงเข้มแสงนุ่ม
โดยทั่วไป ให้ร่มไม้ ในร่มของอาคารสถานที่
ภายในสถานที่แสงที่ได้จะเป็นแสงนุ่ม
ที่ช่วยให้ภาพถ่ายมีความนุ่มนวลของตัวแบบได้เป็นอย่างดี
แต่สำหรับภาพ Portrait หลายภาพที่มีแสงฟุ้งของเส้นผม หรือ
แสงที่ทำให้เกิด Rim Light ส่วนใหญ่จะเป็นแสงแข็ง
การวางตำแหน่งกับทิศทางแสงจึงเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา
การให้ตำแหน่งทิศทางแสงเข้าทางด้านข้างหรือด้านหลังของแบบจะทำให้เกิดEffect
ได้ตามต้องการ แต่ผลที่ได้มักจะทำให้ส่วนใบหน้าของแบบมืดลง
การเพิ่มค่าการรับแสงให้สว่างขึ้นเป็นวิธีหนึ่งที่ใช้งาน
อีกวิธีหนึ่งก็คือการใช้แผ่นสะท้อนแสงเพิ่มความสว่างของด้านหน้าแบบให้สว่าง
ขึ้น หรือจะใช้วิธีลบเงาด้วยแสงแฟลชก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน
ข้อสำคัญก็คือ การใช้แผ่นสะท้อนแสง
และการกำหนดแสงแฟลชต้องไม่ให้สว่างจนเกินไป
ซึ่งจะทำให้ความสว่างบนตัวแบบหลอกตามากไป
ปัจจุบันพบว่ามีอุปกรณ์เสริมครอบหน้าแฟลชสำหรับทำให้แสงแฟลชนุ่มมากยิ่งขึ้น (Softbox) ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านอุปกรณ์กล้องทั่วไป
จะทำให้แสงแฟลชนุ่มการถ่ายภาพจะง่ายยิ่งขึ้น
การกำกับการโพสท่าของแบบ
หัวใจใหญ่ของภาพ Portrait ที่ปรากฏว่าจะสวยงามน่าดูหรือไม่นั่นคือ
การกำกับการโพสท่าของแบบในการถ่ายภาพหลักใหญ่ของการถ่ายภาพ Portrait ก็คือ
การถ่ายภาพแบบเต็มตัว ถ่ายภาพแบบสามส่วน ถ่ายภาพครึ่งตัว
และการถ่ายภาพเน้นส่วนใบหน้าของแบบ ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานวางมุมแบบปกติ
ส่วนตัวแบบนั้นก็จะมีตั้งแต่ นั่งจะนั่งไขว่ห้าง นั่งชันเข่า นั่งตามสบาย
ยืนสารพัดท่า ยืนพิงกำแพง นอน และ อื่นๆ
ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นไปตามธรรมชาติของเราเองนั่นแหละ
แต่ความสวยงามของภาพ Portrait
ยังขึ้นกับความคิดสร้างสรรค์ของนักถ่ายภาพด้วย
สิ่งนี้เป็นเรื่องยากสำหรับการแนะนำแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราสร้างสรรค์
ไม่ได้แล้วจะไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ
การฝึกหัดในเรื่องนี้มีจุดที่น่าสนใจพอสรุปได้อยู่ 3 ประการ
ประการแรก ความ
คิดสร้างสรรค์ นักถ่ายภาพใหม่ๆ มักจะนึกไม่ออกว่าจะโพสท่าแบบอย่างไร
ตัวช่วยมีครับ ดูภาพ Portrait ที่ปรากฏในบรรดานิตยสารต่างๆ ให้มากไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดานิตยสารแฟชั่นทั้งหลาย จำไว้ใช้
ถ้าไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวลืม ก็ตัด (ถ้าเป็นหนังสือที่ซื้อมาหรือขอตัดได้)
นำมาสร้างเป็นคัมภีร์ส่วนตัวไว้ใช้งาน ไม่ต้องอายว่าจะเอาแบบเขามาใช้
ส่วนใหญ่การโพสจะมีแนวคล้ายๆ กันดัดแปลงเพื่อมาใช้งานได้เลย
ประการที่สอง การ
ถ่ายภาพแบบนั้น หลายคนก็อาจจะเกิดปัญหาอย่างเช่นที่เรากำลังจะกล่าวถึงนี้
นั่นคือ เรื่องของมือ ดูมันเก้งก้างไปหมด ไม่รู้ว่าจะวางมือกันอย่างไร
เรื่องนี้ลองคิดสร้างสรรค์ดูซีครับ หาอะไรให้ถือได้หรือไม่ หนังสือ กระเป๋า
ดอกไม้ หรือแว่นตาก็ยังได้ ถ้าหาไม่มี ให้จกกระเป๋า ประสานมือ เท้าสะเอว
ไพล่หลัง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักถ่ายภาพมือใหม่ต้องฝึกหัดครับ
ประการที่สาม นัก
ถ่ายภาพ Portrait ต้องเป็นผู้ออกคำสั่งในการโพสท่า พึงระลึกเสมอว่า
เมื่อคุณเป็นนักถ่ายภาพ คุณคือผู้ที่เห็นว่า
ภาพที่ปรากฏในช่องมองภาพและการกดชัตเตอร์เพื่อให้ได้ภาพนั้น ภาพเป็นอย่างไร
การสั่งให้แบบ หันซ้าย หันขวาก้มหน้า เงยหน้า มองด้านซ้าย มองด้านขวา
มองกล้อง ขยับซ้ายขยับขวา มือสูงนิด มือลดลงมาหน่อย ยิ้มนิดๆ ยิ้มกว้างๆ
ทำหน้านิ่งๆ ฯลฯ คำเหล่านี้
เป็นเสมือนคำที่ท่องกันจนขึ้นใจและใช้เป็นคำสั่งสำหรับการกำกับแบบเพื่อให้
เป็นไปตามที่ช่างภาพต้องการ
จงอย่าลืมว่าช่างภาพคือคนเดียวที่ทราบว่าภาพที่ต้องการได้จะเป็นอย่างไร
เมื่อกดชัตเตอร์
Post Process
ในการถ่ายภาพ Portrait
นั้นนับตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์มจนถึงยุคกล้องดิจิตอลก็ตาม ภาพที่ถ่ายแล้ว
การจะใช้งานกับภาพในขั้นตอนสุดท้ายก็คือการ Process รูปให้ดีที่สุด
ยิ่งในยุคกล้องดิจิตอลด้วยแล้ว เราจะพบว่าการถ่ายภาพ Portrait
มีการปรับปรุงเสริมแต่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องสีสันซึ่งวันนี้มีปรากฏตั้งแต่
สีสันที่เป็นแนวธรรมชาติ หรือสีสันที่แปลกตาแนวแฟชั่นต่างๆ
ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายแนวคิด ดังนั้นวันนี้ Creative
ในเรื่องการปรับสีภาพจึงมีการพัฒนาก้าวไกล ยิ่งนักถ่ายภาพรุ่นใหม่ไฟแรง
ที่พร้อมด้วยเทคโนโลยีของซอฟแวร์ที่มีให้ใช้ทำให้ความคิดในเรื่องการถ่ายภาพ
Portraitมีสีสันที่แปลกตามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลักใหญ่ๆ ก็จะได้แก่การปรับตั้ง
Contrast (ความเปรียบต่าง) ของภาพ การปรับ Saturation
สีของภาพให้มีโทนสีที่อาจจะสูงขึ้น หรือต่ำลง
เป็นแฟชั่นที่แปลกตามากขึ้นไปจากปกติ สิ่งเหล่านี้คือ
ความได้เปรียบของนักถ่ายภาพรุ่นใหม่ที่กำลังก้าวล้ำนำหน้านักถ่ายภาพรุ่น
เก่าและนำสไตล์ภาพใหม่ๆ เข้าสู่วงการถ่ายภาพ
วันนี้ ความสำเร็จของนักถ่ายภาพ Portrait
หาใช่เพียงการถ่ายภาพให้ได้เท่านั้น
แต่อยู่ที่การศึกษาเรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพ
ติดตามผลงานการถ่ายภาพอย่างสม่ำเสมอ เปิดวิสัยทัศน์กับการมองภาพแนวใหม่
สร้าง Creative สำหรับการถ่ายภาพให้มากขึ้น แล้วคุณจะพบว่าการถ่ายภาพ
Portrait ให้งามดั่งใจไม่ยากจนเกินไปครับ
...
วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2557
มือใหม่หัด Portrait ตอนที่1
แม้ว่าการถ่ายภาพ Portrait หรือการถ่ายภาพ บุคคลจะเป็นการถ่ายภาพที่ไม่จำเป็นต้องเป็นสาวๆ เสมอไป แต่ทั้งคุณรวมทั้งผมด้วยก็คงต้องยอมรับว่า ถ้าจะให้เลือกระหว่างถ่ายภาพคนชรากับสาวๆ แล้วละก็ ผมว่าเกือบทั้งหมดเลือกถ่ายสาวๆ เป็นอันดับแรก การถ่ายภาพที่ใช้แสงธรรมชาติเป็นหลักใหญ่ ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้งานจริงของนักถ่ายภาพมือใหม่ในการฝึกถ่ายภาพ Portrait ด้วยอุปกรณ์ที่มีอยู่ โดยไม่ต้องซื้อหามาเพิ่มเติมให้มากมายแต่อย่างใด
อุปกรณ์ที่ใช้
- กล้อง ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ Portrait ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็ควรเป็นกล้อง D-SLR จะเป็นรุ่นเล็ก รุ่นกลาง รุ่นใหญ่ก็ตามแต่กระเป๋าของแต่ละท่านครับ เหตุที่น่าจะเป็นกล้องประเภทนี้ก็คือ เราสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ที่จะเลือกใช้ได้หลากหลายกว่าแต่อย่างไรก็ตามถ้า เป็นกล้องคอมแพคระดับบนหน่อยที่มีซูมให้เลือกใช้ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกัน ครับ
- เลนส์ สำหรับการถ่ายภาพ Portrait เป็นเรื่องที่กล่าวขวัญกันเสมอว่าควรเป็นเลนส์เทเลที่มีขนาดรูรับแสงที่ กว้างหน่อยอย่างเช่น F2.8 เพื่อละลายฉากหลังนั้น ถ้าถามว่าจำเป็นไหม สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องรองครับ หาเทเล F2.8 ซักตัวแน่นอนว่าราคาหลายหมื่น ผมอยากจะบอกว่า การถ่ายภาพ Portrait นั้น เลนส์ที่จะใช้งานสามารถใช้งานได้ทั้งเลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์เทเล ใช้ได้ทั้งนั้นครับ ขึ้นกับว่าในการถ่ายภาพนั้นต้องการลักษณะภาพแบบไหน การถ่ายภาพ Portrait ที่ต้องการแสดงถึงสถานที่ด้วยนั้นหลายครั้งที่การถ่ายก็อาจจะต้องใช้เป็น เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บสภาพแวดล้อม แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพที่เน้นเฉพาะตัวแบบแล้ว การใช้เลนส์เทเลก็จะเพิ่มความกระชับพื้นที่ตัวแบบได้มากกว่า ดังนั้นเลนส์ที่ใช้งานได้ครอบคลุมการถ่ายจึงอยู่ในช่วงระหว่าง 24-135 มม. จะเป็นช่วงที่เหมาะและคล่องตัวสำหรับการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการที่จะทำให้ฉากหลังเบลอมากๆ อย่างที่เขาเรียกกันว่าละลายฉากหลังแล้วล่ะก็ เลนส์ซูม 70-200 มม. F2.8 ก็เป็นเลนส์ที่ให้ผลของการถ่ายภาพมากกว่า
- แผ่นสะท้อนแสง หรือ Reflector ถ้าถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น ก็ไม่เชิงนัก แต่ถ้ามีก็มีส่วนช่วยมากสำหรับการใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสะท้อนแสงเปิดความสว่าง ให้กับตัวแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้แสงด้านข้างหรือการถ่ายภาพที่มีการย้อนแสงใน บางครั้ง
- แฟลช เป็นอุปกรณ์เสริมที่ควรมีไว้ใช้งาน ถ้ามีการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติ จะเป็นแฟลชที่แยกจากตัวกล้อง หรือเป็นแฟลชที่ติดมากับตัวกล้องก็สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถ่ายภาพที่ต้องการถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อให้เกิด Effect แสงที่แตกต่างไปจากสภาพปกติ
เลือกสถานที่ถ่ายภาพ
สถานที่สำหรับการถ่ายภาพ Portrait นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับงานประเภทนี้ จริงอยู่ที่การถ่ายภาพบุคคลมุมภาพเป็นมุมที่แคบๆ การพิจารณาถึงเรื่องสถานที่จึงดูเสมือนกับเป็นเรื่องรองแต่ถ้าสถานที่มีความ สวยงาม และมีความหลากหลาย จะทำให้การถ่ายภาพ Portrait สามารถทำงานได้ง่ายมากขึ้น สามารถสร้างสรรค์การถ่ายภาพบุคคลให้มีมุมมองและเน้นตัวแบบได้มากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับเรื่องสถานที่ถ่ายภาพก็คือ การพิจารณามุมมองในเรื่องของฉากหลัง การเลือกมุมใดมุมหนึ่งของสถานที่มาใช้เป็นฉากหลังสำหรับการถ่ายภาพ ต้องถือว่าเป็นทักษะเฉพาะของนักถ่ายภาพ ที่ต้องพิจารณานำมาใช้งาน อาทิเช่น กำแพง ผนังตึก บันได ห้องนั่งเล่น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร
สร้างสรรค์วางแบบเพื่อถ่ายภาพ
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ นั่นคือ ความพลุกพล่านของผู้คน นักถ่ายภาพควรระลึกว่า เมื่อมีการวางแบบเพื่อการถ่ายภาพถ้าสถานที่พลุกพล่านด้วยผู้คน การทำงานจะเป็นสิ่งสร้างความสนใจให้กับผู้ที่ผ่านไปผ่านมา ซึ่งมีโอกาสรบกวนสมาธิการทำงานได้ง่าย การเลือกสถานที่ วันเวลา ที่ความพลุกพล่านของผู้คนน้อย จะเพิ่มความสะดวกในการทำงานได้มากกว่า และแน่นอนว่าประการสุดท้าย ที่ต้องถือเป็นมารยาทก็คือ การขออนุญาตการใช้สถานที่ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในภายหลังว่าไปใช้สถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาต
อุปกรณ์ที่ใช้
- กล้อง ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพ Portrait ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็ควรเป็นกล้อง D-SLR จะเป็นรุ่นเล็ก รุ่นกลาง รุ่นใหญ่ก็ตามแต่กระเป๋าของแต่ละท่านครับ เหตุที่น่าจะเป็นกล้องประเภทนี้ก็คือ เราสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ที่จะเลือกใช้ได้หลากหลายกว่าแต่อย่างไรก็ตามถ้า เป็นกล้องคอมแพคระดับบนหน่อยที่มีซูมให้เลือกใช้ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกัน ครับ
- เลนส์ สำหรับการถ่ายภาพ Portrait เป็นเรื่องที่กล่าวขวัญกันเสมอว่าควรเป็นเลนส์เทเลที่มีขนาดรูรับแสงที่ กว้างหน่อยอย่างเช่น F2.8 เพื่อละลายฉากหลังนั้น ถ้าถามว่าจำเป็นไหม สำหรับผมถือว่าเป็นเรื่องรองครับ หาเทเล F2.8 ซักตัวแน่นอนว่าราคาหลายหมื่น ผมอยากจะบอกว่า การถ่ายภาพ Portrait นั้น เลนส์ที่จะใช้งานสามารถใช้งานได้ทั้งเลนส์มุมกว้าง หรือเลนส์เทเล ใช้ได้ทั้งนั้นครับ ขึ้นกับว่าในการถ่ายภาพนั้นต้องการลักษณะภาพแบบไหน การถ่ายภาพ Portrait ที่ต้องการแสดงถึงสถานที่ด้วยนั้นหลายครั้งที่การถ่ายก็อาจจะต้องใช้เป็น เลนส์มุมกว้างเพื่อเก็บสภาพแวดล้อม แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพที่เน้นเฉพาะตัวแบบแล้ว การใช้เลนส์เทเลก็จะเพิ่มความกระชับพื้นที่ตัวแบบได้มากกว่า ดังนั้นเลนส์ที่ใช้งานได้ครอบคลุมการถ่ายจึงอยู่ในช่วงระหว่าง 24-135 มม. จะเป็นช่วงที่เหมาะและคล่องตัวสำหรับการใช้งาน แต่ถ้ามีความต้องการที่จะทำให้ฉากหลังเบลอมากๆ อย่างที่เขาเรียกกันว่าละลายฉากหลังแล้วล่ะก็ เลนส์ซูม 70-200 มม. F2.8 ก็เป็นเลนส์ที่ให้ผลของการถ่ายภาพมากกว่า
- แผ่นสะท้อนแสง หรือ Reflector ถ้าถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็น ก็ไม่เชิงนัก แต่ถ้ามีก็มีส่วนช่วยมากสำหรับการใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยสะท้อนแสงเปิดความสว่าง ให้กับตัวแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้แสงด้านข้างหรือการถ่ายภาพที่มีการย้อนแสงใน บางครั้ง
- แฟลช เป็นอุปกรณ์เสริมที่ควรมีไว้ใช้งาน ถ้ามีการถ่ายภาพด้วยแสงธรรมชาติ จะเป็นแฟลชที่แยกจากตัวกล้อง หรือเป็นแฟลชที่ติดมากับตัวกล้องก็สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการถ่ายภาพที่ต้องการถ่ายภาพย้อนแสงเพื่อให้เกิด Effect แสงที่แตกต่างไปจากสภาพปกติ
เลือกสถานที่ถ่ายภาพ
สถานที่สำหรับการถ่ายภาพ Portrait นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่จำเป็นสำหรับงานประเภทนี้ จริงอยู่ที่การถ่ายภาพบุคคลมุมภาพเป็นมุมที่แคบๆ การพิจารณาถึงเรื่องสถานที่จึงดูเสมือนกับเป็นเรื่องรองแต่ถ้าสถานที่มีความ สวยงาม และมีความหลากหลาย จะทำให้การถ่ายภาพ Portrait สามารถทำงานได้ง่ายมากขึ้น สามารถสร้างสรรค์การถ่ายภาพบุคคลให้มีมุมมองและเน้นตัวแบบได้มากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญสำหรับเรื่องสถานที่ถ่ายภาพก็คือ การพิจารณามุมมองในเรื่องของฉากหลัง การเลือกมุมใดมุมหนึ่งของสถานที่มาใช้เป็นฉากหลังสำหรับการถ่ายภาพ ต้องถือว่าเป็นทักษะเฉพาะของนักถ่ายภาพ ที่ต้องพิจารณานำมาใช้งาน อาทิเช่น กำแพง ผนังตึก บันได ห้องนั่งเล่น หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร
สร้างสรรค์วางแบบเพื่อถ่ายภาพ
ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่นหรือไม่ นั่นคือ ความพลุกพล่านของผู้คน นักถ่ายภาพควรระลึกว่า เมื่อมีการวางแบบเพื่อการถ่ายภาพถ้าสถานที่พลุกพล่านด้วยผู้คน การทำงานจะเป็นสิ่งสร้างความสนใจให้กับผู้ที่ผ่านไปผ่านมา ซึ่งมีโอกาสรบกวนสมาธิการทำงานได้ง่าย การเลือกสถานที่ วันเวลา ที่ความพลุกพล่านของผู้คนน้อย จะเพิ่มความสะดวกในการทำงานได้มากกว่า และแน่นอนว่าประการสุดท้าย ที่ต้องถือเป็นมารยาทก็คือ การขออนุญาตการใช้สถานที่ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดในภายหลังว่าไปใช้สถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาต
วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ระบบออโตโฟกัส
ระบบ Auto Focus ของกล้องในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว
และความแม่นยำสูงมาก
แต่ก็มีความสลับซับซ้อนในการปรับตั้งอยู่พอสมควรเมื่อเทียบกับกล้องคอมแพค
ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดในการใช้งาน จึงขอแนะวิธีในการปรับตั้ง
ระบบออโตโฟกัสของกล้องตามลำดับดังนี้
1) ปรับปุ่มโฟกัสที่ตัวเลนส์ไปยังตำแหน่ง Auto
2) เลือกจุดหรือส่วนของพื้นที่ที่ต้องการโฟกัส Focus Area Selection
โดยปกติของกล้องคอมแพค ถูกออกแบบให้โฟกัสเฉพาะพื้นที่ตรงส่วนกลางของจอภาพมอนิเตอร์หรือช่องมองภาพ (View Finder) เท่านั้น แต่สำหรับกล้อง D-SLR ได้ถูกออกแบบให้มีพื้นที่หรือจุดโฟกัสให้เลือกใช้มากมายหลายจุด ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของกล้องนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วมีตั้งแต่ 3-51 จุด พร้อมทั้งระบบการเลือกจุดโฟกัสให้ใช้หลายระบบ ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งของ Subject ที่ต้องการถ่าย โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถจำแนกออกเป็น 3 ระบบดังนี้
