สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรงเลยก็คือ แสง
แสงสำหรับการถ่ายรูปแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
1. แสงจากธรรมชาติ มาจากดวงอาทิตย์เป็นหลัก
2. แสงประดิษฐ์ เช่น หลอดนีออน, หลอดหัวกลม, แฟลช เป็นต้น
แสงแต่ละแบบ แต่ละชนิดจะมี "ความยาวคลื่นแสง" ที่ไม่เท่ากันและความยาวคลื่นแสงแต่ละช่วง มันก็จะมีสีจำเพาะของมัน กล้องถ่ายรูปเลยมี "White Balance" เอาไว้จัดการเรื่องสีของแสง ในลักษณะต่างๆ ถ่ายรูปภายใต้สภาพแสงแบบไหนก็ตั้ง White Balance เป็นแบบนั้นได้เลย
หลักการทำงานของ White Balance ก็ง่ายมาก มันอมสีอะไร ก็เอาคู่สีตรงข้ามใส่เข้าไป
หลักการเหมือนใส่ Filter แก้สีนั่นเอง ส่วนคนที่ยังไม่รู้ว่า คู่สีตรงข้ามคืออะไรก็ ตามไปอ่าน "ทฤษฎีสี" ก่อนนะครับ จะทำให้เข้าใจเรื่อง White Balance ได้ง่ายขึ้น
http://dtworkgroup.blogspot.com/2014/10/blog-post.html
ปล.ข้อมูลชุดนี้ เขียนขึ้นโดยการใช้กล้องของ Nikon เป็นหลัก ผมไม่ทราบกล้องค่ายอื่น White Balance มีอะไรที่ผิดแผก แตกต่างกันมากน้อยขนาดไหน ใครใช้ค่ายอื่น ขอให้อ่านแบบจับใจความแล้วกันนะครับ เพราะไม่ว่าจะใช้ค่ายไหน ใจความหลักก็คงเหมือนกัน
ทีนี้เราลองมาดู White Balance แบบต่างๆ กันบ้าง
1. Auto --> ระบบนี้กล้องจะเลือกให้เองว่าจะตั้ง White Balance แบบไหน
2. Incandescent --> หลอดหัวกลมที่มีไฟสีส้มๆ นั่นแหละครับ
3. Fluorescent --> หลอดผอม หรือที่เราเรียกติดปากว่าหลอดนีออน
4. Direct sunlight --> แสงจากดวงอาทิตย์
5. Flash --> แสงจาก Flash
6. Cloudy --> เมฆมาก หรือแสงแดดน้อย
7. Shade --> บริเวณที่อยู่ในเงา
8. Color temp(K) --> เลือกอุณหภูมิสีเอง(บางรุ่นไม่มี)
วิธีการใช้ก็ง่ายมากครับ เราอยู่ภายใต้สภาพแสงแบบไหน ก็ตั้ง White Balance เป็นชนิดนั้นๆ
เช่นถ่ายวิวกลางแดด ก็ตั้ง White Balance เป็น Direct sunlight
ถ่ายในห้องที่ใช้หลอดหัวกลมก็ตั้ง White Balance เป็น Incandescent เป็นต้น
***White Balance ตั้งแต่ข้อ 2-7 ผมจะเรียกว่า "White Balance สำเร็จรูป"
สำหรับ White Balance แบบ "Color temp(K)" นั้นจะมีช่วงอุณหภูมิสีต่างๆ ให้เลือกมากมาย มันจะเริ่มที่ 2500K แล้วเพิ่มขึ้นเป็นช่วงๆ จนถึง 10000K ซึ่งแต่ละช่วง มันจะให้สีที่แตกต่างกัน
ส่วน White Balance สำเร็จรูปแบบต่างๆ นั้น... จริงๆ แล้วก็เลือกเอามาจากส่วนหนึ่งของ Color temp(K) นั่นเอง โดยเลือกเอา ช่วงแสงที่ใช้บ่อยๆ... แล้วทำเป็น White Balance แบบต่างๆ
ยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพชัดๆ...
สมมติว่า White Balance แบบ Direct sunlight มีอุณหภูมิสีที่ 6000K...
