ทฤษฏีสี
วงจรสี เป็นเรื่องที่ควรจะรู้ไว้ ไม่ใช่เพียงแค่งานศิลปะ
แต่มันรวมถึงงานสร้างสรรค์ออกแบบ สื่อด้านต่างๆ ฯลฯ แม้กระทั่งการถ่ายภาพ
ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ วันนี้จึงนำความรู้จากที่ผมได้ศึกษา มาฝากเพื่อน พี่น้องในกลุ่มครับ
เรามาทำความรู้จักกับวงจรสีกันก่อน
1.สีปฐมภูมิ (Primary Colors) เป็นสีพื้นฐาน ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นจากการผสมสีอื่นๆ สีในกลุ่มนี้จัดว่าเป็นแม่สี
ได้แก่สีแดง เหลือง และน้ำเงิน
จึงนำสามสีนี้มาวางเรียงกันโดยให้มีระยะห่างเท่าๆกันในวงจรสี
2.สีทุติยภูมิ (Secondary Colors) เกิดจากการนำแม่สีมาผสมกันทีละคู่ ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทำให้ได้สีขึ้นมา
อีก 3 สี คือสีส้ม เขียว
และม่วง
3.สีตติยภูมิ (Tertiary Colors) เกิดจากการนำสีปฐมภูมิผสมกับสีทุติยภูมิ
ในอัตราส่วนที่เท่ากัน ทำให้ได้สีขึ้นมา อีก 6 สี คือสีชมพู,
ม่วง, ฟ้า, เขียวอ่อน,
ส้มอ่อน และสีแสด
จะสังเกตได้ว่า ทุกครั้งที่ผสมสีครบ 1 รอบก็จะได้สีเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากแม่สี 3 สี มาเป็น 6
สี ผสมอีกเป็น 12 สี ต่อไปก็ 24,48,… ต่อไปเรื่อยๆไม่รู้จบ
ต่อไปเราจะมาพูถึงเรื่องสำคัญ หลายคนมักจะคิดไม่ค่อยออก ว่าควรจะเลือกใช้สีอย่างไร
ให้ดูกลมกลืนกัน หรือตัดกัน หรือต้องใช้สีอย่างไรในการนำเสนอจุดเด่น
ใช้สีอย่างไรให้สามารถถ่ายทอดอารมณ์ของงานได้ถูกต้องตามความเหมาะสม ฯลฯ มาดูกันเลย
1.คู่สีตรงกันข้าม (Complementary Colors) คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี มักใช้นำเสนอจุดเด่นเป็นหลัก ไม่ค่อยเน้นความสนใจกับองค์ประกอบอื่นๆมากนัก
2.สีข้างเคียง (Analogous Colors) คือสีที่อยู่ใกล้กันในวงจรสี
การเลือกใช้สีลักษณะนี้ จะทำให้งานมีสีที่อยู่ใน Theme เดียวกัน
ดูแล้วรู้สึกสบายตา มักจะใช้นำเสนอทั้งจุดเด่นและองค์ประกอบ
3.สีโทนร้อน (active range) ให้ความรู้สึกมีพลัง เคลื่อนไหว กระตือรือร้น และกระฉับกระเฉง สีกลุ่มนี้ให้ความหมายที่เร่าร้อน มีอิทธิพลต่อการดึงดูดและกระตุ้นอารมณ์ได้มาก
4.สีโทนเย็น (passive range) ให้ความรู้สึกสงบ สบาย เย็น ผ่อนคลาย ไม่เคลื่อนไหว สีกลุ่มนี้ให้ความหมายที่สงบ ใช้ได้ดีสำหรับการนำเสนอถึงความเรียบง่ายและหรูหรา
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างการใช้ทฤษฎีสีกับการนำเสนองานกันบ้าง...
คนเราเมื่อเห็นสีสันหลากหลาย จัดจ้าน
จะทำให้ดึงดูดความสนใจในการมองได้เป็นอย่างดี เหมือนรูปต่อไปนี้
ตัวอย่างรูปต่อไป เน้นแม่สีตามธรรมชาติ แดง
เหลือง และน้ำเงิน
รูปนี้ เน้นแม่สีอีกระบบหนึ่งคือ CMYK สามรถผสมกันได้ไม่รู้จบเช่นเดียวกับแม่สีธรรมชาติ เป็นระบบสีที่ใช้กับงานพิมพ์เป็นส่วนใหญ่
(Cyan สีฟ้าอมน้ำเงิน
Magenta สีชมพูอมม่วง Yellow สีเหลือง Black
สีดำ)
มาดูสีแบบ Complementary กันบ้าง...