+ Auto-area AF กล้องจะเลือกจุดสำหรับโฟกัสให้โดยอัตโนมัติ
ซึ่งจะดำเนินการโดยเลือก Subject ที่อยู่ใกล้สุดเป็นหลักในการเลือกจุดโฟกัส
+ Single-area AF เป็นโหมดที่ผู้ใช้เลือกจุดการโฟกัสด้วยตัวเองเพียงจุดเดียว
เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการโฟกัส
+ Dynamic-area AF (มี เฉพาะในกล้อง Nikon) เป็นการให้เลือกจุดโฟกัสเพียงจุดเดียว
เหมือน Singel-area เพียงแต่กล้องยังคงใช้ข้อมูลของพื้นที่อื่นเป็นส่วนประกอบในการกำหนดโฟกัส
ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่ Subject อาจจะเคลื่อนที่ออกนอกจุดโฟกัสไปบ้างหรือเป็นเวลาสั้นๆ
3) เลือกโหมดออโตโฟกัส Auto Focus Mode
หลักการเลือกโหมดออโตโฟกัสของกล้อง D-SLR ขึ้นอยู่กับกิริยาอาการของ Subject เป็นหลัก การเลือกโหมดที่ถูกต้องเหมาะสมกับ Subject ทำให้เราสามารถถ่ายภาพได้ในสิ่งที่ถ่ายได้ยาก
เพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายไม่สับสนจึงขอแยกกล่าวการเลือกโหมดออโตโฟกัสระหว่าง
กล้อง Nikon และ Canon ดังนี้
สำหรับกล้อง Nikon
- Single Servo AF (AF-S) ในโหมดนี้กล้องจะทำการโฟกัสวัตถุอย่างต่อเนื่องเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงมา ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้ว่าวัตถุยังคงเคลื่อนที่อยู่ แต่เมื่อวัตถุหยุดการเคลื่อนไหวกล้องจะล็อกโฟกัสไว้และยังคงล๊อกการโฟกัส ตลอดที่ยังคงกดชัตเตอรค้างไว้์ ไฟ LCD ในช่องมองภาพจะติดแสดงการล็อกโฟกัส ในโหมดนี้จะเน้นความสำคัญการโฟกัสเป็นหลัก นั่นหมายถึงการกดชัตเตอร์จะกระทำได้เมื่อโฟกัสถูกล็อกเท่านั้น แต่ถ้าหากวัตถุเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องไม่หยุด การโฟกัสยังคงทำงานต่อเนื่องจนกว่ากล้องจะจับการโฟกัสได้ จึงจะกดชัตเตอร์ได้ ในโหมดนี้กล้องจะทำการดักการโฟกัสล่วงหน้าในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่เข้าหรือ ออกจากตัวกล้องอีกด้วย
- Continuous Servo AF (AF-C) กล้องจะโฟกัสอย่างต่อเนื่อง เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง เหมือนการทำงานในโหมดแรก แต่กล้องจะไม่มีการล๊อกโฟกัสถึงแม้ว่าวัตถุจะหยุดการเคลื่อนไหว โดยกล้องจะเน้นความสำคัญของการกดชัตเตอร์เป็นหลัก โดยไม่สนใจว่ากล้องจะจับโฟกัสได้หรือไม่
- Manual Focus (M) เน้นการปรับโฟกัสด้วยมือ โดยการหมุนวงแหวนโฟกัสที่เลนส์ โดยมีไฟ LCD ปรากฏในช่องมองภาพเมื่อโฟกัสได้ระยะชัด
- Auto Servo AF (AF-A) มีเฉพาะรุ่น D40x, D60, D80 หรือเทียบเท่า กล้องจะทำการตรวจสอบ Subject ว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่ แล้วทำการเลือกโหมดระหว่าง AF-S และ AF-C ให้เราเอง
สำหรับกล้อง Canon
- One Shot AF ในโหมดนี้กล้องจะทำการโฟกัสตรงจุดโฟกัสที่ได้เลือกไว้เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลง มาครึ่งหนึ่ง หลังจากกล้องโฟกัสชัดแล้วก็จะล็อกโฟกัสไว้ ไฟ LCD ในช่องมองภาพจะแสดงการล็อกโฟกัส ในโหมดนี้จะเน้นความสำคัญการโฟกัสเป็นหลัก นั่นหมายถึงการกดชัตเตอร์จะกระทำได้เมื่อโฟกัสถูกล็อกเท่านั้น
- AI Servo AF กล้องจะทำการโฟกัสอย่างต่อเนื่องเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงมาครึ่งหนึ่ง และกล้องจะชดเชยการโฟกัสไว้ (การดักโฟกัสล่วงหน้า) เมื่อ Subject มีการเคลื่อนไหว ในโหมดนี้กล้องจะเน้นความสำคัญของการกดชัตเตอร์เป็นหลัก โดยไม่สนใจว่ากล้องจะจับโฟกัสได้หรือไม่ ยกเว้นเข้าไปเปลี่ยนคำสั่งใน Custom Function
3) AI Focus AF กล้องจะทำการโฟกัสในโหมด One Shot AF เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงมาครึ่งหนึ่ง ซึ่งถ้ากรณีที่ Subject มีการเคลื่อนไหว กล้องจะเปลี่ยนการทำงานไปที่โหมด AI Servo AF ทันที
ปล. สำหรับกล้อง nikon จะมีไฟช่วยโฟกัสด้วย แต่ไฟจะทำงานเฉพาะเมื่อเลือกจุดโฟกัส
เป็นจุดตรงกลางเท่านั้นนะครับ ส่วน canon ใช้แฟลชยิงช่วยหาโฟกัส ก็พอแก้ขัดได้
แต่ก็มีความสลับซับซ้อนในการปรับตั้งอยู่พอสมควรเมื่อเทียบกับกล้องคอมแพค
ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุดในการใช้งาน จึงขอแนะวิธีในการปรับตั้ง
ระบบออโตโฟกัสของกล้องตามลำดับดังนี้
1) ปรับปุ่มโฟกัสที่ตัวเลนส์ไปยังตำแหน่ง Auto
2) เลือกจุดหรือส่วนของพื้นที่ที่ต้องการโฟกัส Focus Area Selection
โดยปกติของกล้องคอมแพค ถูกออกแบบให้โฟกัสเฉพาะพื้นที่ตรงส่วนกลางของจอภาพมอนิเตอร์หรือช่องมองภาพ (View Finder) เท่านั้น แต่สำหรับกล้อง D-SLR ได้ถูกออกแบบให้มีพื้นที่หรือจุดโฟกัสให้เลือกใช้มากมายหลายจุด ขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของกล้องนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วมีตั้งแต่ 3-51 จุด พร้อมทั้งระบบการเลือกจุดโฟกัสให้ใช้หลายระบบ ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งของ Subject ที่ต้องการถ่าย โดยส่วนใหญ่แล้วสามารถจำแนกออกเป็น 3 ระบบดังนี้
+ Auto-area AF กล้องจะเลือกจุดสำหรับโฟกัสให้โดยอัตโนมัติ
ซึ่งจะดำเนินการโดยเลือก Subject ที่อยู่ใกล้สุดเป็นหลักในการเลือกจุดโฟกัส
+ Single-area AF เป็นโหมดที่ผู้ใช้เลือกจุดการโฟกัสด้วยตัวเองเพียงจุดเดียว
เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการโฟกัส
+ Dynamic-area AF (มี เฉพาะในกล้อง Nikon) เป็นการให้เลือกจุดโฟกัสเพียงจุดเดียว
เหมือน Singel-area เพียงแต่กล้องยังคงใช้ข้อมูลของพื้นที่อื่นเป็นส่วนประกอบในการกำหนดโฟกัส
ซึ่งมีประโยชน์ในกรณีที่ Subject อาจจะเคลื่อนที่ออกนอกจุดโฟกัสไปบ้างหรือเป็นเวลาสั้นๆ
3) เลือกโหมดออโตโฟกัส Auto Focus Mode
หลักการเลือกโหมดออโตโฟกัสของกล้อง D-SLR ขึ้นอยู่กับกิริยาอาการของ Subject เป็นหลัก การเลือกโหมดที่ถูกต้องเหมาะสมกับ Subject ทำให้เราสามารถถ่ายภาพได้ในสิ่งที่ถ่ายได้ยาก
เพื่อที่จะให้เข้าใจง่ายไม่สับสนจึงขอแยกกล่าวการเลือกโหมดออโตโฟกัสระหว่าง
กล้อง Nikon และ Canon ดังนี้
สำหรับกล้อง Nikon
- Single Servo AF (AF-S) ในโหมดนี้กล้องจะทำการโฟกัสวัตถุอย่างต่อเนื่องเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงมา ครึ่งหนึ่ง ถึงแม้ว่าวัตถุยังคงเคลื่อนที่อยู่ แต่เมื่อวัตถุหยุดการเคลื่อนไหวกล้องจะล็อกโฟกัสไว้และยังคงล๊อกการโฟกัส ตลอดที่ยังคงกดชัตเตอรค้างไว้์ ไฟ LCD ในช่องมองภาพจะติดแสดงการล็อกโฟกัส ในโหมดนี้จะเน้นความสำคัญการโฟกัสเป็นหลัก นั่นหมายถึงการกดชัตเตอร์จะกระทำได้เมื่อโฟกัสถูกล็อกเท่านั้น แต่ถ้าหากวัตถุเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่องไม่หยุด การโฟกัสยังคงทำงานต่อเนื่องจนกว่ากล้องจะจับการโฟกัสได้ จึงจะกดชัตเตอร์ได้ ในโหมดนี้กล้องจะทำการดักการโฟกัสล่วงหน้าในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่เข้าหรือ ออกจากตัวกล้องอีกด้วย
- Continuous Servo AF (AF-C) กล้องจะโฟกัสอย่างต่อเนื่อง เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง เหมือนการทำงานในโหมดแรก แต่กล้องจะไม่มีการล๊อกโฟกัสถึงแม้ว่าวัตถุจะหยุดการเคลื่อนไหว โดยกล้องจะเน้นความสำคัญของการกดชัตเตอร์เป็นหลัก โดยไม่สนใจว่ากล้องจะจับโฟกัสได้หรือไม่
- Manual Focus (M) เน้นการปรับโฟกัสด้วยมือ โดยการหมุนวงแหวนโฟกัสที่เลนส์ โดยมีไฟ LCD ปรากฏในช่องมองภาพเมื่อโฟกัสได้ระยะชัด
- Auto Servo AF (AF-A) มีเฉพาะรุ่น D40x, D60, D80 หรือเทียบเท่า กล้องจะทำการตรวจสอบ Subject ว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่ แล้วทำการเลือกโหมดระหว่าง AF-S และ AF-C ให้เราเอง
สำหรับกล้อง Canon
- One Shot AF ในโหมดนี้กล้องจะทำการโฟกัสตรงจุดโฟกัสที่ได้เลือกไว้เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลง มาครึ่งหนึ่ง หลังจากกล้องโฟกัสชัดแล้วก็จะล็อกโฟกัสไว้ ไฟ LCD ในช่องมองภาพจะแสดงการล็อกโฟกัส ในโหมดนี้จะเน้นความสำคัญการโฟกัสเป็นหลัก นั่นหมายถึงการกดชัตเตอร์จะกระทำได้เมื่อโฟกัสถูกล็อกเท่านั้น
- AI Servo AF กล้องจะทำการโฟกัสอย่างต่อเนื่องเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงมาครึ่งหนึ่ง และกล้องจะชดเชยการโฟกัสไว้ (การดักโฟกัสล่วงหน้า) เมื่อ Subject มีการเคลื่อนไหว ในโหมดนี้กล้องจะเน้นความสำคัญของการกดชัตเตอร์เป็นหลัก โดยไม่สนใจว่ากล้องจะจับโฟกัสได้หรือไม่ ยกเว้นเข้าไปเปลี่ยนคำสั่งใน Custom Function
3) AI Focus AF กล้องจะทำการโฟกัสในโหมด One Shot AF เมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงมาครึ่งหนึ่ง ซึ่งถ้ากรณีที่ Subject มีการเคลื่อนไหว กล้องจะเปลี่ยนการทำงานไปที่โหมด AI Servo AF ทันที
ปล. สำหรับกล้อง nikon จะมีไฟช่วยโฟกัสด้วย แต่ไฟจะทำงานเฉพาะเมื่อเลือกจุดโฟกัส
เป็นจุดตรงกลางเท่านั้นนะครับ ส่วน canon ใช้แฟลชยิงช่วยหาโฟกัส ก็พอแก้ขัดได้
วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
Hyperfocal Distance
หลายคนคงจะสงสัยกันนะครับว่า คนอื่นเค้าถ่ายรูปกันยังไงทำไมมันชัดได้ใจจริงๆ
หลายคนคงดำน้ำกันมา ลองผิดลองถูกสารพัด
บางทีดำซะลึกเลย หาทางออกไม่เจอ ก่อนที่เราจะไปรู้จักมัน
หลายคนคงได้ยินมาประมาณนี้
- หมุนไปที่ infinity เลยครับชัดแน่นอน
- เปิด F 22 เลยครับ ยิ่งแคบยิ่งชัด ชัวร์
- เล็งขอบฟ้าเลยครับ เดี๋ยวมันชัดเองทั้งภาพ
ถ้าใครยังเข้าใจว่าต้องทำแบบข้างบนอยู่ เรามาดูตรงนี้กันนะครับ
Hyperfocal Distance โดยมากแล้วมักจะใช้กับการถ่ายภาพ Landscape
อธิบายได้ง่ายๆคือ การที่เราหาจุด focus ที่จะทำให้ภาพชัดมากที่สุด
จาก Aperture (รูรับแสง) และ focal Range (ระยะเลนส์) ที่เราใช้
โดยที่ระยะ Hyperfocal Distance ที่เราได้เมื่อนำมาหารครึ่งจะได้ระยะชัดมา
อย่าเพิ่ง งงนะครับ ตามนี้นะ สมมติว่าระยะ Hyperfocal ที่ได้มาคือ 1 เมตร
ภาพของเราจะชัดตั้งแต่ 0.5 เมตรไปจนสุดขอบฟ้าครับ
ไม่งง แล้วใช่มะพอนึกออกแล้วนะครับ แต่ตอนนี้ทุกคนกะลังจะถามใช่มั้ยครับ
ว่าแล้วเราจะหา Hyperfocal ยังไง
มันมีสูตรตามนนี้นะครับ
( Focal Range ยกกำลัง 2 ) หาร ( Aperture คูณ 0.03 )
** กล้องตัวคูณใช้ 0.02 นะครับ
Ex.
( 17mm ^ 2 = 289 ) หาร ( F11 * 0.03=0.33 )
ได้ 289 หาร 0.33 = 875mm หรือ 0.87 เมตร
เท่ากับว่าเมื่อถ่ายที่ 17mm ( กล้อง FX ) ที่ F11 ภาพจะชัดตั้งแต่ 0.43 เมตร
ไปจนสุดขอบฟ้า พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับ
แล้วถามว่า จะไปถ่ายรูปหรือสอบเลขกันแน่เนี่ย เราสามารถหาไปก่อนได้ครับ
หรือจะหาตารางก็ได้
เมื่อเราคุ้นเคยแล้ว เราจะรู้เองครับว่าหมุนเท่าไร ระยะชัดเริ่มจากตรงไหน
เปลี่ยนเลนส์ปุ๊บรู้ปั๊บไรประมาณนี้
ข้อดีของมันคืออะไร
- เวลาไปถ่าย twilight หรือที่มืดมาก มัวแต่มาโฟกัส มองไม่รู้เรื่องหรอกครับ
หมุนไปที่ Hyperfocal ของแต่ละระยะเลยครับจบ
- ความรวดเร็ว Dusk & Dawn (รุ่งอรุณ กับ สนธยา) ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก
วันๆนึงอาจได้แค่ไม่กี่ shot ครับ ความไวจำเป็นมาก
- ชัดมากๆ ครับ เต็มศักยภาพของตัวเลนส์นั้นๆ เลย
มาดูภาพตัวอย่างกันนะครับ ภาพแรกนี้
เกิดจากการหา Hyperfocal แล้วนะครับที่ระยะ Focal 17mm F11
Hyperfocal Distance 0.875 M
(หมายความว่า ใช้เลนส์ที่ระยะ 17mm F11 แล้วเล็ง ให้ฉากด้านหน้าสุดของเฟรม อยู่ห่างจากตัวกล้อง
ไม่น้อยกว่า 0.875 M นะครับ)
crop foreground มาดูกันก่อน
ทีนี้มาดู F11 แล้วหมุนไปที่ Infinity นะครับ เล็งที่เดิมกับภาพแรก
มาซูมภาพดูกันครับ
ลองเทียบกันดูครับ รูปบนใช้ Hyperfocal ส่วนรูปล่างเป็น Infinity Focal นะครับ
แล้ว F22 อ่ะไม่ดีกว่าหรอชัดลึกนะ ลึกสุดใจเลย
แต่มันมีข้อเสียของมันอยู่ครับ มันมีชื่อเรียกว่า Diffraction
ตัวนี้คืออะไร แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า การกระจายตัวของแสง
อธิบายได้ก็คือเมื่อแสงผ่านรูรับแสงแล้วบริเวณ ขอบๆของรูรับรับแสงจะทำให้แสงขาดหาย
ยิ่งแคบเท่าไรยิ่งผลของมันจะมากท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วกับกล้องตัวคูณจะเกิดขึ้นที่ F11 ขึ้นไป
ส่วน FX นั้นจะ F16 ขึ้นไป
มาดูรูปข้างล่างครับ ที่ F22
ลองมาดูเปรียบเทียบนะครับ
ครึ่งบนเป็นรูปจากการใช้ hyperfocal ส่วนครึ่งล่างนั้นเป็นผลจาก Diffraction ของ F22 ครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ เห็นความแตกต่างเลยใช่ไหมครับ
ก่อนจะลากันไปวันนี้ ผมมีสิ่งดีดีมานำเสนออีกเช่นเคย
http://www.dofmaster.com/dofjs.html
เป็นเว็บที่ใช้คำนวณหา DOF และ Hyperfocal ของเลนส์แต่ละช่วง กับกล้องแต่ละรุ่น
ลองเข้าไปใช้ดูนะครับ แล้วจะเข้าใจได้มากขึ้น
ผมก็ใช้อยู่ประจำครับ จะช่วยให้เรารู้ระยะทำการของเลนส์ที่เราใช้ (ผมเป็นเลนส์ฟิกซ์ด้วยยิ่งจำง่าย)
วิธีการใช้นะครับ
1.เลือกรุ่นของกล้อง
2.เลือกระยะเลนส์ Focal length (mm)
3.เลือก F ที่เราจะใช้ Selected f-stop
4.เลือกระยะห่างของแบบกับตัวกล้องครับ Subject distance หน่วยเอาเป็น cm ก็ได้ครับเข้าใจง่ายดี
จากนั้นอ่านค่าที่ได้ทางฝั่งขวามือ นี่คือตัวอย่างของผม
ผมเลือกเลนส์ 50mm F1.4 ระยะห่างของกล้องกับแบบที่ 250 cm ค่าที่ได้ตามนี้
-Subject distance คือ ระยะห่างของกล้องกับตัวแบบ
-Depth of field
****Near limit คือ ระยะชัดด้านหน้า จากตัวแบบเข้ามาหากล้อง
****Far limit คือ ระยะชัดด้านหลัง จากตัวแบบออกไป
****Total คือ ระยะชัดครอบคลุมทั้งหมดในภาพ
-In front of subject คือ คิดค่าระยะชัดหน้า ออกมาเป็น %
-Behind subject คือ คิดค่าระยะชัดหลัง ออกมาเป็น %
-Hyperfocal distance คือ ระยะโฟกัสที่จะเริ่มชัดที่สุด ไปจนถึงอินฟินิตี้
-Circle of confusion คือ ขนาด วงกลมที่เล็กที่สุด ก่อนที่จะกลายเป็นจุดแสง
ดูรูปประกอบจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
รูปด้านล่างนี้ แบ่งเป็นสองเรื่องนะครับ ซีกบนเป็นระยะ DOF ซีกล่างเป็นระยะ hyperfocal
สองอย่างนี้จะต่างกัน
- Dof จะมีตัวแปร 3 อย่าง คือ ระยะเลนส์ ระยะโฟกัส และค่า F
- hyperfocal มี 2 ตัวแปร คือ ระยะเลนส์ กับ ค่า F เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับระยะโฟกัส
จากรูปด้านล่างจะเห็นว่า ถ้าผมใช้เลนส์ 50mm ที่ F1.4 ระยะที่จะเริ่มชัดอยู่ที่ 5897.6cm ไป
จนสุดขอบฟ้าเลย
แต่หากผมใช้ 50mm F8 คำนวณค่าแล้ว ระยะ hyperfocal จะเริ่มที่ 10 เมตรกว่าๆ
ฉะนั้นเวลาที่ผมจะถ่ายอะไรที่มันไกลกว่าสิบเมตร แล้วให้ชัดทั้งภาพ
ผมก็เลือกใช้รูรับแสงแค่ F8 ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอัด F แคบสุด
เพราะคุณภาพของรูปที่ได้ก็จะต่ำลง เกิด Diffraction ตามที่กล่าวตอนต้นแล้ว
นี่คือหนึ่งตัวอย่างประโยชน์ของ hyperfocal
ยังไงลองเอาไปใช้กันดูนะครับ
หลายคนคงดำน้ำกันมา ลองผิดลองถูกสารพัด
บางทีดำซะลึกเลย หาทางออกไม่เจอ ก่อนที่เราจะไปรู้จักมัน
หลายคนคงได้ยินมาประมาณนี้
- หมุนไปที่ infinity เลยครับชัดแน่นอน
- เปิด F 22 เลยครับ ยิ่งแคบยิ่งชัด ชัวร์
- เล็งขอบฟ้าเลยครับ เดี๋ยวมันชัดเองทั้งภาพ
ถ้าใครยังเข้าใจว่าต้องทำแบบข้างบนอยู่ เรามาดูตรงนี้กันนะครับ
Hyperfocal Distance โดยมากแล้วมักจะใช้กับการถ่ายภาพ Landscape
อธิบายได้ง่ายๆคือ การที่เราหาจุด focus ที่จะทำให้ภาพชัดมากที่สุด
จาก Aperture (รูรับแสง) และ focal Range (ระยะเลนส์) ที่เราใช้
โดยที่ระยะ Hyperfocal Distance ที่เราได้เมื่อนำมาหารครึ่งจะได้ระยะชัดมา
อย่าเพิ่ง งงนะครับ ตามนี้นะ สมมติว่าระยะ Hyperfocal ที่ได้มาคือ 1 เมตร
ภาพของเราจะชัดตั้งแต่ 0.5 เมตรไปจนสุดขอบฟ้าครับ
ไม่งง แล้วใช่มะพอนึกออกแล้วนะครับ แต่ตอนนี้ทุกคนกะลังจะถามใช่มั้ยครับ
ว่าแล้วเราจะหา Hyperfocal ยังไง
มันมีสูตรตามนนี้นะครับ
( Focal Range ยกกำลัง 2 ) หาร ( Aperture คูณ 0.03 )
** กล้องตัวคูณใช้ 0.02 นะครับ
Ex.