นั่นหมายความว่า เราจะเลือก White Balance แบบ "Direct sunlight" หรือเลือก "Color temp ที่ 6000K" ก็จะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างกันบ้าง...รูปนี้ถ่ายพระพุทธรูปในโบสถ์ ภายในติดตั้งไฟสีส้ม ซึ่งไม่แน่ใจว่ามันเป็นหลอดไฟแบบไหน แต่แสงไฟสีส้มๆ แบบนี้ ตั้ง White Balance แบบ Incandescent น่าจะตรงที่สุด...ภาพตัวอย่างถ่ายมาด้วย White Balance แบบต่างๆ (ยกเว้นแบบ Color temp)ได้ผลัพธ์ดังนี้
ภายในห้องที่ติดหลอด Fluorescent ชนิด Day white Fluorescent...
ลองถ่ายด้วย White Balance แบบต่างจนหมด แล้วมาดูผลลัพธ์กันว่าเป็นอย่างไร
รูปนี้ถ่ายด้วย White Balance แบบ
- Auto
- Incandescent
- Fluorescent (Nikon ให้มา 7 แบบ)
ส่วนรูปต่อไปถ่ายด้วย White Balance แบบ
- Direct sunlight
- Flash
- Cloudy
- Shade
ได้ผลลัพธ์ตามที่เห็นเลยครับ
จะยังไม่พูดถึง White Balance แบบ Color temp(K) นะครับ เอาไว้ก่อน
ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดนิดหน่อยแบบ ใช้ White Balance แล้ว สียังไม่ได้
เราสามารถแก้สีได้ด้วยการ Shift สี
ตัวอย่างต่อไปนี้ มาจาก กล้อง D90 นะครับ รุ่นอื่นก็หลักการเดียวกัน
รูปที่ 1 เป็นตารางให้เลือกสี
A = Amber --> สีอำพัน
M = Magenta --> สีม่วงอมชมพู
B = Blue --> สีน้ำเงิน
G = Green --> สีเขียว
Amber กับ Blue จะอยู่ในแกน x ส่วน
Green กับ Magenta จะอยู่ในแกน y
รูปที่ 2
ทดลอง Shift สีไปยังจุดต่างๆ ดู จะเห็นว่าค่า A-B, G-M ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามจุดสีที่เรา Shift ไปวางไว้
รูปที่ 3
หลักการ Shift สีก็ง่ายมากครับ
รูปที่สีเพี้ยน มันอมสีอะไรอยู่ เราก็ Shift สีไปฝั่งตรงข้าม
สมมติว่า รูปที่ถ่ายมา มันอมสีฟ้า ประมาณ "สี" ที่ผมตีกรอบไว้
รูปที่ 4
ก็ Shift สีไปฝั่งตรงข้าม
ตัวอย่างตามลูกศรเลยครับ
จากรูปตัวอย่างด้านบน ที่ถ่ายด้วย White Balance แบบ "Fluorescent ชนิด Day white"รูปมันอมฟ้า(มุมบนขวา) ไม่เหมือนของจริง เรียกว่าเกิด Error นิดหน่อย
เราก็แก้ด้วยการ Shift สีไปทางฝั่งตรงข้ามซึ่งในที่นี้ก็คือ Shift ไปปทางด้านสีม่วงอมชมพู(รูปมุมซ้ายล่าง) มันจะทำให้ภาพ ได้สีที่ถูกต้องมากขึ้น จะเห็นว่ารูปมีสีขาวขึ้น...
ปล. การ Shift สีไปยังสีตรงข้ามนั้นก็คือการเลือกคู่สีแบบ "Complementary" ในบทความเรื่อง "วงจรสี" นั่นเอง
สำหรับวันนี้เอาไว้แค่นี้ก่อนนะครับ วันหน้าจะพูดถึง White Balance แบบ Color temp(K) ที่ค้างเอาไว้
สำหรับมือใหม่ ก้ลองเอาไปฝึกดูนะครับ แรกๆอาจจะติดขัด ต่อไปมันจะเป็นโดยอัตโนมัติครับ
บางท่านอาจจะไม่ซีเรียส เพราะโปรแกรมสมัยนี้ก็สามารถแก้ White Balance ได้ง่ายๆ
เราเพียงศึกษาไว้เป็นแนวทาง และลดเวลาการทำงานลงเท่านั้นเองครับ
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น