...

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ระบบวัดแสงของกล้อง

ระบบวัดแสงของกล้องจะมีหน้าที่คำนวณหาค่า สปีดชัตเตอร์(Shutter Speed)(S) กับ ขนาดรูรับแสง(Aperture)(F) ให้เหมาะสมกับสภาพแสงในขณะนั้นๆ
หากเราตั้งโหมด A ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า S
หากเราตั้งโหมด S ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า F
หากเราตั้งโหมด M ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณให้ว่า ค่าที่ตั้งอยู่ในขณะนั้นเหมาะสมแล้วยัง มืดหรือสว่างไป(ดูที่สเกลวัดแสง)
ปล. ข้อมูลใน Blog อ้างอิงจากกล้อง Nikon นะครับ ค่ายอื่นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างบางจุด

ก่อนจะพูดถึงระบบวัดแสง มาพูดถึงรูปก่อน กล้องจะมองเห็นรูปต่างจากตาของเราครับ คือ กล้องจะไม่มองสีสันต่างๆ แต่จะมองในลักษณะสีขาวดำ (เทากลาง) ที่มีความสว่างและมืดต่างกันไปในแต่ละ pixels
รูปตัวอย่าง ผมทำพิกเซลให้ใหญ่ เพื่อจะได้เห็นชัด จริงๆแล้วจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม จุดเล็กมากๆ

ระบบวัดแสงของ Nikon มี 3 แบบคือ

- 3D Matrix Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ ระบบนี้กล้องจะวัดความมืดความสว่างของทั้งภาพ แล้วนำค่าความมืดความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน

- Center-Weighted Metering แบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ เน้นในส่วนกลางภาพประมาณ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ อีกประมาณ 25%

- Spot Metering แบบเฉพาะจุด กล้องจะวัดแสงเฉพาะในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยไม่เฉลี่ยพื้นที่รอบๆ เลย


ส่วนของ Canon นั้น ผมหาข้อมูลมา มี 4 แบบคือ

- Evaluative Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมือนระบบ Matrix ของ Nikon

- Partial Metering แบบเฉพาะส่วน ระบบนี้ กล้องจะนำพื้นที่กลางรูป(ขนาดใหญ่) ไปคำนวณเท่านั้น
(คล้ายกับ Center-weighted average แต่ไม่คิดพื้นที่รอบนอก...)

- Center-weighted average Metering เหมือนระบบ Center-Weighted ของ Nikon

- Spot Metering แบบเฉพาะจุด เหมือนระบบ Spot ของ Nikon(ประมาณ 4% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)


เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มาดูกันว่า ระบบวัดแสงแบบต่างๆ กล้องจะใช้พื้นที่ในการคำนวณอย่างไร
1. 3D Matrix Metering, Evaluative Metering สำหรับระบบนี้ พูดสั้นๆ ว่า "เอาพื้นที่ทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณนั่นเอง"

 2. Partial Metering จะนำพื้นที่ส่วนกลางภาพ(ขนาดใหญ่) มาใช้คำนวณเท่านั้น...
 3. Center-Weighted Metering, Center-weighted average Metering ระบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ ระบบนี้กล้องจะให้ความสำคัญกับพื้นที่กลางภาพสูง(ประมาณ 75%) แต่ก็เอาพื้นที่รอบๆ มาใช้ในการคำนวณด้วย(ประมาณ 25%) โดยให้ความสำคัญรองลงมา

4. Spot Metering ระบบนี้จะใช้พื้นที่ขนาดเล็ก "เป็นตัวแทนของพื้นที่ภาพทั้งหมด" ที่จะใช้ในการคำนวณ
 ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง... ว่ารูปแบบไหน ควรใช้ระบบวัดแสงแบบไหน...
ปล. ระบบวัดแสงทุกระบบสามารถให้ผลลัพธ์ได้เหมือนกัน ถ้าใช้ควบคู่ไปกับ "การชดเชยแสง"

แต่มาถึงตรงนี้ ก็คงจะพอนึกภาพออกกันบ้างแล้ว ว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไร ทีนี้... มาดูตัวอย่างแรกกันเลย... รูปลักษณะนี้ ใช้ Center-Weighted น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงมากที่สุด...
 เลือก Center-Weighted แล้ววัดแสงที่ดอกไม้เลย

รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Center-Weighted
ใช้  Center-Weighted วัดแสงที่พระพุทธรูปได้เลย จากรูปนี้... จะใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot ก็ได้ครับ แต่ต้องเลือกจุดวัดแสงแม่นๆ หน่อย...ถ้าจะใช้ Spot ก็จิ้มไปตรงไหล่พระพุทธรูปเลยครับ ให้ติดส่วนที่เป็นสีขาวกับสีดำมาอย่างละครึ่ง... น่าจะได้รูปที่พอดี
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Spot




สำหรับระบบวัดแสงนั้น... จะเลือกโหมดไหนก็ไม่ผิดครับ แต่ต้องเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ ถ้าใช้โหมดวัดแสงต่างกัน "ก็ให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน ก็ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรง... ถ้าจะให้ตรงก็ต้องช่วยด้วยการ "ชดเชยแสง"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอยู่แล้ว ไม่ต้องชดเชยแสงเลย"
ทุกอย่างแล้วแต่สถานการณ์ครับ


รูปล่างนี้ เป็นรูปที่ได้รับแสงเท่าๆ กัน... โทนสีโดยรวม เมื่อเทียบกับสีเท่ากลางก็น่าจะพอดี... ไม่มืดหรือสว่างเกินไป...เจอรูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering ได้เลยครับ





รูปที่จุดเด่นโดนแสงน้อย เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมโดยรวม รูปลักษณะนี้ ใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด

 จิ้มไปที่หน้าของผู้หญิงเลยครับ...หรือจะวัดที่ข้างๆ เสื้อของผู้หญิงก็ได้... ให้โดนส่วนมืดและส่วนสว่างพอๆ กัน ก็น่าจะได้แสงที่ถูกต้อง

รูปล่างนี้ สภาพแสงโดยรวมเท่ากันทั้งรูป รูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering อีกแล้วครับหรือจะใช้ Center-Weighted ก็น่าจะไม่ผิดโดยวัดที่เต๊นท์ขวามือ


หากเจอรูปลักษณะนี้ ง่ายมากเลยครับ ไม่ต้องคิดมาก จุดเด่น(หัวเสือ) อยู่กลางภาพ และมีขนาดพื้นที่พอๆ กับ Center-Weighted ก็ใช้ Center-Weighted ได้เลย


สังเกตไหมว่าหลายๆ ตัวอย่างข้างบน ผมจะพูดว่ารูปนี้สมควรใช้ระบบนี้ แต่ถ้าจะใช้อีกระบบ ก็น่าจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน...นั่นหมายความว่า ถ้าหากเข้าใจการทำงานของระบบวัดแสงมากขึ้นแล้ว ก็แทบไม่ต้องเปลี่ยนระบบวัดแสงเลย... เพียงแต่เลือกจุดที่จะวัดแสงให้เหมาะสมเท่านั้นเอง
ผมเลือกใช้ระบบวัดแสงแบบ Center-Weighted เป็นหลัก
75% ของรูปที่ผมถ่าย แสงพอดีครับ ไม่ต้องชดเชยแสงเลย
อีกราว 20% ต้องชดเชยเพราะระบบ Center-Weighted เอาไม่อยู่
อีกราว 5% ต้องชดเชยเพราะอยากได้รูปอย่างที่ชอบ (มืด/สว่าง กว่าปกติ)

คำถามสุดท้าย ถ้าหากท่านอยากได้รูปออกมาแบบนี้ จะเลือกวัดแสงแบบไหน


ผมเลือก Center-Weighted ครับ


แต่ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้แบบไหน ก็สามารถที่จะให้ผลลัพธ์เหมือนกันได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกชดเชยแสง และการวัดแสงให้ถูกจุด แค่นั้นเองครับ แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันจะช่วยให้เราถ่ายภาพตามต้องการได้ไวขึ้น  โดยไม่ต้อง ถ่ายหลายๆครั้ง เพราะถ้าเราเลือกระบบวัดแสงได้เหมาะสมกับสถานการณ์ แทบจะไม่ต้องมีการชดเชยแสงเลยก็ว่าได้
ครั้งต่อไปจะพูดถึงการวัดแสงอีกนะครับ ยังมีสิ่งที่ต้องรู้อีกมากครับ ผมเองก็กำลังศึกษาอยู่
ข้อมูลที่นำมานี้ ได้จากการสรุปความจากที่ศึกษามาเช่นกันครับ เพื่อให้มือใหม่ที่เข้ามาอ่าน
สามารถเข้าใจได้ง่ายครับ

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น