( 17mm ^ 2 = 289 ) หาร ( F11 * 0.03=0.33 )
ได้ 289 หาร 0.33 = 875mm หรือ 0.87 เมตร
เท่ากับว่าเมื่อถ่ายที่ 17mm ( กล้อง FX ) ที่ F11 ภาพจะชัดตั้งแต่ 0.43 เมตร
ไปจนสุดขอบฟ้า พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับ
แล้วถามว่า จะไปถ่ายรูปหรือสอบเลขกันแน่เนี่ย เราสามารถหาไปก่อนได้ครับ
หรือจะหาตารางก็ได้
เมื่อเราคุ้นเคยแล้ว เราจะรู้เองครับว่าหมุนเท่าไร ระยะชัดเริ่มจากตรงไหน
เปลี่ยนเลนส์ปุ๊บรู้ปั๊บไรประมาณนี้
ข้อดีของมันคืออะไร
- เวลาไปถ่าย twilight หรือที่มืดมาก มัวแต่มาโฟกัส มองไม่รู้เรื่องหรอกครับ
หมุนไปที่ Hyperfocal ของแต่ละระยะเลยครับจบ
- ความรวดเร็ว Dusk & Dawn (รุ่งอรุณ กับ สนธยา) ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก
วันๆนึงอาจได้แค่ไม่กี่ shot ครับ ความไวจำเป็นมาก
- ชัดมากๆ ครับ เต็มศักยภาพของตัวเลนส์นั้นๆ เลย
มาดูภาพตัวอย่างกันนะครับ ภาพแรกนี้
เกิดจากการหา Hyperfocal แล้วนะครับที่ระยะ Focal 17mm F11
Hyperfocal Distance 0.875 M
(หมายความว่า ใช้เลนส์ที่ระยะ 17mm F11 แล้วเล็ง ให้ฉากด้านหน้าสุดของเฟรม อยู่ห่างจากตัวกล้อง
ไม่น้อยกว่า 0.875 M นะครับ)
crop foreground มาดูกันก่อน
ทีนี้มาดู F11 แล้วหมุนไปที่ Infinity นะครับ เล็งที่เดิมกับภาพแรก
มาซูมภาพดูกันครับ
ลองเทียบกันดูครับ รูปบนใช้ Hyperfocal ส่วนรูปล่างเป็น Infinity Focal นะครับ
แล้ว F22 อ่ะไม่ดีกว่าหรอชัดลึกนะ ลึกสุดใจเลย
แต่มันมีข้อเสียของมันอยู่ครับ มันมีชื่อเรียกว่า Diffraction
ตัวนี้คืออะไร แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า การกระจายตัวของแสง
อธิบายได้ก็คือเมื่อแสงผ่านรูรับแสงแล้วบริเวณ ขอบๆของรูรับรับแสงจะทำให้แสงขาดหาย
ยิ่งแคบเท่าไรยิ่งผลของมันจะมากท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วกับกล้องตัวคูณจะเกิดขึ้นที่ F11 ขึ้นไป
ส่วน FX นั้นจะ F16 ขึ้นไป
มาดูรูปข้างล่างครับ ที่ F22
ลองมาดูเปรียบเทียบนะครับ
ครึ่งบนเป็นรูปจากการใช้ hyperfocal ส่วนครึ่งล่างนั้นเป็นผลจาก Diffraction ของ F22 ครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ เห็นความแตกต่างเลยใช่ไหมครับ
ก่อนจะลากันไปวันนี้ ผมมีสิ่งดีดีมานำเสนออีกเช่นเคย
http://www.dofmaster.com/dofjs.html
เป็นเว็บที่ใช้คำนวณหา DOF และ Hyperfocal ของเลนส์แต่ละช่วง กับกล้องแต่ละรุ่น
ลองเข้าไปใช้ดูนะครับ แล้วจะเข้าใจได้มากขึ้น
ผมก็ใช้อยู่ประจำครับ จะช่วยให้เรารู้ระยะทำการของเลนส์ที่เราใช้ (ผมเป็นเลนส์ฟิกซ์ด้วยยิ่งจำง่าย)
วิธีการใช้นะครับ
1.เลือกรุ่นของกล้อง
2.เลือกระยะเลนส์ Focal length (mm)
3.เลือก F ที่เราจะใช้ Selected f-stop
4.เลือกระยะห่างของแบบกับตัวกล้องครับ Subject distance หน่วยเอาเป็น cm ก็ได้ครับเข้าใจง่ายดี
จากนั้นอ่านค่าที่ได้ทางฝั่งขวามือ นี่คือตัวอย่างของผม
ผมเลือกเลนส์ 50mm F1.4 ระยะห่างของกล้องกับแบบที่ 250 cm ค่าที่ได้ตามนี้
-Subject distance คือ ระยะห่างของกล้องกับตัวแบบ
-Depth of field
****Near limit คือ ระยะชัดด้านหน้า จากตัวแบบเข้ามาหากล้อง
****Far limit คือ ระยะชัดด้านหลัง จากตัวแบบออกไป
****Total คือ ระยะชัดครอบคลุมทั้งหมดในภาพ
-In front of subject คือ คิดค่าระยะชัดหน้า ออกมาเป็น %
-Behind subject คือ คิดค่าระยะชัดหลัง ออกมาเป็น %
-Hyperfocal distance คือ ระยะโฟกัสที่จะเริ่มชัดที่สุด ไปจนถึงอินฟินิตี้
-Circle of confusion คือ ขนาด วงกลมที่เล็กที่สุด ก่อนที่จะกลายเป็นจุดแสง
ดูรูปประกอบจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
รูปด้านล่างนี้ แบ่งเป็นสองเรื่องนะครับ ซีกบนเป็นระยะ DOF ซีกล่างเป็นระยะ hyperfocal
สองอย่างนี้จะต่างกัน
- Dof จะมีตัวแปร 3 อย่าง คือ ระยะเลนส์ ระยะโฟกัส และค่า F
- hyperfocal มี 2 ตัวแปร คือ ระยะเลนส์ กับ ค่า F เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับระยะโฟกัส
จากรูปด้านล่างจะเห็นว่า ถ้าผมใช้เลนส์ 50mm ที่ F1.4 ระยะที่จะเริ่มชัดอยู่ที่ 5897.6cm ไป
จนสุดขอบฟ้าเลย
แต่หากผมใช้ 50mm F8 คำนวณค่าแล้ว ระยะ hyperfocal จะเริ่มที่ 10 เมตรกว่าๆ
ฉะนั้นเวลาที่ผมจะถ่ายอะไรที่มันไกลกว่าสิบเมตร แล้วให้ชัดทั้งภาพ
ผมก็เลือกใช้รูรับแสงแค่ F8 ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอัด F แคบสุด
เพราะคุณภาพของรูปที่ได้ก็จะต่ำลง เกิด Diffraction ตามที่กล่าวตอนต้นแล้ว
นี่คือหนึ่งตัวอย่างประโยชน์ของ hyperfocal
ยังไงลองเอาไปใช้กันดูนะครับ
วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การชดเชยแสง (Exposure Compensation) ตอน2
ตามตัวอย่างนี้ ผมวัดแสงให้พอดีที่รูปหมายเลข 5(ตรงกลาง)
และชดเชยแสงครั้งละ 0.3EV จนถึง 1.3EV ทั้งฝั่งบวกและลบ
แล้วเอารูปมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพการไล่ระดับความสว่างของภาพ
ทีนี้ ในขณะที่เราถ่ายรูปจริงนั้น สมมติว่ารูปอันเดอร์มาก
ถ้าเทียบความมืดแล้วก็น่าจะพอๆ กับรูปหมายเลข 1
ก็ชดเชยแสงไปทางด้าน "บวก" แต่จะเพิ่มครั้งล่ะ 0.3EV ก็ดูจะช้าไปสำหรับรูปที่มืดมาก
การชดเชยครั้งแรก อาจชดเชยไป "+1.0EV" เลย แล้วดูผลลัพธ์ว่า
ได้อย่างที่ต้องการแล้วหรือยัง
หากยังไม่ได้รูปที่ชอบ ก็ชดเชยไปอีกครั้ง ก็น่าจะได้รูปที่พอดีครับ
หลังจากคุณวัดและชดเชยแสงแล้ว หากได้รูปที่มีความสว่างเท่ากับรูปหมายเลข "5"
ก็ถือว่าเป็นรูปที่แสงถูกต้อง
แต่ถ้าความสว่างของรูป ไปตกที่หมายเลข 4 กับ 6 นั้น "ถือว่ารับได้ครับ"
แม้ว่ารูปหมายเลข 4 จะ Under ไปนิดและรูปหมายเลข 6 จะ Over ไปนิด แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ
ถือว่าเกิด Error บ้างเล็กน้อย แก้ไขไม่ยาก
ปรับแต่งในโปรแกรมแต่งรูป 2-3 คลิ๊กก็ได้รูปที่ "แสงพอดี"
แต่หากรูปที่ได้มานั้น ความสว่างตกอยู่ในรูปที่ 1, 2, 3, 7, 8, 9 นั้น ผมแนะนำว่าให้ถ่ายใหม่
เพราะถึงแม้ว่ารูปเหล่านั้นจะสามารถปรับแต่งได้
แต่หากเราได้รูปต้นฉบับที่มืดหรือว่างเกินไป(Error สูง)
เมื่อนำมาปรับด้วยโปรแกรมแต่งรูป คุณภาพของไฟล์จะลดลงครับ เช่น
มี Noise มากขึ้น และยังต้องมาเสียเวลามากในการแต่งอีกด้วย
ฉะนั้น!! ผมแนะนำว่า "ถ่ายใหม่เลยครับ"
มาถึงจุดสำคัญของเรื่องการชดเชยแสง นั่นก็คือ "เราจะต้องชดเชยแสงเมื่อไหร่"
ตอบ : ต้องชดเชยแสง เมื่อไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ผมแบ่งสาเหตุที่ต้องชดเชยแสงไว้ 3 กรณีคือ
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
มาดูตัวอย่างเป็นข้อๆ ไป...
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
ใครที่เคยศึกษาเรื่องการชดเชยแสงมาบ้างก็ต้องเคยเห็นตารางนี้แน่นอน
หลักๆ นั้นเค้าสื่อว่า "ถ่ายรูปสีนั้น" ก็ควรจะชดเชยแสงกลับไป "เท่านี้" เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ตาเห็น เช่น
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีขาวมาก ก็ควรชดเชยแสง "+2.0EV"
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีดำมาก ก็ควรชดเชยแสง "- 2.0EV"
- ส่วนสีอื่นๆ ก็ดูจากตารางครับ
แต่ๆ...
ผมแนะนำว่า "ไม่ต้องไปจำสีและค่าการชดเชยแสง" ของมันหรอกครับ เพราะ
1. ใครจะไปจำได้ว่าสีนั้น(มีความเข้มสีเท่านี้ด้วย) ต้องชดเชยแสงเท่าไหร่
2. สีเดียวกัน ในสภาพแสงที่ต่างกัน มันก็สะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน
เช่นมีลูกบอลสีดำลูกนึง แต่เอาแสงแรงๆ มาส่อง สีที่เรามองเห็นนั้น
อาจไม่เห็นเป็นสีดำแล้วครับ อาจถึงขั้นเห็นเป็นสีขาวเลย
หรือสมมติอีกทีว่าเรามีลูกบอลสีขาวลูกนึง
แต่เอาไปไว้ในห้องที่มืดมากๆ แล้วให้เราไปดู
เราก็ไม่รู้หรอกครับว่า "ลูกบอลนั้นสีขาว" เราอาจมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำเลยด้วยซ้ำ
3. ค่าการชดเชยแสงต่างๆ ที่ให้มานั้น อาจไม่สัมพันธ์กับกล้องรุ่นใหม่ๆ
แต่ๆ...
ตารางนี้มันก็มีประโยชน์มากครับ ประโยชน์ที่ว่าคือ ทำให้เรารู้ว่า "ถ่ายสีอะไร แล้วควรชดเชยไปทางไหน ประมาณเท่าไหร่" เช่น
- หากถ่ายสีเหลือง ก็ควรชดเชยไปทางบวก "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีฟ้าหรือสีชมพู ก็ควรชดเชยไปทางบวก "นิดนึง"
หรือ
- หากถ่ายสีเทาเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีน้ำเงินหรือเขียวเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "นิดนึง"
แล้ว ไอ้ "นิดนึง" นี่มันเท่าไหร่ หรือไอ้ "มากหน่อย" นี่มันเท่าไหร่ นั้น!! ขึ้นอยู่กับประสบการณ์แล้วครับ ใครก็บอกค่าที่แน่นอนไม่ได้
ปล. หากรู้ทิศทางของการชดเชย เราจะสามารถเดาได้ว่าควรชดเชยเท่าไหร่
ก็ถือว่า "ชดเชยแสงเป็นแล้ว" จะเกิดความผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร
ชดเชยแสงแล้วถ่ายซ้ำไปอีกที ก็เอาอยู่
ทีนี้ การชดเชยแสงเพราะ "สี" ก็เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะสามารถเดาได้ง่าย เช่น
สมมติว่าเราไปถ่ายรูปที่มีสีเดียวทั้งรูป จะสีอะไรก็ได้
เราประเมินแล้วว่าสีมันเข้มกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงดำ
ก็ชดเชยรอไว้เลย -0.3EV หรือ -0.7EV แล้วแต่การประเมินครับ
หรือในทางกลับกัน หากเราประเมินแล้วว่า สีมันอ่อนกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงกับสีขาว
ก็ชดเชยรอไว้เลย +0.3EV หรือ +0.7EV แล้วแต่การประเมินเช่นกัน
จากรูปนี้ "ถ่ายสีขาว" ก็ชี้จุดโฟกัสวัดแสงที่สีขาวเลย หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้ว ก็ถ่ายเลย
ได้รูปอย่างที่เห็นครับ คือเรารับรู้ได้ว่านั่นคือสีขาว แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสีขาวอมเทา
ซึ่งไม่เหมือนกับที่ตาเห็น
รูปนี้เลยต้องชดเชยแสงไป +1.0EV จะได้รูปที่ถือว่าใกล้เคียงกับของจริงที่สุดแล้ว
รูปด้านบน วัดแสงแล้วถ่ายเลย กล้องเลือก Shutter Speed ที่ 1/13Sec
หลังจากที่ชดเชยแสงไป +1EV กล้องมันจะปรับ Shutter Speed ให้ช้าลง
เพื่อให้แสงเข้าได้มากขึ้น ได้ Shutter Speed ใหม่เป็น 1/6Sec แทน
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
ในบางครั้งที่เราถ่ายรูป ตัวแสงเองนั่นแหละที่เป็นปัญหา
อาจเป็นเพราะมีแสงน้อยไปบ้าง หรือแสงมากไปบ้าง
ผมยกให้เห็นซักตัวอย่างก็แล้วกัน เป็นสถานการณ์ที่คิดว่าคนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแล้ว
นั่นก็คือ "การถ่ายย้อนแสง" นั่นเอง
ปัญหาหลักของการถ่ายย้อนแสงคือ "ได้รูปอันเดอร์"
เคยไหมที่ถ่ายคนแบบย้อนแสง แล้วตัวแบบดำปี๋
นั่นเป็นเพราะมีแสงเข้ากล้องมากเกินไป
กล้องมันจะพยายามลดแสงลงด้วยการ "เพิ่ม Shutter Speed หรือลดขนาดรูรับแสงลง"
ทำให้ ไม่มีแสงเพียงพอที่ตัวแบบ แบบเลยดำปี๋ เป็นเรื่องธรรมดา
ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการชดเชยแสงครับ (ผมไม่กล่าวถึงการใช้แฟลชเข้ามาช่วยนะครับ)
ผมจำลองตัวอย่างการถ่ายรูปย้อนแสง มาให้ดูกัน
โดยวางสีไม้ไว้ด้านหน้า แล้ววางไฟที่สว่างมากไว้ด้านหลัง ดังรูป
ใช้โหมด A วัดแสงพอดีที่สีไม้แล้วถ่าย
ปรากฏว่า... ได้รูป "อันเดอร์" ทั้งที่วัดแสงเรียบร้อยแล้ว
รูปลักษณะนี้ไม่แปลกครับ เพราะมีแสงเข้ามาจากทางด้านหลังมาก
กล้องมันก็จะเพิ่ม Shutter Speed เพื่อรักษารายละเอียดของทั้งภาพเอาไว้
แสงโดยรวมของทั้งรูป "ถือว่าโอเค" แต่แสงที่สีไม้ "อันเดอร์ไป"
หากตั้งใจจะเก็บรายละเอียดที่สีไม้ ก็ชดเชยแสงไปทางบวก
แน่นอนว่ารายละเอียดที่ สีไม้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับการเสียรายละเอียดด้านหลังไป
จริงๆแล้ว มีวิธีการแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ได้ ถ้าเรามีอุปกรณ์ช่วยอย่าง แฟลช
หรืออาจจะใช้เทคนิค HDR เข้ามาช่วย ซึ่งผมจะยังไม่กล่าวถึงในหัวข้อนี้นะครับ
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
การชดเชยลักษณะนี้ โดยส่วนมากกล้องจะวัดแสงให้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ผู้ถ่ายอาจอยากได้
- รูปที่สว่างอีกนิด เพื่อเปิดรายละเอียดตรงนั้น หรือ
- รูปที่มืดอีกหน่อย เพื่อขับให้จุดเด่น ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้น
เรียกว่าชดเชยเพราะจริตส่วนบุคคลแล้วครับ
สำหรับภาพรวมของการชดเชยแสงก็มีเท่านี้ครับ
รายละเอียดยิบย่อย ไม่ต้องพูดถึง เพราะพูดกันให้ตายก็ไม่จบ
ออกไปลองเอง ให้ประสบกาณ์มันสอนดีกว่า
คนที่อ่านบทความนี้จนจบ "ก็ใช่ว่าจะทำเป็นทันที"
"แค่บทความนี้เป็นแนวทาง ให้ฝึกฝนไปในทิศที่ถูกต้อง"
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้าง
สุดท้าย ขอให้สนุกกับการถ่ายรูปครับ
และชดเชยแสงครั้งละ 0.3EV จนถึง 1.3EV ทั้งฝั่งบวกและลบ
แล้วเอารูปมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพการไล่ระดับความสว่างของภาพ
ทีนี้ ในขณะที่เราถ่ายรูปจริงนั้น สมมติว่ารูปอันเดอร์มาก
ถ้าเทียบความมืดแล้วก็น่าจะพอๆ กับรูปหมายเลข 1
ก็ชดเชยแสงไปทางด้าน "บวก" แต่จะเพิ่มครั้งล่ะ 0.3EV ก็ดูจะช้าไปสำหรับรูปที่มืดมาก
การชดเชยครั้งแรก อาจชดเชยไป "+1.0EV" เลย แล้วดูผลลัพธ์ว่า
ได้อย่างที่ต้องการแล้วหรือยัง
หากยังไม่ได้รูปที่ชอบ ก็ชดเชยไปอีกครั้ง ก็น่าจะได้รูปที่พอดีครับ
หลังจากคุณวัดและชดเชยแสงแล้ว หากได้รูปที่มีความสว่างเท่ากับรูปหมายเลข "5"
ก็ถือว่าเป็นรูปที่แสงถูกต้อง
แต่ถ้าความสว่างของรูป ไปตกที่หมายเลข 4 กับ 6 นั้น "ถือว่ารับได้ครับ"
แม้ว่ารูปหมายเลข 4 จะ Under ไปนิดและรูปหมายเลข 6 จะ Over ไปนิด แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ
ถือว่าเกิด Error บ้างเล็กน้อย แก้ไขไม่ยาก
ปรับแต่งในโปรแกรมแต่งรูป 2-3 คลิ๊กก็ได้รูปที่ "แสงพอดี"
แต่หากรูปที่ได้มานั้น ความสว่างตกอยู่ในรูปที่ 1, 2, 3, 7, 8, 9 นั้น ผมแนะนำว่าให้ถ่ายใหม่
เพราะถึงแม้ว่ารูปเหล่านั้นจะสามารถปรับแต่งได้
แต่หากเราได้รูปต้นฉบับที่มืดหรือว่างเกินไป(Error สูง)
เมื่อนำมาปรับด้วยโปรแกรมแต่งรูป คุณภาพของไฟล์จะลดลงครับ เช่น
มี Noise มากขึ้น และยังต้องมาเสียเวลามากในการแต่งอีกด้วย
ฉะนั้น!! ผมแนะนำว่า "ถ่ายใหม่เลยครับ"
มาถึงจุดสำคัญของเรื่องการชดเชยแสง นั่นก็คือ "เราจะต้องชดเชยแสงเมื่อไหร่"
ตอบ : ต้องชดเชยแสง เมื่อไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ผมแบ่งสาเหตุที่ต้องชดเชยแสงไว้ 3 กรณีคือ
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
มาดูตัวอย่างเป็นข้อๆ ไป...
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
ใครที่เคยศึกษาเรื่องการชดเชยแสงมาบ้างก็ต้องเคยเห็นตารางนี้แน่นอน
หลักๆ นั้นเค้าสื่อว่า "ถ่ายรูปสีนั้น" ก็ควรจะชดเชยแสงกลับไป "เท่านี้" เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ตาเห็น เช่น
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีขาวมาก ก็ควรชดเชยแสง "+2.0EV"
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีดำมาก ก็ควรชดเชยแสง "- 2.0EV"
- ส่วนสีอื่นๆ ก็ดูจากตารางครับ
แต่ๆ...
ผมแนะนำว่า "ไม่ต้องไปจำสีและค่าการชดเชยแสง" ของมันหรอกครับ เพราะ
1. ใครจะไปจำได้ว่าสีนั้น(มีความเข้มสีเท่านี้ด้วย) ต้องชดเชยแสงเท่าไหร่
2. สีเดียวกัน ในสภาพแสงที่ต่างกัน มันก็สะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน
เช่นมีลูกบอลสีดำลูกนึง แต่เอาแสงแรงๆ มาส่อง สีที่เรามองเห็นนั้น
อาจไม่เห็นเป็นสีดำแล้วครับ อาจถึงขั้นเห็นเป็นสีขาวเลย
หรือสมมติอีกทีว่าเรามีลูกบอลสีขาวลูกนึง
แต่เอาไปไว้ในห้องที่มืดมากๆ แล้วให้เราไปดู
เราก็ไม่รู้หรอกครับว่า "ลูกบอลนั้นสีขาว" เราอาจมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำเลยด้วยซ้ำ
3. ค่าการชดเชยแสงต่างๆ ที่ให้มานั้น อาจไม่สัมพันธ์กับกล้องรุ่นใหม่ๆ
แต่ๆ...
ตารางนี้มันก็มีประโยชน์มากครับ ประโยชน์ที่ว่าคือ ทำให้เรารู้ว่า "ถ่ายสีอะไร แล้วควรชดเชยไปทางไหน ประมาณเท่าไหร่" เช่น
- หากถ่ายสีเหลือง ก็ควรชดเชยไปทางบวก "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีฟ้าหรือสีชมพู ก็ควรชดเชยไปทางบวก "นิดนึง"
หรือ
- หากถ่ายสีเทาเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีน้ำเงินหรือเขียวเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "นิดนึง"
แล้ว ไอ้ "นิดนึง" นี่มันเท่าไหร่ หรือไอ้ "มากหน่อย" นี่มันเท่าไหร่ นั้น!! ขึ้นอยู่กับประสบการณ์แล้วครับ ใครก็บอกค่าที่แน่นอนไม่ได้
ปล. หากรู้ทิศทางของการชดเชย เราจะสามารถเดาได้ว่าควรชดเชยเท่าไหร่
ก็ถือว่า "ชดเชยแสงเป็นแล้ว" จะเกิดความผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร
ชดเชยแสงแล้วถ่ายซ้ำไปอีกที ก็เอาอยู่
ทีนี้ การชดเชยแสงเพราะ "สี" ก็เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะสามารถเดาได้ง่าย เช่น
สมมติว่าเราไปถ่ายรูปที่มีสีเดียวทั้งรูป จะสีอะไรก็ได้
เราประเมินแล้วว่าสีมันเข้มกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงดำ
ก็ชดเชยรอไว้เลย -0.3EV หรือ -0.7EV แล้วแต่การประเมินครับ
หรือในทางกลับกัน หากเราประเมินแล้วว่า สีมันอ่อนกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงกับสีขาว
ก็ชดเชยรอไว้เลย +0.3EV หรือ +0.7EV แล้วแต่การประเมินเช่นกัน
จากรูปนี้ "ถ่ายสีขาว" ก็ชี้จุดโฟกัสวัดแสงที่สีขาวเลย หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้ว ก็ถ่ายเลย
ได้รูปอย่างที่เห็นครับ คือเรารับรู้ได้ว่านั่นคือสีขาว แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสีขาวอมเทา
ซึ่งไม่เหมือนกับที่ตาเห็น
รูปนี้เลยต้องชดเชยแสงไป +1.0EV จะได้รูปที่ถือว่าใกล้เคียงกับของจริงที่สุดแล้ว
รูปด้านบน วัดแสงแล้วถ่ายเลย กล้องเลือก Shutter Speed ที่ 1/13Sec
หลังจากที่ชดเชยแสงไป +1EV กล้องมันจะปรับ Shutter Speed ให้ช้าลง
เพื่อให้แสงเข้าได้มากขึ้น ได้ Shutter Speed ใหม่เป็น 1/6Sec แทน
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
ในบางครั้งที่เราถ่ายรูป ตัวแสงเองนั่นแหละที่เป็นปัญหา
อาจเป็นเพราะมีแสงน้อยไปบ้าง หรือแสงมากไปบ้าง
ผมยกให้เห็นซักตัวอย่างก็แล้วกัน เป็นสถานการณ์ที่คิดว่าคนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแล้ว
นั่นก็คือ "การถ่ายย้อนแสง" นั่นเอง
ปัญหาหลักของการถ่ายย้อนแสงคือ "ได้รูปอันเดอร์"
เคยไหมที่ถ่ายคนแบบย้อนแสง แล้วตัวแบบดำปี๋
นั่นเป็นเพราะมีแสงเข้ากล้องมากเกินไป
กล้องมันจะพยายามลดแสงลงด้วยการ "เพิ่ม Shutter Speed หรือลดขนาดรูรับแสงลง"
ทำให้ ไม่มีแสงเพียงพอที่ตัวแบบ แบบเลยดำปี๋ เป็นเรื่องธรรมดา
ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการชดเชยแสงครับ (ผมไม่กล่าวถึงการใช้แฟลชเข้ามาช่วยนะครับ)
ผมจำลองตัวอย่างการถ่ายรูปย้อนแสง มาให้ดูกัน
โดยวางสีไม้ไว้ด้านหน้า แล้ววางไฟที่สว่างมากไว้ด้านหลัง ดังรูป
ใช้โหมด A วัดแสงพอดีที่สีไม้แล้วถ่าย
ปรากฏว่า... ได้รูป "อันเดอร์" ทั้งที่วัดแสงเรียบร้อยแล้ว
รูปลักษณะนี้ไม่แปลกครับ เพราะมีแสงเข้ามาจากทางด้านหลังมาก
กล้องมันก็จะเพิ่ม Shutter Speed เพื่อรักษารายละเอียดของทั้งภาพเอาไว้
แสงโดยรวมของทั้งรูป "ถือว่าโอเค" แต่แสงที่สีไม้ "อันเดอร์ไป"
หากตั้งใจจะเก็บรายละเอียดที่สีไม้ ก็ชดเชยแสงไปทางบวก
แน่นอนว่ารายละเอียดที่ สีไม้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับการเสียรายละเอียดด้านหลังไป
จริงๆแล้ว มีวิธีการแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ได้ ถ้าเรามีอุปกรณ์ช่วยอย่าง แฟลช
หรืออาจจะใช้เทคนิค HDR เข้ามาช่วย ซึ่งผมจะยังไม่กล่าวถึงในหัวข้อนี้นะครับ
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
การชดเชยลักษณะนี้ โดยส่วนมากกล้องจะวัดแสงให้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ผู้ถ่ายอาจอยากได้
- รูปที่สว่างอีกนิด เพื่อเปิดรายละเอียดตรงนั้น หรือ
- รูปที่มืดอีกหน่อย เพื่อขับให้จุดเด่น ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้น
เรียกว่าชดเชยเพราะจริตส่วนบุคคลแล้วครับ
สำหรับภาพรวมของการชดเชยแสงก็มีเท่านี้ครับ
รายละเอียดยิบย่อย ไม่ต้องพูดถึง เพราะพูดกันให้ตายก็ไม่จบ
ออกไปลองเอง ให้ประสบกาณ์มันสอนดีกว่า
คนที่อ่านบทความนี้จนจบ "ก็ใช่ว่าจะทำเป็นทันที"
"แค่บทความนี้เป็นแนวทาง ให้ฝึกฝนไปในทิศที่ถูกต้อง"
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้าง
สุดท้าย ขอให้สนุกกับการถ่ายรูปครับ
วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การชดเชยแสง (Exposure Compensation) ตอน1
ในหลายๆ ครั้งที่เราถ่ายรูป แล้วความสว่างของรูปไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ
อาจมืดหรือสว่างไป จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่
เราสามารถปรับแต่งเพิ่มได้ด้วยการ "ชดเชยแสง" ครับ
หน่วยของมัน ในภาษาสากลเรียกว่า "EV"
EV ย่อมาจาก "Exposure Value" เป็นค่าที่ใช้ในการวัดความสว่างของแสง
คำถาม : "ทำไมต้องมีการชดเชยแสงด้วย?"
ตอบ : เพราะในบางสถานการณ์กล้องมันไม่สามารถบันทึกภาพให้เหมือน
หรือใกล้เคียงกับที่ตาเรามองเห็นได้ แม้ว่าเราก็วัดแสงแล้วก็ตาม
รูปที่ได้มานั้นอาจมืดหรือสว่างไป เลยต้องปรับแก้ด้วยการ "ชดเชยแสง"
เช่นในสถานกาณ์แบบนี้ คนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแน่ๆ
เมื่อดูภาพหลังจากถ่าย แล้วเกิดคำถามว่า "ทำไมสีมันไม่ดำเหมือนของจริง"
หรือ "ทำไมสีมันไม่ขาวเหมือนของจริง" ทั้งที่เราก็วัดแสงให้มันพอดีแล้ว...
อย่างรูปนี้ วัดแสงพอดีที่กล้องแล้ว แต่รูปที่ได้
ตัวกล้องกลับไม่ดำเหมือนของจริง กลับดูเหมือนกล้องมีสี "ดำอมเทา"
ซึ่งของจริงมันต้องดำกว่านี้ เมื่อเราเห็นผลลัพธ์ดังนั้นเราก็
"ชดเชยแสงไปฝั่งลบ" เพื่อให้ได้รูปที่ใกล้เคียงกับกับของจริงมากที่สุด
ส่วนวิธีการชดเชยทำอย่างไร เดี๋ยวค่อยว่ากันครับ
มาถึงตรงนี้ ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ผมก็ไม่ได้เก่งถึงกับขนาดที่เห็นรูป
ก็รู้เลยว่า "มันต้องชดเชยไปทางนั้น ด้วยค่าเท่านี้"
มีในบางกรณีเท่านั้นที่รู้ว่าต้องชดเชยแน่ แต่ชดเชยเท่าไหร่นั้น
ส่วนมากก็ต้องลองครับ ลองไปเรื่อยๆ แล้วประสบการณ์มันจะสอนเอง
ว่าในกรณีไหนควรชดเชยเท่าไหร่ หรือเรียกง่ายๆ ว่า
"เดาได้แม่นยำขึ้น" เท่านั้นเอง เช่น
ตอนเล่นกล้องใหม่ๆ นั้น อย่าว่าแต่เดาเรื่องชดเชยเท่าไหร่เลย
แค่เดาว่าชดเชยไปฝั่งบวกหรือลบ "ก็งงแล้ว"
เล่นไปซักพักจะเริ่มจับทางได้เองครับว่า "ต้องชดเชยไปฝั่งไหน"
และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นอีก ก็จะสามารถเดาได้แม่นยำขึ้นว่า
"น่าจะชดเชยซักเท่าไหร่" บางทีเดาครั้งเดียวถูกเลย
บางครั้งก็ Error นิดหน่อย ชดเชยเพิ่มไปทีสองทีก็เอาอยู่
"หลังจากวัดและชดเชยแสงเป็นแล้ว" สิ่งเดียวที่จะแตกต่างระหว่างมือใหม่กับมือเก่าก็คือ
"เวลาในการถ่ายรูปนั้นๆ" มือเก่าประสบการณ์สูงอาจเลือกจุดวัดแสงได้แม่นยำกว่า
หรือถ้าต้องชดเชยแสง ก็ชดเชยไม่มาก
มือใหม่อาจเลือกจุดวัดแสงไม่แม่น ต้องชดเชยแล้วถ่ายใหม่
บางครั้งต้องชดเชยถึง 2-3 ครั้งว่าจะได้รูปอย่างมือเก่า
แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการของมัน "เราได้รูปเหมือนมือเก่าแน่นอน"
อาจใช้เวลามากกว่าไปซัก 1 นาที ซึ่งผมก็ถือว่าไม่เสียหายอะไร
คนที่เล่นกล้องทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า "Stop" แน่นอน
Stop คือหน่วยวัดของกล้องที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดค่าต่างๆ ของกล้อง ครั้งละ 1 เท่าตัว เช่น
"เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop" หมายถึง "เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 เท่าตัว"
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างคร่าวๆ กันบ้าง
สมมติ ว่าผมตั้ง Shutter Speed อยู่ที่ 1/10Sec
หากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้นครั้งละ 1 Stop เป็นจำนวน 3 ครั้ง
จะได้ Shutter Speed ที่เท่าไหร่
- ตั้งต้นที่ 1/10Sec, Stop แรก Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/20Sec ----> เพิ่มขึ้น 1 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/20Sec, Stop ที่สอง Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/40Sec ----> เพิ่มขึ้น 2 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/40Sec, Stop ที่สาม Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/80Sec ----> เพิ่มขึ้น 3 Stop
หลังจากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 3 Stop ก็จะได้ Shutter Speed ที่ 1/80Sec นั่นเอง
แต่ การเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 Stop นั้น ช่วงมันกว้างมาก ใน 1 Stop จึงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงอีกที
นั่นหมายความว่า "ซอย 1 Stop" ออกเป็น 3 ช่วง จะได้ช่วงล่ะ "0.333 Stop"
ช่วงที่ 1 มีค่า 0.333 หรือประมาณ 0.3 Stop
ช่วงที่ 2 มีค่า 0.666 หรือประมาณ 0.7 Stop
ช่วงที่ 3 มีค่า 0.999 หรือประมาณ 1.0 Stop
สำหรับมือใหม่ คุ้นๆ ตัวเลขพวกนี้บ้างไหมครับ คงจะเคยเห็นกันบ้างละนะ
ตัว เลข 0.3, 0.7, 1.0 Stop นี้ เป็นค่าที่ใช้ในการชดเชยระบบต่างๆ ของกล้อง
ไม่ว่าจะเป็น "การเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสง, Shutter Speed และ ISO" เป็นต้น
ต่อจากข้างบน มาดูตัวอย่างกันอีกที เอาให้เคลียร์
สมมติว่าเราตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/10Sec (ดูตาราง s ) แล้ว...
ชดเชยแสง -0.3 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/13Sec
ชดเชยแสง -0.7 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/15Sec
ชดเชยแสง -1.0 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
ปล. ชดเชยไปฝั่งลบ Shutter Speed ก็ต้อง "เร็วขึ้น"
ชดเชยไปฝั่งบวก Shutter Speed ก็ต้อง "ช้าลง" อย่าสับสนน่ะครับ
ดูอีกตัวอย่างน่ะครับ(ตาราง S) หาก...
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop ของ 1/10Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 2 Stop ของ 1/25Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/100Sec
ลด Shutter Speed ลง 1 Stop ของ 1/320Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/160Sec
ทีนี้มาดูการเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสงกันบ้าง
1 Stop ของรูรับแสงนั้น หมายถึง "พื้นที่วงกลมที่เพิ่มขึ้น/ลดลง 1 เท่าตัว"
แต่ตัวเลขของรูรับแสงที่เราเห็นนั้น "เป็นรัศมีของวงกลม" ครับ
ฉะนั้น!! ตัวเลขของรูรับแสง "จะไม่เพิ่มขึ้น/ลดลง ครั้งล่ะเท่าตัวเหมือน
Speed Shutter กับ ISO" น่ะครับ
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า(ดูรูปจากตาราง F )
สมมติว่าผมตั้งรูรับแสงไว้ที่ F3.5 แล้ว...
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.3 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.7 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4.5
ลดขนาดรูรับแสงลง 1.0 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F5
ปล. 1 Stop ของรูรับแสงนั้น ก็แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นกัน
หากเขียนเป็นช่วงให้เห็นชัดๆ ก็สามารถเขียนได้เป็นแบบนี้ครับ
..., -2.0, -1.7, -1.3, -1.0, -0.7, -0.3, 0.0, 0.3, 0.7, 1.0, 1.3, 1.7, 2.0, ...
มาดูวิธีการชดเชยแสงกันบ้าง ในกรณีที่ใช้โหมด A กับ S
หลังจากล็อคค่าแสงแล้วก็
1. กดปุ่มชดเชยแสง(ปุ่มที่มีเครื่องหมาย +/-) ค้างไว้
2. หมุนวงแหวนเพื่อเลือกค่าการชดเชยแสง
แต่ชดไปทางไหน เท่าไหร่นั้น ต้องดูเอาเองครับ ไม่มีใครสามารถบอกได้
ส่วนโหมด M "ชดเชยด้วยปุ่มชดเชยแสงไม่ได้นะ"
ต้องชดเชยด้วยการปรับ "รูรับแสงกับ Shutter Speed" ครับ
มาดูตัวอย่างการชดเชยแสงกันบ้างดีกว่า เช่น
สมมติว่า ผมใช้โหมด A ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 3.5 ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100Sec
แต่ปรากฏว่ารูปมืดไป(Under) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงเพิ่มขึ้น
- ชดเชยแสงครั้งแรก +0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/80Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง +0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/60Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม +1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/50Sec ---> (สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ในทางกลับกัน
หากผมใช้โหมด S ตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/50Sec ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก ขนาดรูรับแสงให้ที่ F6.3
แต่ปรากฏว่ารูปสว่างไป(Over) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงลดลง
- ชดเชยแสงครั้งแรก -0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F7.1 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง -0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F8 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม -1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F9 --->(สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ปล. จริงๆ แล้วเมื่อถ่ายเล่นไปซักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถประเมินได้ว่ารูปนั้นๆ ควรชดเชยเท่าไหร่
ไม่จำเป็นต้องชดเชยครั้งล่ะ 0.3 เหมือนอย่างที่ผมเขียนไว้น่ะครับ
ผมแค่เขียนให้เห็นภาพชัดๆ เท่านั้นเอง
วันนี้หมดเวลาแล้ว งานด่วนเข้า เอาไว้ติดตามตอนต่อไปนะครับ
ลองไปทำความเข้าใจ และลองฝึกหัดดูครับ ใจเย็นๆ อ่านช้าๆ
คงจะเข้าใจได้ไม่ยากครับ..
อาจมืดหรือสว่างไป จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่
เราสามารถปรับแต่งเพิ่มได้ด้วยการ "ชดเชยแสง" ครับ
หน่วยของมัน ในภาษาสากลเรียกว่า "EV"
EV ย่อมาจาก "Exposure Value" เป็นค่าที่ใช้ในการวัดความสว่างของแสง
คำถาม : "ทำไมต้องมีการชดเชยแสงด้วย?"
ตอบ : เพราะในบางสถานการณ์กล้องมันไม่สามารถบันทึกภาพให้เหมือน
หรือใกล้เคียงกับที่ตาเรามองเห็นได้ แม้ว่าเราก็วัดแสงแล้วก็ตาม
รูปที่ได้มานั้นอาจมืดหรือสว่างไป เลยต้องปรับแก้ด้วยการ "ชดเชยแสง"
เช่นในสถานกาณ์แบบนี้ คนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแน่ๆ
เมื่อดูภาพหลังจากถ่าย แล้วเกิดคำถามว่า "ทำไมสีมันไม่ดำเหมือนของจริง"
หรือ "ทำไมสีมันไม่ขาวเหมือนของจริง" ทั้งที่เราก็วัดแสงให้มันพอดีแล้ว...
อย่างรูปนี้ วัดแสงพอดีที่กล้องแล้ว แต่รูปที่ได้
ตัวกล้องกลับไม่ดำเหมือนของจริง กลับดูเหมือนกล้องมีสี "ดำอมเทา"
ซึ่งของจริงมันต้องดำกว่านี้ เมื่อเราเห็นผลลัพธ์ดังนั้นเราก็
"ชดเชยแสงไปฝั่งลบ" เพื่อให้ได้รูปที่ใกล้เคียงกับกับของจริงมากที่สุด
ส่วนวิธีการชดเชยทำอย่างไร เดี๋ยวค่อยว่ากันครับ
มาถึงตรงนี้ ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ผมก็ไม่ได้เก่งถึงกับขนาดที่เห็นรูป
ก็รู้เลยว่า "มันต้องชดเชยไปทางนั้น ด้วยค่าเท่านี้"
มีในบางกรณีเท่านั้นที่รู้ว่าต้องชดเชยแน่ แต่ชดเชยเท่าไหร่นั้น
ส่วนมากก็ต้องลองครับ ลองไปเรื่อยๆ แล้วประสบการณ์มันจะสอนเอง
ว่าในกรณีไหนควรชดเชยเท่าไหร่ หรือเรียกง่ายๆ ว่า
"เดาได้แม่นยำขึ้น" เท่านั้นเอง เช่น
ตอนเล่นกล้องใหม่ๆ นั้น อย่าว่าแต่เดาเรื่องชดเชยเท่าไหร่เลย
แค่เดาว่าชดเชยไปฝั่งบวกหรือลบ "ก็งงแล้ว"
เล่นไปซักพักจะเริ่มจับทางได้เองครับว่า "ต้องชดเชยไปฝั่งไหน"
และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นอีก ก็จะสามารถเดาได้แม่นยำขึ้นว่า
"น่าจะชดเชยซักเท่าไหร่" บางทีเดาครั้งเดียวถูกเลย
บางครั้งก็ Error นิดหน่อย ชดเชยเพิ่มไปทีสองทีก็เอาอยู่
"หลังจากวัดและชดเชยแสงเป็นแล้ว" สิ่งเดียวที่จะแตกต่างระหว่างมือใหม่กับมือเก่าก็คือ
"เวลาในการถ่ายรูปนั้นๆ" มือเก่าประสบการณ์สูงอาจเลือกจุดวัดแสงได้แม่นยำกว่า
หรือถ้าต้องชดเชยแสง ก็ชดเชยไม่มาก
มือใหม่อาจเลือกจุดวัดแสงไม่แม่น ต้องชดเชยแล้วถ่ายใหม่
บางครั้งต้องชดเชยถึง 2-3 ครั้งว่าจะได้รูปอย่างมือเก่า
แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการของมัน "เราได้รูปเหมือนมือเก่าแน่นอน"
อาจใช้เวลามากกว่าไปซัก 1 นาที ซึ่งผมก็ถือว่าไม่เสียหายอะไร
คนที่เล่นกล้องทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า "Stop" แน่นอน
Stop คือหน่วยวัดของกล้องที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดค่าต่างๆ ของกล้อง ครั้งละ 1 เท่าตัว เช่น
"เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop" หมายถึง "เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 เท่าตัว"
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างคร่าวๆ กันบ้าง
สมมติ ว่าผมตั้ง Shutter Speed อยู่ที่ 1/10Sec
หากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้นครั้งละ 1 Stop เป็นจำนวน 3 ครั้ง
จะได้ Shutter Speed ที่เท่าไหร่
- ตั้งต้นที่ 1/10Sec, Stop แรก Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/20Sec ----> เพิ่มขึ้น 1 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/20Sec, Stop ที่สอง Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/40Sec ----> เพิ่มขึ้น 2 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/40Sec, Stop ที่สาม Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/80Sec ----> เพิ่มขึ้น 3 Stop
หลังจากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 3 Stop ก็จะได้ Shutter Speed ที่ 1/80Sec นั่นเอง
แต่ การเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 Stop นั้น ช่วงมันกว้างมาก ใน 1 Stop จึงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงอีกที
นั่นหมายความว่า "ซอย 1 Stop" ออกเป็น 3 ช่วง จะได้ช่วงล่ะ "0.333 Stop"
ช่วงที่ 1 มีค่า 0.333 หรือประมาณ 0.3 Stop
ช่วงที่ 2 มีค่า 0.666 หรือประมาณ 0.7 Stop
ช่วงที่ 3 มีค่า 0.999 หรือประมาณ 1.0 Stop
สำหรับมือใหม่ คุ้นๆ ตัวเลขพวกนี้บ้างไหมครับ คงจะเคยเห็นกันบ้างละนะ
ตัว เลข 0.3, 0.7, 1.0 Stop นี้ เป็นค่าที่ใช้ในการชดเชยระบบต่างๆ ของกล้อง
ไม่ว่าจะเป็น "การเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสง, Shutter Speed และ ISO" เป็นต้น
ต่อจากข้างบน มาดูตัวอย่างกันอีกที เอาให้เคลียร์
สมมติว่าเราตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/10Sec (ดูตาราง s ) แล้ว...
ชดเชยแสง -0.3 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/13Sec
ชดเชยแสง -0.7 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/15Sec
ชดเชยแสง -1.0 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
ปล. ชดเชยไปฝั่งลบ Shutter Speed ก็ต้อง "เร็วขึ้น"
ชดเชยไปฝั่งบวก Shutter Speed ก็ต้อง "ช้าลง" อย่าสับสนน่ะครับ
ดูอีกตัวอย่างน่ะครับ(ตาราง S) หาก...
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop ของ 1/10Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 2 Stop ของ 1/25Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/100Sec
ลด Shutter Speed ลง 1 Stop ของ 1/320Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/160Sec
ทีนี้มาดูการเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสงกันบ้าง
1 Stop ของรูรับแสงนั้น หมายถึง "พื้นที่วงกลมที่เพิ่มขึ้น/ลดลง 1 เท่าตัว"
แต่ตัวเลขของรูรับแสงที่เราเห็นนั้น "เป็นรัศมีของวงกลม" ครับ
ฉะนั้น!! ตัวเลขของรูรับแสง "จะไม่เพิ่มขึ้น/ลดลง ครั้งล่ะเท่าตัวเหมือน
Speed Shutter กับ ISO" น่ะครับ
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า(ดูรูปจากตาราง F )
สมมติว่าผมตั้งรูรับแสงไว้ที่ F3.5 แล้ว...
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.3 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.7 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4.5
ลดขนาดรูรับแสงลง 1.0 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F5
ปล. 1 Stop ของรูรับแสงนั้น ก็แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นกัน
หากเขียนเป็นช่วงให้เห็นชัดๆ ก็สามารถเขียนได้เป็นแบบนี้ครับ
..., -2.0, -1.7, -1.3, -1.0, -0.7, -0.3, 0.0, 0.3, 0.7, 1.0, 1.3, 1.7, 2.0, ...
มาดูวิธีการชดเชยแสงกันบ้าง ในกรณีที่ใช้โหมด A กับ S
หลังจากล็อคค่าแสงแล้วก็
1. กดปุ่มชดเชยแสง(ปุ่มที่มีเครื่องหมาย +/-) ค้างไว้
2. หมุนวงแหวนเพื่อเลือกค่าการชดเชยแสง
แต่ชดไปทางไหน เท่าไหร่นั้น ต้องดูเอาเองครับ ไม่มีใครสามารถบอกได้
ส่วนโหมด M "ชดเชยด้วยปุ่มชดเชยแสงไม่ได้นะ"
ต้องชดเชยด้วยการปรับ "รูรับแสงกับ Shutter Speed" ครับ
มาดูตัวอย่างการชดเชยแสงกันบ้างดีกว่า เช่น
สมมติว่า ผมใช้โหมด A ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 3.5 ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100Sec
แต่ปรากฏว่ารูปมืดไป(Under) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงเพิ่มขึ้น
- ชดเชยแสงครั้งแรก +0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/80Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง +0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/60Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม +1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/50Sec ---> (สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ในทางกลับกัน
หากผมใช้โหมด S ตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/50Sec ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก ขนาดรูรับแสงให้ที่ F6.3
แต่ปรากฏว่ารูปสว่างไป(Over) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงลดลง
- ชดเชยแสงครั้งแรก -0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F7.1 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง -0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F8 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม -1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F9 --->(สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ปล. จริงๆ แล้วเมื่อถ่ายเล่นไปซักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถประเมินได้ว่ารูปนั้นๆ ควรชดเชยเท่าไหร่
ไม่จำเป็นต้องชดเชยครั้งล่ะ 0.3 เหมือนอย่างที่ผมเขียนไว้น่ะครับ
ผมแค่เขียนให้เห็นภาพชัดๆ เท่านั้นเอง
วันนี้หมดเวลาแล้ว งานด่วนเข้า เอาไว้ติดตามตอนต่อไปนะครับ
ลองไปทำความเข้าใจ และลองฝึกหัดดูครับ ใจเย็นๆ อ่านช้าๆ
คงจะเข้าใจได้ไม่ยากครับ..
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
การวัดแสง (Light Metering) ตอน2
รูปต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีครับ เพราะในรูปเดียวมีสภาพแสงถึง 3 แบบ คือ
1. ส่วนที่อยู่ในเงา
2. ส่วนที่โดนแสงบางส่วน(รำไร)
3. ส่วนที่โดนแสงเต็มๆ
แบ่งรูปนี้ออกเป็น 3 Zone คือ
Zone 1 คือ Zone ที่อยู่ในเงาทั้งหมด เป็นส่วนที่มืดที่สุดในรูปนี้
Zone 2 คือ Zone ที่โดนแดดบางส่วน โดนเงาบางส่วน เป็นส่วนที่เรียกว่าโดนแสงแบบ "รำไร"
Zone 3 คือ Zone ที่โดนแดดมากที่สุด รับแสงไปเต็มๆ
ฉะนั้น หากเราลองวัดแสงตามจุดต่างๆ ในรูปนี้ ค่าแสงที่วัดได้ย่อมไม่เท่ากันแน่นอน
ต่อไปทำการทดสอบด้วยการถ่าย 3 รูป วัดแสงที่ "สัญลักษณ์โฟกัส" 1 จุดต่อ 1 รูป โดย
ใช้โหมด A ตั้งรูรับแสงที่ F11 ตั้ง ISO200 วัดแสงแบบ Spot เหมือนกันทั้ง 3 รูป
วิธีการถ่ายคือ
1. เล็งจุดโฟกัสไปที่ "สัญลักษณ์โฟกัส ที่ผมทำเครื่องหมายไว้" แล้วล็อคค่าแสง
2. โฟกัสที่แก้ว
3. จัด Composition
4. ถ่าย
ถ่ายแบบนี้ทั้ง 3 Zone ผลที่ได้ คือ
Zone 1 วัดแสงที่แก้ว (ตามจุดโฟกัสที่ผมทำเครื่องหมายเอาไว้)
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/25 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณโต๊ะ ที่แก้ววางอยู่ สว่างพอดี หรือ พูดว่า Zone 1 จะได้แสงที่พอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 2 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 1 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Over ไปนิดนึง
และใน Zone 3 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 2 ก็ต้อง Over มากเป็นธรรมดา เมื่อเทียบกับ Zone 1
Zone 2 วัดแสงที่บริเวณสนามหญ้า
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/60 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณสนามหญ้า หรือ Zone 2 สว่างพอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 1 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 2 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Under ไปนิดนึง
และใน Zone 3 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 2 ก็ต้อง Over นิดนึง เมื่อเทียบกับ Zone 2
Zone 3 วัดแสงที่ Background ด้านหลัง
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณ Background ด้านหลังหรือ Zone 3 สว่างพอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 2 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 3 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Under ไปนิดนึง
และใน Zone 1 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 2 ก็ต้อง Under มากเป็นธรรมดา เมื่อเทียบกับ Zone 3
สำหรับสภาพปกติ หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ถ้าเราอยากให้ส่วนไหนสว่างพอดี ก็วัดแสงที่ตรงนั้นเลย...
บริเวณที่เราวัดแสง ก็จะได้แสงที่พอดี ไม่มืดหรือสว่างเกินไป เมื่อเทียบกับของจริง
ในทางกลับ เมื่อไหร่เจอสภาพแสงที่ "ยุ่งยาก" วัดแสงแล้ว มันไม่พอดีซักที
อาจเกิดจาก สภาพแสงในขณะนั้น มีหลายความเข้มแสงในรูปเดียว
เช่น เราถ่ายรูป Portrait แบบย้อนแสง หลายๆ ครั้งคงได้เห็นรูปที่ "ตัวแบบดำปี๋" มองไม่รู้เลยว่าเป็นใคร
นั่นเพราะ สภาพแสงที่ต่างกันมากนั้นเอง ระหว่าง "ตัวแบบ" ที่หันหลังให้แสง กับ "Background" ซึ่งในที่นี้ก็คือดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงมาเต็มๆ
กรณีแบบนี้มี 3 ทางเลือกในเบื้องต้นคือ
1. ชดเชยแสง
2. เลือกระบบวัดแสงใหม่ เลือกจุดวัดแสงใหม่
3. หลบมุมนิดหน่อย
สำหรับเรื่องสภาพแสงที่ยุ่งยากนั้น พักไว้ก่อน เดี๋ยวผมจะเขียนบทความอีกเรื่องคือ "การชดเชยแสง" ให้อ่านกันอีกที
จะบอกทั้งหมดว่า การชดเชยแสงคืออะไร ชดเชยอย่างไร ต้องชดเชยในกรณีไหนบ้าง...
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างเป็น กรณีๆ ไป
อย่างรูปนี้ก็นับเป็นรูปนึงที่จัดว่าเป็นรูปที่ "สภาพแสงยุ่งยาก" เพราะมีความต่างของแสงมากในรูปๆ เดียว
เราลองมาวิเคราะห์กันว่า ในเบื้องต้นก่อนวัดแสงนั้น เราจะใช้โหมดวัดแสง ระบบไหนดี
รูปนี้อาจใช้ Spot หรือ Center-Weighted ก็ได้ครับ แต่ไม่ดีแน่ถ้าจะใช้ระบบวัดแสงแบบ Matrix
เพราะมันจะเอาค่าแสงที่แรงมากของดวงอาทิตย์ มาคำนวณด้วย...
ถ้าใช้ Spot หรือ Center-Weighted เลือกจุดวัดแสงดีๆ อาจไม่ต้องชดเชยแสง ได้รูปอย่างที่เห็นเลย
หลังจากเลือกระบบวัดแสงแล้ว ก็มาพิจารณาต่อว่าจะวัดแสงตรงไหนดี
รูปนี้มีแสงมากจากดวงอาทิตย์ และมีแสงน้อยมากทีดอกชบา เมื่อเทียบกับด้านหลัง
เราอยากได้แสงพอดีที่ดอกชบา ก็วัดแสงพอดีที่ดอกชบา แล้วถ่ายเลยครับ
ส่วนรูปนี้ หากมองคร่าวๆ รูปนี้ก็เป็นรูปหนึ่งที่ถ่าย "ย้อนแสง"
ถ้าอยู่ในช่วงแดดจ้า อาจต้องเลือกจุดวัดแสงดีๆ หน่อย หรือไม่ก็ต้องช่วยด้วยการชดเชยแสง
แต่สภาพแสงในขณะนั้น ดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้าเต็มที สถาพแสงน้อยมาก มองด้วยตาเปล่าก็ไม่แสบตาอะไร
ถือว่าเป็นสภาพแสงที่ไม่ยุ่งยากอะไรใช้ Center-Weighted วัดแสงที่เรือ แล้วถ่ายเลย
**ทริค รูปไหนที่มีทั้งสีขาวและสีดำในรูปเดียวกัน ดูง่ายมากครับ ว่าวัดแสงถูกหรือปล่าว
เพราะถ้าวัดแสงถูก "ขาวต้องเป็นขาว ดำต้องเป็นดำ"
รูปนี้วัดแสงแบบ Spot จิ้มไปตรงขอบเสื้อด้านหน้า ชดเชยบวกนิดเดียว(0.3EV)
ในเบื้องต้น ใครที่วัดแสงไม่แม่นก็ไม่เป็นไรครับ เพียงแต่ต้องเข้าใจว่า จะต้องแก้ไขอย่างไร เช่น
ถ่ายมาแล้ว Under ก็อาจต้อง เพิ่มขนาดรูรับแสงหรือลด Shutter Speed ให้ต่ำลง ในทางกลับกัน
ถ่ายมาแล้ว Over ก็อาจต้อง ลดขนาดรูรับแสงหรือเพิ่ม Shutter Speed ให้สูงขึ้น เป็นต้น
ตัวผมเองก็ใช่ว่าจะวัดแสงแม่นไปซะทุกรูป ในบางครั้งถึงกับหลงทิศก็มี
แต่ผมรู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร แค่นี้ก็สามารถได้งานติดมือกลับบ้านแล้ว
ในหลายครั้งผมไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะต้องชดเชยยังไง หรือวัดแสงตรงไหน
ถ่ายเลยครับ แล้วดูรูปหลังกล้อง
ถ้าไม่พอใจก็ปรับแต่งเอาตรงนั้นแหละ จะเพิ่มจะลด "รูรับแสง"
หรือจะเพิ่มจะลด "Shutter Speed" อะไรก็ว่ากันไป
เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการ กล้องดิจิตอลสมัยนี้ วัดแสงแม่นมากทีเดียว
ให้กล้องมันวัดให้ พอใจ ไม่พอใจอย่างไร
ก็ปรับจูนอีกนิดหน่อยก็เอาอยู่
รูปต่อไป หากเป็นลักษณะนี้ให้ระวัง ถ้าใช้ Center-Weighted วัดแสงที่รถ
รูปอาจจะติด under เพราะรถมีความแวววาวสูงมาก คล้ายกับกระจกเงาสะท้อนแสงดีๆ นี่เอง
จึงทำให้แสงเข้ากล้องมาก
หลายๆ ครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องไป "คำนึง คำนวณ " อะไรมากครับ
ยุคนี้แล้ว ถ่ายปุ๊ป เห็นผลลัพธ์ปั๊ป ไม่พอใจก็ถ่ายใหม่
เพียงแต่ในบางครั้ง ถ้าเราคิดและวางแผนซักนิด มันอาจได้ผลลัพธ์ที่เร็วกว่า เท่านั้นเอง
หลักการมองเห็นของดวงตามนุษย์ กับของกล้อง ก็เหมือนกัน คือ
ไม่ได้มองเห็นสีของวัตถุโดยตรง แต่มองเห็น "แสง" ที่สะท้อนออกมาจากวัถุดังกล่าว
วัตถุมีสีอะไร ก็จะสะท้อนแสงสีนั้นออกมา
แต่ข้อจำกัดการมองเห็นของกล้องกับสายตามนุษย์นั้น ยังต่างกันมาก
ส่วนมืดส่วนสว่างในการมองไปยังจุดๆ หนึ่ง สายตามนุษย์แยกแยะออกได้ ขอเพียงแค่มีแสงบ้างเท่านั้น
แต่กล้องไม่เก่งขนาดนั้น ส่วนมืดส่วนสว่าง กล้องยังสู้สายตามนุษย์ไม่ได้
เช่น ถ้าเราถ่ายรูปที่มีทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างในรูปเดียวกัน
กล้องมักจะเสียรายละเอียดไปส่วนหนึ่ง คือ
ถ้าเราเลือวัดแสง(แสงพอดี) ที่ส่วนมืด... ส่วนสว่างก็มักจะสว่างไป
หรือถ้าเราเลือกวัดแสง(แสงพอดี) ที่ส่วนสว่าง... ส่วนมืดก็มักจะมืดไป
หรือที่เรารู้จักในนามของ Dynamic Range นั่นเอง(ใครที่ยังไม่รู้ว่า Dynamic Range คืออะไร ลองถาม google ดูเลยครับ)
อย่างรูปนี้ ถือว่ามี 2 สภาพแสงในรูปเดียว คือบริเวณที่โดนแดดจัด กับส่วนที่อยู่ในเงา
หากมองด้วยตาเปล่าในสถานที่จริง ก็สามารถเห็นรายละเอียดในเงาได้ชัดเจนครับ
แต่กล้องไม่สามารถทำได้ถึงขนาดนั้น ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ ต้องเลือกครับ ว่าจะเอาอะไร
ในที่นี้ถ้าต้องการถ่ายเสือ ก็วัดแสงให้พอดีที่ตัวเสือเลย แน่นอนว่ารายละเอียดในเงามืด
เกือบเป็นสีดำเลยทีเดียว แต่ความสว่างที่ตัวเสือนั้นพอดี
สำหรับจุดอ่อนของกล้องในข้อนี้ เราสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน
การทำให้ส่วนมืด มืดกว่าเก่า ก็เป็นการขับให้จุดเด่นในภาพ เด่นขึ้นได้เช่นกัน
ถือว่ามีประโยชน์พอสมควรทีเดียว ถ้าเลือกใช้เป็น
รูปนี้ก็มีสภาพแสงต่างกันมาก ถ้าเราเลือกวัดแสงที่จุดไหน อีกจุดก็จะเสียรายละเอียดไป
รูปนี้ วัดแสงที่กุ้งเผา ชดเชยบวกนิดๆ เพราะอยากได้รายละเอียดในส่วนมืดมาด้วย เดี๋ยวส่วนมืดจะมืดไป
ในเบื้องต้น เพียงแค่เข้าใจว่า กล้องในปัจจุบัน มันเป็นแบบนี้
บางครั้งต้องยอมเสียรายละเอียดในบางส่วนไป เพื่อรักษารายละเอียดอีกส่วน
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมคิดว่าทางผู้ผลิตคงจะพัฒนากล้องให้ดีขึ้น และกำจัดจุดอ่อนตรงนี้ให้น้อยลงได้เมื่อนั้นการวัดแสงก็จะง่ายขึ้นอีกมากครับ
"สี" ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่บอกได้ว่าการวัดแสงนั้นถูกต้องหรือไม่
เช่นเราถ่ายรูปที่มีทั้งสีขาวและสีดำในรูปเดียว แบบนี้เช็คง่ายเลยครับ
ถ้าวัดแสงถูก "ขาวต้องเป็นขาว ดำต้องเป็นดำ"
จากรูปนี้ ยังเห็นยี่ห้อเป็น "สีขาว" ชัดเจน ส่วนบอดี้ก็เป็นสี "ดำ"
ถ้าวัดแสงผิด สมมติว่า Under ไป ยี่ห้อก็จะไม่ขาวมาก จะออกขาวอมเทาๆ นิดนึง หรือ
ถ้าวัดแสงผิด Over ไป ตัวบอดี้ก็จะไม่ดำมาก จะออกไปทางเทาดำมากกว่า
รูปต่อไปเป็นตัวอย่างของการเลือกจุดวัดแสง กับจุดโฟกัสคนละจุดกัน
คือโฟกัสที่คนด้านหน้า แต่วัดแสงที่ท้องฟ้า ระหว่างไหล่ของคนทั้งสอง
สำหรับรูปนี้ ถ้าวัดแสงที่ดวงอาทิตย์ คงได้รูปดำมืดแล้วก็มีจุดขาวๆ อยู่จุดนึง(คือดวงอาทิตย์นั่นเอง)
หรือถ้าวัดแสงพอดีที่ตัวคน ก็คงจะได้ท้องฟ้าขาวสะอาดเลยทีเดียว ไม่มีดวงอาทิตย์กลมๆ ให้เห็น
ฉะนั้น เราก็เลือกวัดแสงบริเวณที่ถือว่ากลางๆ ครับ รูปจะได้ไม่ Over หรือ Under มากไป
การถ่ายรูปลักษณะนี้ การวัดแสงจะลำบากกว่าปกตินิดหน่อย เพราะต้องอาศัยความชำนาญในการเลือกจุดวัดแสงหรือเลือกจุดที่คิดว่าดีแล้ว ก็อาจต้องชดเชยช่วยอีกนิด เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการ
การแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสจะมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับกรณีแบบนี้
เพราะรูปลักษณะนี้ ถ้าเรายังโฟกัสและล๊อคค่าแสงไปในตัว จะต้องได้ชดเชยเกิน 3 Stop แน่นอน
เรียกว่าชดเชยกันจนเหนื่อยเลยครับ ทางผู้ผลิตกล้องจึงมี Function เพิ่มขึ้นมาให้ผู้ใช้
สามารถแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสได้
แต่ละค่ายมีวิธีการแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสอย่างไร ก็อ่านในคู่มือนะครับ
รูปนี้ แสงลงกำลังดี เห็นเป็นลำ
อยากให้แสงพอดีที่คนแถวๆ ลำแสง ก็วัดแสงตรงนั้นเลย อาจจะต้องชดเชยแสง
เพื่อเปิดรายละเอียดส่วนอื่นๆบ้าง
ถ้าไม่ชดเชยเลย จะเห็นลำแสงชัดขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยสภาพแวดล้อมมืดขึ้นอีกนิด
แล้วแต่ความชอบของคนถ่ายครับ ว่าชอบแบบไหน
สรุป
- หัวใจหลักของเรื่องการวัดแสงคือ "การเลือกจุดที่จะเป็นตัวแทนของค่าแสงในรูปนั้นๆ แล้วทำการล็อคค่าแสงไว้"
- สาเหตุที่ต้องล็อคค่าแสง เพราะค่าแสงจะไม่เพี้ยนไปจากจุดที่เราต้องการ เวลาเราจัด Composition ใหม่
** ผมบอกไว้ในข้างต้นแล้วว่า "กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา" เมื่อเราจัด Composition ใหม่(Pan กล้อง) ค่าแสงมันก็เปลี่ยนตลอด
ดังนั้นจึงต้องมีการล็อคค่าแสงนั้นไว้ เพื่อไม่ให้ค่าแสงเปลี่ยนขณะที่เราจัด Composition ใหม่
และเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงในการชดเชยแสงด้วย หากการวัดแสงครั้งแรกยังไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ส่วนเรื่อง ควรวัดแสงที่ไหนและชดเชยค่าแสงเท่าไหร่นั้น ต้องออกไปฝึกเองครับ
เพราะไม่มีใครสามารถบอกเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้
ในเรื่องการวัดแสงก็มีเท่านี้ครับ แต่ในกระบวนการถ่ายนั้นยังไม่จบครับ ยังต้องรู้เรื่อง "การชดเชยแสง" ด้วย
จริงๆ แล้วเรื่องของการวัดแสงกับการชดเชยแสงนั้นจะถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เพราะทั้งสองอย่างนี้ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ แต่แยกหัวข้อดีกว่า เพราะเดี๋ยวมันจะยาวเกินไป
ปล. แล้วจะรีบทำข้อมูลเรื่อง "การชดเชยแสง" ให้ในเร็ววันครับ
1. ส่วนที่อยู่ในเงา
2. ส่วนที่โดนแสงบางส่วน(รำไร)
3. ส่วนที่โดนแสงเต็มๆ
แบ่งรูปนี้ออกเป็น 3 Zone คือ
Zone 1 คือ Zone ที่อยู่ในเงาทั้งหมด เป็นส่วนที่มืดที่สุดในรูปนี้
Zone 2 คือ Zone ที่โดนแดดบางส่วน โดนเงาบางส่วน เป็นส่วนที่เรียกว่าโดนแสงแบบ "รำไร"
Zone 3 คือ Zone ที่โดนแดดมากที่สุด รับแสงไปเต็มๆ
ฉะนั้น หากเราลองวัดแสงตามจุดต่างๆ ในรูปนี้ ค่าแสงที่วัดได้ย่อมไม่เท่ากันแน่นอน
ต่อไปทำการทดสอบด้วยการถ่าย 3 รูป วัดแสงที่ "สัญลักษณ์โฟกัส" 1 จุดต่อ 1 รูป โดย
ใช้โหมด A ตั้งรูรับแสงที่ F11 ตั้ง ISO200 วัดแสงแบบ Spot เหมือนกันทั้ง 3 รูป
วิธีการถ่ายคือ
1. เล็งจุดโฟกัสไปที่ "สัญลักษณ์โฟกัส ที่ผมทำเครื่องหมายไว้" แล้วล็อคค่าแสง
2. โฟกัสที่แก้ว
3. จัด Composition
4. ถ่าย
ถ่ายแบบนี้ทั้ง 3 Zone ผลที่ได้ คือ
Zone 1 วัดแสงที่แก้ว (ตามจุดโฟกัสที่ผมทำเครื่องหมายเอาไว้)
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/25 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณโต๊ะ ที่แก้ววางอยู่ สว่างพอดี หรือ พูดว่า Zone 1 จะได้แสงที่พอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 2 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 1 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Over ไปนิดนึง
และใน Zone 3 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 2 ก็ต้อง Over มากเป็นธรรมดา เมื่อเทียบกับ Zone 1
Zone 2 วัดแสงที่บริเวณสนามหญ้า
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/60 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณสนามหญ้า หรือ Zone 2 สว่างพอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 1 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 2 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Under ไปนิดนึง
และใน Zone 3 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 2 ก็ต้อง Over นิดนึง เมื่อเทียบกับ Zone 2
Zone 3 วัดแสงที่ Background ด้านหลัง
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณ Background ด้านหลังหรือ Zone 3 สว่างพอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 2 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 3 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Under ไปนิดนึง
และใน Zone 1 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 2 ก็ต้อง Under มากเป็นธรรมดา เมื่อเทียบกับ Zone 3
สำหรับสภาพปกติ หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ถ้าเราอยากให้ส่วนไหนสว่างพอดี ก็วัดแสงที่ตรงนั้นเลย...
บริเวณที่เราวัดแสง ก็จะได้แสงที่พอดี ไม่มืดหรือสว่างเกินไป เมื่อเทียบกับของจริง
ในทางกลับ เมื่อไหร่เจอสภาพแสงที่ "ยุ่งยาก" วัดแสงแล้ว มันไม่พอดีซักที
อาจเกิดจาก สภาพแสงในขณะนั้น มีหลายความเข้มแสงในรูปเดียว
เช่น เราถ่ายรูป Portrait แบบย้อนแสง หลายๆ ครั้งคงได้เห็นรูปที่ "ตัวแบบดำปี๋" มองไม่รู้เลยว่าเป็นใคร
นั่นเพราะ สภาพแสงที่ต่างกันมากนั้นเอง ระหว่าง "ตัวแบบ" ที่หันหลังให้แสง กับ "Background" ซึ่งในที่นี้ก็คือดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงมาเต็มๆ
กรณีแบบนี้มี 3 ทางเลือกในเบื้องต้นคือ
1. ชดเชยแสง
2. เลือกระบบวัดแสงใหม่ เลือกจุดวัดแสงใหม่
3. หลบมุมนิดหน่อย
สำหรับเรื่องสภาพแสงที่ยุ่งยากนั้น พักไว้ก่อน เดี๋ยวผมจะเขียนบทความอีกเรื่องคือ "การชดเชยแสง" ให้อ่านกันอีกที
จะบอกทั้งหมดว่า การชดเชยแสงคืออะไร ชดเชยอย่างไร ต้องชดเชยในกรณีไหนบ้าง...
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างเป็น กรณีๆ ไป
อย่างรูปนี้ก็นับเป็นรูปนึงที่จัดว่าเป็นรูปที่ "สภาพแสงยุ่งยาก" เพราะมีความต่างของแสงมากในรูปๆ เดียว
เราลองมาวิเคราะห์กันว่า ในเบื้องต้นก่อนวัดแสงนั้น เราจะใช้โหมดวัดแสง ระบบไหนดี
รูปนี้อาจใช้ Spot หรือ Center-Weighted ก็ได้ครับ แต่ไม่ดีแน่ถ้าจะใช้ระบบวัดแสงแบบ Matrix
เพราะมันจะเอาค่าแสงที่แรงมากของดวงอาทิตย์ มาคำนวณด้วย...
ถ้าใช้ Spot หรือ Center-Weighted เลือกจุดวัดแสงดีๆ อาจไม่ต้องชดเชยแสง ได้รูปอย่างที่เห็นเลย
หลังจากเลือกระบบวัดแสงแล้ว ก็มาพิจารณาต่อว่าจะวัดแสงตรงไหนดี
รูปนี้มีแสงมากจากดวงอาทิตย์ และมีแสงน้อยมากทีดอกชบา เมื่อเทียบกับด้านหลัง
เราอยากได้แสงพอดีที่ดอกชบา ก็วัดแสงพอดีที่ดอกชบา แล้วถ่ายเลยครับ
ส่วนรูปนี้ หากมองคร่าวๆ รูปนี้ก็เป็นรูปหนึ่งที่ถ่าย "ย้อนแสง"
ถ้าอยู่ในช่วงแดดจ้า อาจต้องเลือกจุดวัดแสงดีๆ หน่อย หรือไม่ก็ต้องช่วยด้วยการชดเชยแสง
แต่สภาพแสงในขณะนั้น ดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้าเต็มที สถาพแสงน้อยมาก มองด้วยตาเปล่าก็ไม่แสบตาอะไร
ถือว่าเป็นสภาพแสงที่ไม่ยุ่งยากอะไรใช้ Center-Weighted วัดแสงที่เรือ แล้วถ่ายเลย
**ทริค รูปไหนที่มีทั้งสีขาวและสีดำในรูปเดียวกัน ดูง่ายมากครับ ว่าวัดแสงถูกหรือปล่าว
เพราะถ้าวัดแสงถูก "ขาวต้องเป็นขาว ดำต้องเป็นดำ"
รูปนี้วัดแสงแบบ Spot จิ้มไปตรงขอบเสื้อด้านหน้า ชดเชยบวกนิดเดียว(0.3EV)
ในเบื้องต้น ใครที่วัดแสงไม่แม่นก็ไม่เป็นไรครับ เพียงแต่ต้องเข้าใจว่า จะต้องแก้ไขอย่างไร เช่น
ถ่ายมาแล้ว Under ก็อาจต้อง เพิ่มขนาดรูรับแสงหรือลด Shutter Speed ให้ต่ำลง ในทางกลับกัน
ถ่ายมาแล้ว Over ก็อาจต้อง ลดขนาดรูรับแสงหรือเพิ่ม Shutter Speed ให้สูงขึ้น เป็นต้น
ตัวผมเองก็ใช่ว่าจะวัดแสงแม่นไปซะทุกรูป ในบางครั้งถึงกับหลงทิศก็มี
แต่ผมรู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร แค่นี้ก็สามารถได้งานติดมือกลับบ้านแล้ว
ในหลายครั้งผมไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะต้องชดเชยยังไง หรือวัดแสงตรงไหน
ถ่ายเลยครับ แล้วดูรูปหลังกล้อง
ถ้าไม่พอใจก็ปรับแต่งเอาตรงนั้นแหละ จะเพิ่มจะลด "รูรับแสง"
หรือจะเพิ่มจะลด "Shutter Speed" อะไรก็ว่ากันไป
เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการ กล้องดิจิตอลสมัยนี้ วัดแสงแม่นมากทีเดียว
ให้กล้องมันวัดให้ พอใจ ไม่พอใจอย่างไร
ก็ปรับจูนอีกนิดหน่อยก็เอาอยู่
รูปต่อไป หากเป็นลักษณะนี้ให้ระวัง ถ้าใช้ Center-Weighted วัดแสงที่รถ
รูปอาจจะติด under เพราะรถมีความแวววาวสูงมาก คล้ายกับกระจกเงาสะท้อนแสงดีๆ นี่เอง
จึงทำให้แสงเข้ากล้องมาก
หลายๆ ครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องไป "คำนึง คำนวณ " อะไรมากครับ
ยุคนี้แล้ว ถ่ายปุ๊ป เห็นผลลัพธ์ปั๊ป ไม่พอใจก็ถ่ายใหม่
เพียงแต่ในบางครั้ง ถ้าเราคิดและวางแผนซักนิด มันอาจได้ผลลัพธ์ที่เร็วกว่า เท่านั้นเอง
หลักการมองเห็นของดวงตามนุษย์ กับของกล้อง ก็เหมือนกัน คือ
ไม่ได้มองเห็นสีของวัตถุโดยตรง แต่มองเห็น "แสง" ที่สะท้อนออกมาจากวัถุดังกล่าว
วัตถุมีสีอะไร ก็จะสะท้อนแสงสีนั้นออกมา
แต่ข้อจำกัดการมองเห็นของกล้องกับสายตามนุษย์นั้น ยังต่างกันมาก
ส่วนมืดส่วนสว่างในการมองไปยังจุดๆ หนึ่ง สายตามนุษย์แยกแยะออกได้ ขอเพียงแค่มีแสงบ้างเท่านั้น
แต่กล้องไม่เก่งขนาดนั้น ส่วนมืดส่วนสว่าง กล้องยังสู้สายตามนุษย์ไม่ได้
เช่น ถ้าเราถ่ายรูปที่มีทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างในรูปเดียวกัน
กล้องมักจะเสียรายละเอียดไปส่วนหนึ่ง คือ
ถ้าเราเลือวัดแสง(แสงพอดี) ที่ส่วนมืด... ส่วนสว่างก็มักจะสว่างไป
หรือถ้าเราเลือกวัดแสง(แสงพอดี) ที่ส่วนสว่าง... ส่วนมืดก็มักจะมืดไป
หรือที่เรารู้จักในนามของ Dynamic Range นั่นเอง(ใครที่ยังไม่รู้ว่า Dynamic Range คืออะไร ลองถาม google ดูเลยครับ)
อย่างรูปนี้ ถือว่ามี 2 สภาพแสงในรูปเดียว คือบริเวณที่โดนแดดจัด กับส่วนที่อยู่ในเงา
หากมองด้วยตาเปล่าในสถานที่จริง ก็สามารถเห็นรายละเอียดในเงาได้ชัดเจนครับ
แต่กล้องไม่สามารถทำได้ถึงขนาดนั้น ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ ต้องเลือกครับ ว่าจะเอาอะไร
ในที่นี้ถ้าต้องการถ่ายเสือ ก็วัดแสงให้พอดีที่ตัวเสือเลย แน่นอนว่ารายละเอียดในเงามืด
เกือบเป็นสีดำเลยทีเดียว แต่ความสว่างที่ตัวเสือนั้นพอดี
สำหรับจุดอ่อนของกล้องในข้อนี้ เราสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน
การทำให้ส่วนมืด มืดกว่าเก่า ก็เป็นการขับให้จุดเด่นในภาพ เด่นขึ้นได้เช่นกัน
ถือว่ามีประโยชน์พอสมควรทีเดียว ถ้าเลือกใช้เป็น
รูปนี้ก็มีสภาพแสงต่างกันมาก ถ้าเราเลือกวัดแสงที่จุดไหน อีกจุดก็จะเสียรายละเอียดไป
รูปนี้ วัดแสงที่กุ้งเผา ชดเชยบวกนิดๆ เพราะอยากได้รายละเอียดในส่วนมืดมาด้วย เดี๋ยวส่วนมืดจะมืดไป
ในเบื้องต้น เพียงแค่เข้าใจว่า กล้องในปัจจุบัน มันเป็นแบบนี้
บางครั้งต้องยอมเสียรายละเอียดในบางส่วนไป เพื่อรักษารายละเอียดอีกส่วน
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมคิดว่าทางผู้ผลิตคงจะพัฒนากล้องให้ดีขึ้น และกำจัดจุดอ่อนตรงนี้ให้น้อยลงได้เมื่อนั้นการวัดแสงก็จะง่ายขึ้นอีกมากครับ
"สี" ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่บอกได้ว่าการวัดแสงนั้นถูกต้องหรือไม่
เช่นเราถ่ายรูปที่มีทั้งสีขาวและสีดำในรูปเดียว แบบนี้เช็คง่ายเลยครับ
ถ้าวัดแสงถูก "ขาวต้องเป็นขาว ดำต้องเป็นดำ"
จากรูปนี้ ยังเห็นยี่ห้อเป็น "สีขาว" ชัดเจน ส่วนบอดี้ก็เป็นสี "ดำ"
ถ้าวัดแสงผิด สมมติว่า Under ไป ยี่ห้อก็จะไม่ขาวมาก จะออกขาวอมเทาๆ นิดนึง หรือ
ถ้าวัดแสงผิด Over ไป ตัวบอดี้ก็จะไม่ดำมาก จะออกไปทางเทาดำมากกว่า
รูปต่อไปเป็นตัวอย่างของการเลือกจุดวัดแสง กับจุดโฟกัสคนละจุดกัน
คือโฟกัสที่คนด้านหน้า แต่วัดแสงที่ท้องฟ้า ระหว่างไหล่ของคนทั้งสอง
สำหรับรูปนี้ ถ้าวัดแสงที่ดวงอาทิตย์ คงได้รูปดำมืดแล้วก็มีจุดขาวๆ อยู่จุดนึง(คือดวงอาทิตย์นั่นเอง)
หรือถ้าวัดแสงพอดีที่ตัวคน ก็คงจะได้ท้องฟ้าขาวสะอาดเลยทีเดียว ไม่มีดวงอาทิตย์กลมๆ ให้เห็น
ฉะนั้น เราก็เลือกวัดแสงบริเวณที่ถือว่ากลางๆ ครับ รูปจะได้ไม่ Over หรือ Under มากไป
การถ่ายรูปลักษณะนี้ การวัดแสงจะลำบากกว่าปกตินิดหน่อย เพราะต้องอาศัยความชำนาญในการเลือกจุดวัดแสงหรือเลือกจุดที่คิดว่าดีแล้ว ก็อาจต้องชดเชยช่วยอีกนิด เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการ
การแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสจะมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับกรณีแบบนี้
เพราะรูปลักษณะนี้ ถ้าเรายังโฟกัสและล๊อคค่าแสงไปในตัว จะต้องได้ชดเชยเกิน 3 Stop แน่นอน
เรียกว่าชดเชยกันจนเหนื่อยเลยครับ ทางผู้ผลิตกล้องจึงมี Function เพิ่มขึ้นมาให้ผู้ใช้
สามารถแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสได้
แต่ละค่ายมีวิธีการแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสอย่างไร ก็อ่านในคู่มือนะครับ
รูปนี้ แสงลงกำลังดี เห็นเป็นลำ
อยากให้แสงพอดีที่คนแถวๆ ลำแสง ก็วัดแสงตรงนั้นเลย อาจจะต้องชดเชยแสง
เพื่อเปิดรายละเอียดส่วนอื่นๆบ้าง
ถ้าไม่ชดเชยเลย จะเห็นลำแสงชัดขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยสภาพแวดล้อมมืดขึ้นอีกนิด
แล้วแต่ความชอบของคนถ่ายครับ ว่าชอบแบบไหน
สรุป
- หัวใจหลักของเรื่องการวัดแสงคือ "การเลือกจุดที่จะเป็นตัวแทนของค่าแสงในรูปนั้นๆ แล้วทำการล็อคค่าแสงไว้"
- สาเหตุที่ต้องล็อคค่าแสง เพราะค่าแสงจะไม่เพี้ยนไปจากจุดที่เราต้องการ เวลาเราจัด Composition ใหม่
** ผมบอกไว้ในข้างต้นแล้วว่า "กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา" เมื่อเราจัด Composition ใหม่(Pan กล้อง) ค่าแสงมันก็เปลี่ยนตลอด
ดังนั้นจึงต้องมีการล็อคค่าแสงนั้นไว้ เพื่อไม่ให้ค่าแสงเปลี่ยนขณะที่เราจัด Composition ใหม่
และเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงในการชดเชยแสงด้วย หากการวัดแสงครั้งแรกยังไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ส่วนเรื่อง ควรวัดแสงที่ไหนและชดเชยค่าแสงเท่าไหร่นั้น ต้องออกไปฝึกเองครับ
เพราะไม่มีใครสามารถบอกเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้
ในเรื่องการวัดแสงก็มีเท่านี้ครับ แต่ในกระบวนการถ่ายนั้นยังไม่จบครับ ยังต้องรู้เรื่อง "การชดเชยแสง" ด้วย
จริงๆ แล้วเรื่องของการวัดแสงกับการชดเชยแสงนั้นจะถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เพราะทั้งสองอย่างนี้ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ แต่แยกหัวข้อดีกว่า เพราะเดี๋ยวมันจะยาวเกินไป
ปล. แล้วจะรีบทำข้อมูลเรื่อง "การชดเชยแสง" ให้ในเร็ววันครับ
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557
การวัดแสง (Light Metering) ตอน1
ในเรื่องของการวัดแสงนั้น ต้องทำความเข้าใจ 2-3 เรื่อง ซึ่งถ้าตั้งใจอ่านก็สามารถเข้าใจได้ เรื่องของการวัดแสงนั้นจริงๆ แล้วง่ายมาก
"ทำไมจึงคิดว่าการวัดแสง เป็นเรื่องง่ายล่ะ"
"เพราะทุกครั้งที่เราจะถ่ายรูป(ด้วยกล้องดิจิตอล) กล้องมันวัดแสงให้เรียบร้อยแล้วครับ มันวัดแสงอยู่ตลอดเวลาครับ" ต่างจากสมัยกล้องฟิมล์ ที่ต้องวัดแสงเอง
โดยส่วนมากของกล้องดิจิตอลนั้น มันจะวัดแสงแล้วล็อคค่าแสงทันทีเมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงหรือเรียกว่า "การโฟกัส" นั่นเอง พอโฟกัสแล้ว ไม่ว่าจะแพนกล้องอย่างไร ค่าแสงจะไม่เปลี่ยนแล้ว เพราะกล้องจะโฟกัสและล็อคค่าแสงไปในตัวเลย แล้วก็ถ่ายโดยการกดชัตเตอร์จนจมสุดตามปกติ
*** นั่นหมายความว่า คุณโฟกัสที่อะไร กล้องก็จะวัดและล็อคแสงที่ตรงนั้นทันที ***
หลักการข้อนี้สำคัญมาก ต้องเข้าใจน่ะครับ ไม่งั้นไปต่อไม่ได้ แต่กล้องดิจิตอลสมัยนี้ สามารถที่จะเลือก(ตั้งค่า)ได้ว่า เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง กล้องจะ...
1. โฟกัสอย่างเดียว ไม่ล็อคค่าแสง (ในกรณีนี้ เราจะเป็นคนเลือกเองว่าจะให้กล้องวัดแสงที่ไหน เพราะเราอาจไม่เอาค่าแสงที่จุดเดียวกับจุดที่เราโฟกัสก็ได้) หรือ...
2. ทั้งโฟกัสและล็อคค่าแสงทันที
แล้วแต่คน แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความชอบครับ.
*** อย่าลืมที่ผมบอกว่า กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา แค่เราเปิดกล้องขึ้นมา กล้องมันก็จะวัดแสงทันที เราแพนกล้องไปที่ไหน มันก็จะวัดแสงตรงนั้น ฉะนั้นเรามีหน้าที่แค่ "เลือกจุดที่จะให้กล้องวัดแสง" กับ "ล็อคค่าแสง" เท่านั้น ***
ในเบื้องต้นผมแนะนำว่าให้แยกปุ่มโฟกัสออกจากปุ่มล๊อคค่าแสงก่อน นั่นก็คือ จะวัดแสงก็กดปุ่มนึง จะโฟกัสก็กดอีกปุ่มนึง สำหรับกล้องนิคอนให้ล๊อคค่าแสงด้วยการกดปุ่ม AE-L แทน ส่วนการโฟกัส ก็โฟกัสด้วยปุ่มโฟกัสเหมือนเดิม ส่วนค่ายอื่นๆ ผมไม่ทราบครับ แต่คิดว่าในคู่มือทุกเล่มมีบอกไว้ครับ
ถามว่าทำไมเราต้องแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัส ?
เพราะบางครั้ง หรือหลายๆ ครั้ง จุดที่เราวัดแสงมันเป็นคนละจุด กับจุดที่เราต้องการโฟกัสนั่นเอง
ทีนี้เราลองมาดูวิธีการของการวัดแสงกัน
หลักการก็ง่ายมากครับ เราเล็งจุดโฟกัสไปที่อะไร กล้องมันก็จะวัดแสงตรงนั้น
จากรูปตัวอย่าง ผมจะให้แสงพอดีที่ "พระพุทธรูป" ก็ทำดังนี้ครับ
1. เอาจุดโฟกัสไปเล็งที่พระพุทธรูป กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงให้กล้องมันโฟกัส แล้วปล่อยชัตเตอร์
2. จากนั้นก็ล็อคค่าแสง(กดปุ่ม AE-L)
3. โฟกัสอีกที(กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง)
4. จัด Composition ใหม่ตามต้องการ
5. ถ่าย(กดชัตเตอร์จนสุด)
กรรมวิธีมันก็เท่านี้เองครับ อาจดูเหมือนวุ่นวาย แต่ง่ายมากๆ กระบวนการทั้งหมดนั้น เมื่อทำจนชินก็จะใช้เวลาแค่ 2-3 วินาทีเองครับ
มาถึงคำถามสำคัญที่สุดของเรื่องนี้
"ทำไมต้องมีการวัดแสง?"
"เพราะ กล้องถ่ายรูปไม่สามารถถ่ายทอดรูป ให้เหมือนที่ดวงตามนุษย์เห็นได้ การวัดแสงจึงเป็นการบอกให้กล้องทำงาน ให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับสิ่งที่มนุษย์เห็นมากที่สุด"
แต่ก่อนที่จะไปต่อเรื่องการวัดแสงนั้นก็ต้องเข้าใจ เรื่อง "ระบบวัดแสง" เสียก่อน
ใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบวัดแสง ตามไปอ่านเรื่องระบบวัดแสงที่
แนะนำว่าให้อ่านเรื่อง ระบบวัดแสงก่อน เพราะเนื้อหามันต่อเนื่องกัน
สำหรับเรื่องของการวัดแสงนั้น จะมีแค่ 2 ค่าหลักๆ เท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ
ขนาดรูรับแสง(F) กับ Shutter Speed(S)
2 ค่านี้ ถือเป็นหัวใจของการถ่ายรูปเลยทีเดียว มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
การวัดแสงนั้น ก็เพื่อให้ได้รูปที่มี ---> แสงพอดี
แสงพอดี ---> คือรูปที่ไม่สว่าง หรือมืดจนเกินไป เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมจริง
หากเขียนสมการ "แสงที่พอดี" คงเขียนได้ประมาณนี้ครับ
แสงที่พอดี = S & F (ให้ "&" หมายถึง "สัมพันธ์")
แสงที่พอดีนั้น กล้องมันคำนวณให้ครับ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า กล้องมันคำนวณยังไง
แต่สิ่งที่เราต้องรู้คือ "สถานการณ์แบบไหน ควรเลือกระบบวัดแสงยังไง และวัดแสงตรงไหน จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด"
ปล. White Balance กับ Picture Style เป็นระบบการจัดการเรื่องสีครับ ไม่เกี่ยวแสงนะ
ส่วน ISO นั้นเป็นทางเลือกครับ เช่น ในสภาพแสงน้อย Shutter Speed ไม่พอก็เอา ISO เข้ามาช่วย ซึ่งทุกคนคงเข้าใจเรื่อง ISO อยู่แล้ว คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง
เวลาถ่ายรูป หากใช้โหมด A คือเลือกขนาดรูรับแสงเอง ส่วน Shutter Speed(S) กล้องมันจะคำนวณให้ว่าต้องใช้ S เท่าไหร่
เช่น ผมตั้ง F ที่ 3.5 แล้วเล็งไปยังจุดที่จะถ่าย กล้องมันจะคำนวณ S ให้ทันที ซึ่งในที่นี้ก็คือ การวัดแสงให้พอดีในขณะนั้นๆ นั่นเอง สมมติว่า แสงที่พอดีในขณะนั้น สามารถระบุค่าได้ และระบุค่าได้เท่ากับ 10 กล้องมันก็สามารถจะคำนวณได้ว่า ในขณะนั้นต้องใช้ S เท่าไหร่ ถ้าตั้งสมการ ให้เห็นภาพคร่าวๆ ก็คงจะตั้งสมการได้ประมาณนี้ครับ
10 = 3.5 & S (เมื่อกล้องมันรู้ค่า F กล้องมันก็จะหาค่า S ได้เสมอ)
ในทางกลับกัน ถ้าเราถ่ายรูปด้วยโหมด S ซึ่งในที่นี้ก็คือ เราระบุค่า Shutter Speed เอง กล้องมันก็สามารถคำนวณได้ว่า ต้องใช้ F ที่เท่าไหร่ จึงจะได้ภาพที่ค่าแสงพอดีในขณะนั้นๆ
มาดูโหมด M กันบ้าง หากใช้โหมดนี้ ก็ต้องเลือกทั้ง F และ S เอง ระบบวัดแสงของกล้องมันก็จะคำนวณให้อีกว่า ค่าแสงที่เกิดจากการตั้ง F และ S ในขณะนั้นๆ "ได้ค่าแสงที่พอดีแล้วหรือยัง" โดยดูที่ Scale วัดแสงว่าอยู่ที่ 0 พอดีหรือไม่ หากยังไม่พอดี(น้อยหรือมากกว่า 0) เราก็ต้องปรับค่าใดค่าหนึ่ง(F หรือ S) หรือทั้งสองค่า ให้ค่าแสงพอดีก่อน จึงจะได้รูปที่ถูกต้อง
ในสภาวะปกตินั้น กล้องจะวัดแสงได้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะผิดพลาดได้เหมือนกัน ถ้า "สภาพแสงหรือสี" ในขณะนั้นไม่ปกติ เราจึงต้องอาศัยการชดเชยแสงเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ได้ค่าแสงที่ถูกต้อง
สภาวะไม่ปกติเป็นอย่างไร การชดเชยแสงคืออะไร ทำอย่างไร ใช้เมื่อไหร่ เดี๋ยวผมจะเขียนต่อในบทความต่อไปครับ สำหรับวันนี้เบรคไว้เท่านี้ก่อน...
"ทำไมจึงคิดว่าการวัดแสง เป็นเรื่องง่ายล่ะ"
"เพราะทุกครั้งที่เราจะถ่ายรูป(ด้วยกล้องดิจิตอล) กล้องมันวัดแสงให้เรียบร้อยแล้วครับ มันวัดแสงอยู่ตลอดเวลาครับ" ต่างจากสมัยกล้องฟิมล์ ที่ต้องวัดแสงเอง
โดยส่วนมากของกล้องดิจิตอลนั้น มันจะวัดแสงแล้วล็อคค่าแสงทันทีเมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงหรือเรียกว่า "การโฟกัส" นั่นเอง พอโฟกัสแล้ว ไม่ว่าจะแพนกล้องอย่างไร ค่าแสงจะไม่เปลี่ยนแล้ว เพราะกล้องจะโฟกัสและล็อคค่าแสงไปในตัวเลย แล้วก็ถ่ายโดยการกดชัตเตอร์จนจมสุดตามปกติ
*** นั่นหมายความว่า คุณโฟกัสที่อะไร กล้องก็จะวัดและล็อคแสงที่ตรงนั้นทันที ***
หลักการข้อนี้สำคัญมาก ต้องเข้าใจน่ะครับ ไม่งั้นไปต่อไม่ได้ แต่กล้องดิจิตอลสมัยนี้ สามารถที่จะเลือก(ตั้งค่า)ได้ว่า เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง กล้องจะ...
1. โฟกัสอย่างเดียว ไม่ล็อคค่าแสง (ในกรณีนี้ เราจะเป็นคนเลือกเองว่าจะให้กล้องวัดแสงที่ไหน เพราะเราอาจไม่เอาค่าแสงที่จุดเดียวกับจุดที่เราโฟกัสก็ได้) หรือ...
2. ทั้งโฟกัสและล็อคค่าแสงทันที
แล้วแต่คน แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความชอบครับ.
*** อย่าลืมที่ผมบอกว่า กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา แค่เราเปิดกล้องขึ้นมา กล้องมันก็จะวัดแสงทันที เราแพนกล้องไปที่ไหน มันก็จะวัดแสงตรงนั้น ฉะนั้นเรามีหน้าที่แค่ "เลือกจุดที่จะให้กล้องวัดแสง" กับ "ล็อคค่าแสง" เท่านั้น ***
ในเบื้องต้นผมแนะนำว่าให้แยกปุ่มโฟกัสออกจากปุ่มล๊อคค่าแสงก่อน นั่นก็คือ จะวัดแสงก็กดปุ่มนึง จะโฟกัสก็กดอีกปุ่มนึง สำหรับกล้องนิคอนให้ล๊อคค่าแสงด้วยการกดปุ่ม AE-L แทน ส่วนการโฟกัส ก็โฟกัสด้วยปุ่มโฟกัสเหมือนเดิม ส่วนค่ายอื่นๆ ผมไม่ทราบครับ แต่คิดว่าในคู่มือทุกเล่มมีบอกไว้ครับ
ถามว่าทำไมเราต้องแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัส ?
เพราะบางครั้ง หรือหลายๆ ครั้ง จุดที่เราวัดแสงมันเป็นคนละจุด กับจุดที่เราต้องการโฟกัสนั่นเอง
ทีนี้เราลองมาดูวิธีการของการวัดแสงกัน
หลักการก็ง่ายมากครับ เราเล็งจุดโฟกัสไปที่อะไร กล้องมันก็จะวัดแสงตรงนั้น
จากรูปตัวอย่าง ผมจะให้แสงพอดีที่ "พระพุทธรูป" ก็ทำดังนี้ครับ
1. เอาจุดโฟกัสไปเล็งที่พระพุทธรูป กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงให้กล้องมันโฟกัส แล้วปล่อยชัตเตอร์
2. จากนั้นก็ล็อคค่าแสง(กดปุ่ม AE-L)
3. โฟกัสอีกที(กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง)
4. จัด Composition ใหม่ตามต้องการ
5. ถ่าย(กดชัตเตอร์จนสุด)
กรรมวิธีมันก็เท่านี้เองครับ อาจดูเหมือนวุ่นวาย แต่ง่ายมากๆ กระบวนการทั้งหมดนั้น เมื่อทำจนชินก็จะใช้เวลาแค่ 2-3 วินาทีเองครับ
มาถึงคำถามสำคัญที่สุดของเรื่องนี้
"ทำไมต้องมีการวัดแสง?"
"เพราะ กล้องถ่ายรูปไม่สามารถถ่ายทอดรูป ให้เหมือนที่ดวงตามนุษย์เห็นได้ การวัดแสงจึงเป็นการบอกให้กล้องทำงาน ให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับสิ่งที่มนุษย์เห็นมากที่สุด"
แต่ก่อนที่จะไปต่อเรื่องการวัดแสงนั้นก็ต้องเข้าใจ เรื่อง "ระบบวัดแสง" เสียก่อน
ใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบวัดแสง ตามไปอ่านเรื่องระบบวัดแสงที่
แนะนำว่าให้อ่านเรื่อง ระบบวัดแสงก่อน เพราะเนื้อหามันต่อเนื่องกัน
สำหรับเรื่องของการวัดแสงนั้น จะมีแค่ 2 ค่าหลักๆ เท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ
ขนาดรูรับแสง(F) กับ Shutter Speed(S)
2 ค่านี้ ถือเป็นหัวใจของการถ่ายรูปเลยทีเดียว มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
การวัดแสงนั้น ก็เพื่อให้ได้รูปที่มี ---> แสงพอดี
แสงพอดี ---> คือรูปที่ไม่สว่าง หรือมืดจนเกินไป เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมจริง
หากเขียนสมการ "แสงที่พอดี" คงเขียนได้ประมาณนี้ครับ
แสงที่พอดี = S & F (ให้ "&" หมายถึง "สัมพันธ์")
แสงที่พอดีนั้น กล้องมันคำนวณให้ครับ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า กล้องมันคำนวณยังไง
แต่สิ่งที่เราต้องรู้คือ "สถานการณ์แบบไหน ควรเลือกระบบวัดแสงยังไง และวัดแสงตรงไหน จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด"
ปล. White Balance กับ Picture Style เป็นระบบการจัดการเรื่องสีครับ ไม่เกี่ยวแสงนะ
ส่วน ISO นั้นเป็นทางเลือกครับ เช่น ในสภาพแสงน้อย Shutter Speed ไม่พอก็เอา ISO เข้ามาช่วย ซึ่งทุกคนคงเข้าใจเรื่อง ISO อยู่แล้ว คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง
เวลาถ่ายรูป หากใช้โหมด A คือเลือกขนาดรูรับแสงเอง ส่วน Shutter Speed(S) กล้องมันจะคำนวณให้ว่าต้องใช้ S เท่าไหร่
เช่น ผมตั้ง F ที่ 3.5 แล้วเล็งไปยังจุดที่จะถ่าย กล้องมันจะคำนวณ S ให้ทันที ซึ่งในที่นี้ก็คือ การวัดแสงให้พอดีในขณะนั้นๆ นั่นเอง สมมติว่า แสงที่พอดีในขณะนั้น สามารถระบุค่าได้ และระบุค่าได้เท่ากับ 10 กล้องมันก็สามารถจะคำนวณได้ว่า ในขณะนั้นต้องใช้ S เท่าไหร่ ถ้าตั้งสมการ ให้เห็นภาพคร่าวๆ ก็คงจะตั้งสมการได้ประมาณนี้ครับ
10 = 3.5 & S (เมื่อกล้องมันรู้ค่า F กล้องมันก็จะหาค่า S ได้เสมอ)
ในทางกลับกัน ถ้าเราถ่ายรูปด้วยโหมด S ซึ่งในที่นี้ก็คือ เราระบุค่า Shutter Speed เอง กล้องมันก็สามารถคำนวณได้ว่า ต้องใช้ F ที่เท่าไหร่ จึงจะได้ภาพที่ค่าแสงพอดีในขณะนั้นๆ
มาดูโหมด M กันบ้าง หากใช้โหมดนี้ ก็ต้องเลือกทั้ง F และ S เอง ระบบวัดแสงของกล้องมันก็จะคำนวณให้อีกว่า ค่าแสงที่เกิดจากการตั้ง F และ S ในขณะนั้นๆ "ได้ค่าแสงที่พอดีแล้วหรือยัง" โดยดูที่ Scale วัดแสงว่าอยู่ที่ 0 พอดีหรือไม่ หากยังไม่พอดี(น้อยหรือมากกว่า 0) เราก็ต้องปรับค่าใดค่าหนึ่ง(F หรือ S) หรือทั้งสองค่า ให้ค่าแสงพอดีก่อน จึงจะได้รูปที่ถูกต้อง
ในสภาวะปกตินั้น กล้องจะวัดแสงได้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะผิดพลาดได้เหมือนกัน ถ้า "สภาพแสงหรือสี" ในขณะนั้นไม่ปกติ เราจึงต้องอาศัยการชดเชยแสงเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ได้ค่าแสงที่ถูกต้อง
สภาวะไม่ปกติเป็นอย่างไร การชดเชยแสงคืออะไร ทำอย่างไร ใช้เมื่อไหร่ เดี๋ยวผมจะเขียนต่อในบทความต่อไปครับ สำหรับวันนี้เบรคไว้เท่านี้ก่อน...
วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ระบบวัดแสงของกล้อง
ระบบวัดแสงของกล้องจะมีหน้าที่คำนวณหาค่า สปีดชัตเตอร์(Shutter Speed)(S) กับ ขนาดรูรับแสง(Aperture)(F) ให้เหมาะสมกับสภาพแสงในขณะนั้นๆ
หากเราตั้งโหมด A ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า S
หากเราตั้งโหมด S ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า F
หากเราตั้งโหมด M ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณให้ว่า ค่าที่ตั้งอยู่ในขณะนั้นเหมาะสมแล้วยัง มืดหรือสว่างไป(ดูที่สเกลวัดแสง)
ปล. ข้อมูลใน Blog อ้างอิงจากกล้อง Nikon นะครับ ค่ายอื่นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างบางจุด
ก่อนจะพูดถึงระบบวัดแสง มาพูดถึงรูปก่อน กล้องจะมองเห็นรูปต่างจากตาของเราครับ คือ กล้องจะไม่มองสีสันต่างๆ แต่จะมองในลักษณะสีขาวดำ (เทากลาง) ที่มีความสว่างและมืดต่างกันไปในแต่ละ pixels
รูปตัวอย่าง ผมทำพิกเซลให้ใหญ่ เพื่อจะได้เห็นชัด จริงๆแล้วจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม จุดเล็กมากๆ
ระบบวัดแสงของ Nikon มี 3 แบบคือ
- 3D Matrix Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ ระบบนี้กล้องจะวัดความมืดความสว่างของทั้งภาพ แล้วนำค่าความมืดความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน
- Center-Weighted Metering แบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ เน้นในส่วนกลางภาพประมาณ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ อีกประมาณ 25%
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด กล้องจะวัดแสงเฉพาะในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยไม่เฉลี่ยพื้นที่รอบๆ เลย
ส่วนของ Canon นั้น ผมหาข้อมูลมา มี 4 แบบคือ
- Evaluative Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมือนระบบ Matrix ของ Nikon
- Partial Metering แบบเฉพาะส่วน ระบบนี้ กล้องจะนำพื้นที่กลางรูป(ขนาดใหญ่) ไปคำนวณเท่านั้น
(คล้ายกับ Center-weighted average แต่ไม่คิดพื้นที่รอบนอก...)
- Center-weighted average Metering เหมือนระบบ Center-Weighted ของ Nikon
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด เหมือนระบบ Spot ของ Nikon(ประมาณ 4% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มาดูกันว่า ระบบวัดแสงแบบต่างๆ กล้องจะใช้พื้นที่ในการคำนวณอย่างไร
1. 3D Matrix Metering, Evaluative Metering สำหรับระบบนี้ พูดสั้นๆ ว่า "เอาพื้นที่ทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณนั่นเอง"
2. Partial Metering จะนำพื้นที่ส่วนกลางภาพ(ขนาดใหญ่) มาใช้คำนวณเท่านั้น...
3. Center-Weighted Metering, Center-weighted average Metering ระบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ ระบบนี้กล้องจะให้ความสำคัญกับพื้นที่กลางภาพสูง(ประมาณ 75%) แต่ก็เอาพื้นที่รอบๆ มาใช้ในการคำนวณด้วย(ประมาณ 25%) โดยให้ความสำคัญรองลงมา
4. Spot Metering ระบบนี้จะใช้พื้นที่ขนาดเล็ก "เป็นตัวแทนของพื้นที่ภาพทั้งหมด" ที่จะใช้ในการคำนวณ
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง... ว่ารูปแบบไหน ควรใช้ระบบวัดแสงแบบไหน...
ปล. ระบบวัดแสงทุกระบบสามารถให้ผลลัพธ์ได้เหมือนกัน ถ้าใช้ควบคู่ไปกับ "การชดเชยแสง"
แต่มาถึงตรงนี้ ก็คงจะพอนึกภาพออกกันบ้างแล้ว ว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไร ทีนี้... มาดูตัวอย่างแรกกันเลย... รูปลักษณะนี้ ใช้ Center-Weighted น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงมากที่สุด...
เลือก Center-Weighted แล้ววัดแสงที่ดอกไม้เลย
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Center-Weighted
ใช้ Center-Weighted วัดแสงที่พระพุทธรูปได้เลย จากรูปนี้... จะใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot ก็ได้ครับ แต่ต้องเลือกจุดวัดแสงแม่นๆ หน่อย...ถ้าจะใช้ Spot ก็จิ้มไปตรงไหล่พระพุทธรูปเลยครับ ให้ติดส่วนที่เป็นสีขาวกับสีดำมาอย่างละครึ่ง... น่าจะได้รูปที่พอดี
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Spot
สำหรับระบบวัดแสงนั้น... จะเลือกโหมดไหนก็ไม่ผิดครับ แต่ต้องเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ ถ้าใช้โหมดวัดแสงต่างกัน "ก็ให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน ก็ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรง... ถ้าจะให้ตรงก็ต้องช่วยด้วยการ "ชดเชยแสง"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอยู่แล้ว ไม่ต้องชดเชยแสงเลย"
ทุกอย่างแล้วแต่สถานการณ์ครับ
รูปล่างนี้ เป็นรูปที่ได้รับแสงเท่าๆ กัน... โทนสีโดยรวม เมื่อเทียบกับสีเท่ากลางก็น่าจะพอดี... ไม่มืดหรือสว่างเกินไป...เจอรูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering ได้เลยครับ
รูปที่จุดเด่นโดนแสงน้อย เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมโดยรวม รูปลักษณะนี้ ใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด
จิ้มไปที่หน้าของผู้หญิงเลยครับ...หรือจะวัดที่ข้างๆ เสื้อของผู้หญิงก็ได้... ให้โดนส่วนมืดและส่วนสว่างพอๆ กัน ก็น่าจะได้แสงที่ถูกต้อง
รูปล่างนี้ สภาพแสงโดยรวมเท่ากันทั้งรูป รูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering อีกแล้วครับหรือจะใช้ Center-Weighted ก็น่าจะไม่ผิดโดยวัดที่เต๊นท์ขวามือ
หากเจอรูปลักษณะนี้ ง่ายมากเลยครับ ไม่ต้องคิดมาก จุดเด่น(หัวเสือ) อยู่กลางภาพ และมีขนาดพื้นที่พอๆ กับ Center-Weighted ก็ใช้ Center-Weighted ได้เลย
สังเกตไหมว่าหลายๆ ตัวอย่างข้างบน ผมจะพูดว่ารูปนี้สมควรใช้ระบบนี้ แต่ถ้าจะใช้อีกระบบ ก็น่าจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน...นั่นหมายความว่า ถ้าหากเข้าใจการทำงานของระบบวัดแสงมากขึ้นแล้ว ก็แทบไม่ต้องเปลี่ยนระบบวัดแสงเลย... เพียงแต่เลือกจุดที่จะวัดแสงให้เหมาะสมเท่านั้นเอง
ผมเลือกใช้ระบบวัดแสงแบบ Center-Weighted เป็นหลัก
75% ของรูปที่ผมถ่าย แสงพอดีครับ ไม่ต้องชดเชยแสงเลย
อีกราว 20% ต้องชดเชยเพราะระบบ Center-Weighted เอาไม่อยู่
อีกราว 5% ต้องชดเชยเพราะอยากได้รูปอย่างที่ชอบ (มืด/สว่าง กว่าปกติ)
คำถามสุดท้าย ถ้าหากท่านอยากได้รูปออกมาแบบนี้ จะเลือกวัดแสงแบบไหน
ผมเลือก Center-Weighted ครับ
แต่ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้แบบไหน ก็สามารถที่จะให้ผลลัพธ์เหมือนกันได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกชดเชยแสง และการวัดแสงให้ถูกจุด แค่นั้นเองครับ แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันจะช่วยให้เราถ่ายภาพตามต้องการได้ไวขึ้น โดยไม่ต้อง ถ่ายหลายๆครั้ง เพราะถ้าเราเลือกระบบวัดแสงได้เหมาะสมกับสถานการณ์ แทบจะไม่ต้องมีการชดเชยแสงเลยก็ว่าได้
ครั้งต่อไปจะพูดถึงการวัดแสงอีกนะครับ ยังมีสิ่งที่ต้องรู้อีกมากครับ ผมเองก็กำลังศึกษาอยู่
ข้อมูลที่นำมานี้ ได้จากการสรุปความจากที่ศึกษามาเช่นกันครับ เพื่อให้มือใหม่ที่เข้ามาอ่าน
สามารถเข้าใจได้ง่ายครับ
หากเราตั้งโหมด A ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า S
หากเราตั้งโหมด S ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า F
หากเราตั้งโหมด M ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณให้ว่า ค่าที่ตั้งอยู่ในขณะนั้นเหมาะสมแล้วยัง มืดหรือสว่างไป(ดูที่สเกลวัดแสง)
ปล. ข้อมูลใน Blog อ้างอิงจากกล้อง Nikon นะครับ ค่ายอื่นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างบางจุด
ก่อนจะพูดถึงระบบวัดแสง มาพูดถึงรูปก่อน กล้องจะมองเห็นรูปต่างจากตาของเราครับ คือ กล้องจะไม่มองสีสันต่างๆ แต่จะมองในลักษณะสีขาวดำ (เทากลาง) ที่มีความสว่างและมืดต่างกันไปในแต่ละ pixels
รูปตัวอย่าง ผมทำพิกเซลให้ใหญ่ เพื่อจะได้เห็นชัด จริงๆแล้วจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม จุดเล็กมากๆ
ระบบวัดแสงของ Nikon มี 3 แบบคือ
- 3D Matrix Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ ระบบนี้กล้องจะวัดความมืดความสว่างของทั้งภาพ แล้วนำค่าความมืดความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน
- Center-Weighted Metering แบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ เน้นในส่วนกลางภาพประมาณ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ อีกประมาณ 25%
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด กล้องจะวัดแสงเฉพาะในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยไม่เฉลี่ยพื้นที่รอบๆ เลย
ส่วนของ Canon นั้น ผมหาข้อมูลมา มี 4 แบบคือ
- Evaluative Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมือนระบบ Matrix ของ Nikon
- Partial Metering แบบเฉพาะส่วน ระบบนี้ กล้องจะนำพื้นที่กลางรูป(ขนาดใหญ่) ไปคำนวณเท่านั้น
(คล้ายกับ Center-weighted average แต่ไม่คิดพื้นที่รอบนอก...)
- Center-weighted average Metering เหมือนระบบ Center-Weighted ของ Nikon
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด เหมือนระบบ Spot ของ Nikon(ประมาณ 4% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มาดูกันว่า ระบบวัดแสงแบบต่างๆ กล้องจะใช้พื้นที่ในการคำนวณอย่างไร
1. 3D Matrix Metering, Evaluative Metering สำหรับระบบนี้ พูดสั้นๆ ว่า "เอาพื้นที่ทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณนั่นเอง"
2. Partial Metering จะนำพื้นที่ส่วนกลางภาพ(ขนาดใหญ่) มาใช้คำนวณเท่านั้น...
3. Center-Weighted Metering, Center-weighted average Metering ระบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ ระบบนี้กล้องจะให้ความสำคัญกับพื้นที่กลางภาพสูง(ประมาณ 75%) แต่ก็เอาพื้นที่รอบๆ มาใช้ในการคำนวณด้วย(ประมาณ 25%) โดยให้ความสำคัญรองลงมา
4. Spot Metering ระบบนี้จะใช้พื้นที่ขนาดเล็ก "เป็นตัวแทนของพื้นที่ภาพทั้งหมด" ที่จะใช้ในการคำนวณ
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง... ว่ารูปแบบไหน ควรใช้ระบบวัดแสงแบบไหน...
ปล. ระบบวัดแสงทุกระบบสามารถให้ผลลัพธ์ได้เหมือนกัน ถ้าใช้ควบคู่ไปกับ "การชดเชยแสง"
แต่มาถึงตรงนี้ ก็คงจะพอนึกภาพออกกันบ้างแล้ว ว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไร ทีนี้... มาดูตัวอย่างแรกกันเลย... รูปลักษณะนี้ ใช้ Center-Weighted น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงมากที่สุด...
เลือก Center-Weighted แล้ววัดแสงที่ดอกไม้เลย
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Center-Weighted
ใช้ Center-Weighted วัดแสงที่พระพุทธรูปได้เลย จากรูปนี้... จะใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot ก็ได้ครับ แต่ต้องเลือกจุดวัดแสงแม่นๆ หน่อย...ถ้าจะใช้ Spot ก็จิ้มไปตรงไหล่พระพุทธรูปเลยครับ ให้ติดส่วนที่เป็นสีขาวกับสีดำมาอย่างละครึ่ง... น่าจะได้รูปที่พอดี
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Spot
สำหรับระบบวัดแสงนั้น... จะเลือกโหมดไหนก็ไม่ผิดครับ แต่ต้องเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ ถ้าใช้โหมดวัดแสงต่างกัน "ก็ให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน ก็ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรง... ถ้าจะให้ตรงก็ต้องช่วยด้วยการ "ชดเชยแสง"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอยู่แล้ว ไม่ต้องชดเชยแสงเลย"
ทุกอย่างแล้วแต่สถานการณ์ครับ
รูปล่างนี้ เป็นรูปที่ได้รับแสงเท่าๆ กัน... โทนสีโดยรวม เมื่อเทียบกับสีเท่ากลางก็น่าจะพอดี... ไม่มืดหรือสว่างเกินไป...เจอรูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering ได้เลยครับ
รูปที่จุดเด่นโดนแสงน้อย เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมโดยรวม รูปลักษณะนี้ ใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด
จิ้มไปที่หน้าของผู้หญิงเลยครับ...หรือจะวัดที่ข้างๆ เสื้อของผู้หญิงก็ได้... ให้โดนส่วนมืดและส่วนสว่างพอๆ กัน ก็น่าจะได้แสงที่ถูกต้อง
รูปล่างนี้ สภาพแสงโดยรวมเท่ากันทั้งรูป รูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering อีกแล้วครับหรือจะใช้ Center-Weighted ก็น่าจะไม่ผิดโดยวัดที่เต๊นท์ขวามือ
หากเจอรูปลักษณะนี้ ง่ายมากเลยครับ ไม่ต้องคิดมาก จุดเด่น(หัวเสือ) อยู่กลางภาพ และมีขนาดพื้นที่พอๆ กับ Center-Weighted ก็ใช้ Center-Weighted ได้เลย
สังเกตไหมว่าหลายๆ ตัวอย่างข้างบน ผมจะพูดว่ารูปนี้สมควรใช้ระบบนี้ แต่ถ้าจะใช้อีกระบบ ก็น่าจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน...นั่นหมายความว่า ถ้าหากเข้าใจการทำงานของระบบวัดแสงมากขึ้นแล้ว ก็แทบไม่ต้องเปลี่ยนระบบวัดแสงเลย... เพียงแต่เลือกจุดที่จะวัดแสงให้เหมาะสมเท่านั้นเอง
ผมเลือกใช้ระบบวัดแสงแบบ Center-Weighted เป็นหลัก
75% ของรูปที่ผมถ่าย แสงพอดีครับ ไม่ต้องชดเชยแสงเลย
อีกราว 20% ต้องชดเชยเพราะระบบ Center-Weighted เอาไม่อยู่
อีกราว 5% ต้องชดเชยเพราะอยากได้รูปอย่างที่ชอบ (มืด/สว่าง กว่าปกติ)
คำถามสุดท้าย ถ้าหากท่านอยากได้รูปออกมาแบบนี้ จะเลือกวัดแสงแบบไหน
ผมเลือก Center-Weighted ครับ
แต่ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้แบบไหน ก็สามารถที่จะให้ผลลัพธ์เหมือนกันได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกชดเชยแสง และการวัดแสงให้ถูกจุด แค่นั้นเองครับ แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันจะช่วยให้เราถ่ายภาพตามต้องการได้ไวขึ้น โดยไม่ต้อง ถ่ายหลายๆครั้ง เพราะถ้าเราเลือกระบบวัดแสงได้เหมาะสมกับสถานการณ์ แทบจะไม่ต้องมีการชดเชยแสงเลยก็ว่าได้
ครั้งต่อไปจะพูดถึงการวัดแสงอีกนะครับ ยังมีสิ่งที่ต้องรู้อีกมากครับ ผมเองก็กำลังศึกษาอยู่
ข้อมูลที่นำมานี้ ได้จากการสรุปความจากที่ศึกษามาเช่นกันครับ เพื่อให้มือใหม่ที่เข้ามาอ่าน
สามารถเข้าใจได้ง่ายครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)