สีตัดกันชัดเจน
ทำให้เห็นรายละเอียดของปลาทองได้ชัดเจนจากพื้นหลัง
แต่บางครั้งการเลือกใช้สีแบบ Complementary ก็ไม่จำเป็นต้องตรงข้ามกันเป๊ะ อาจเยื้องไปอีกหนึ่งสีก็ได้
รูปนี้ถ้าโฟกัสไปที่กลีบดอกกับเกสร ก็เป็นสีชนิด Complementary เช่นกัน
ความสำคัญอีกอย่างของสีชนิด Complementary กับการถ่ายรูปคือ
การชิปสีของ White Balance
ถ้า เราถ่ายอะไรที่มันมีสีขาว แต่มันไม่ขาว มันอมสีอะไรบางอย่างมาด้วย ก็ให้ชิปสีไปฝั่งตรงข้าม ผลที่ได้คือสีดังกล่าว จะมีสีขาวขึ้น
ถ้า เราถ่ายอะไรที่มันมีสีขาว แต่มันไม่ขาว มันอมสีอะไรบางอย่างมาด้วย ก็ให้ชิปสีไปฝั่งตรงข้าม ผลที่ได้คือสีดังกล่าว จะมีสีขาวขึ้น
Complementary อีกรูปครับ
รูปนี้ชัดเจนครับ อยู่ฝั่งตรงข้ามกันเลย ส่วนสีไหนตรงข้ามกับสีไหน
ก็ดูเอาตามวงจรสีเลย
คล้ายๆ การไล่โทนสีระยะสั้นๆ อย่างรูปนี้ก็มีหลักๆ
คือ สีเขียวเข้ม เขียวอ่อน เหลือง และมีสีส้มแซมนิดหน่อย
ซึ่งทั้งหมดเป็นสีที่อยู่ข้างเคียงกัน
Analogous เช่นกัน รูปนี้มีหลักๆ ก็ 3 สี ดูแล้วสบายตาดีครับ
รูปนี้ก็คล้ายรูปข้างบน กินไปครึ่งวงจรเหมือนกัน ทั้งที่มีสีมาก แต่ดูแล้วไม่ลายตา
เพราะสีโดยรวมมันมีการไล่สีกันอยู่ รูปลักษณะนี้หาได้ง่ายมากๆ
ในธรรมชาติ ไปเที่ยวที่ไหนก็เจอครับ ต้องสังเกตกันดีๆ
Analogous อีกเหมือนกัน แต่ถ้าดูเฉพาะหญ้ากับท้องฟ้าก็คล้ายๆ Complementary
Analogous หนักไปทางแดงอมส้ม
Analogous หนักไปทางม่วงอมแดง
Analogous หนักไปทางส้มอมเหลือง
โทนสีโดยรวมตกอยู่ฝั่งไหน ความรู้สึกก็จะเป็นฝั่งนั้น เช่น โทนสีโดยรวมเป็นสีแดง
ก็จะเป็นรูปสีโทนร้อน
โทนสีโดยรวมเป็นสีน้ำเงิน ก็จะเป็นรูปสีโทนเย็น
รูปนี้สีโทนร้อน (active range)
โทนสีโดยรวมเป็นสีน้ำเงิน ก็จะเป็นรูปสีโทนเย็น
รูปนี้สีโทนร้อน (active range)
รูปนี้เป็นรูปสีโทนเย็น (passive range) สีโดยรวมออกไปทางสีม่วง
สรุป
เรื่องสี เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย สำหรับการถ่ายรูป
สำหรับเรื่องวงจรสีนั้น ไม่ยากเลยครับ ถ้าตั้งใจที่จะอ่านพร้อมทั้งไปศึกษาเพิ่มเติมบ้าง
หลักๆ ที่ต้องมีความเข้าใจคือ มันมีการไล่สีกันยังไง...ถ้าเริ่มด้วยสีนี้ สีถัดไปน่าจะเป็นสีอะไร...
สีคู่ตรงข้าม คือสีคู่ใดบ้าง...สีใกล้เคียง สีโทนร้อน สีโทนเย็น... จุดเด่นของแต่ละชนิดคืออะไร...
สามารถหาข้อมูลศึกษาได้ทั่วไป
ถ้าเข้าใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงได้ ก็จะทำให้การถ่ายรูปของเรา สนุกขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว...
สิ่งสำคัญอีกอย่างของวงจรสี ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายรูปก็คือ White Balance นั่นเอง...
จะควบคุม White Balance ให้ได้ ต้องมีความรู้เรื่องสี สุดท้ายก็หวังว่าบทความนี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจหรือผู้ที่เป็นช่างภาพมือใหม่นะครับ ว่างๆเดี๋ยวจะหาเรื่องอื่นๆมาเพิ่มเติม ส่วนท่านใดมีเทคนิคการถ่ายรูปดีๆ ก็นำมาแบ่งปันกันเพื่อเป็นวิทยาทานครับ ขอบคุณรูปภาพจาก http://auxincool.multiply.com/
เรื่องสี เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย สำหรับการถ่ายรูป
สำหรับเรื่องวงจรสีนั้น ไม่ยากเลยครับ ถ้าตั้งใจที่จะอ่านพร้อมทั้งไปศึกษาเพิ่มเติมบ้าง
หลักๆ ที่ต้องมีความเข้าใจคือ มันมีการไล่สีกันยังไง...ถ้าเริ่มด้วยสีนี้ สีถัดไปน่าจะเป็นสีอะไร...
สีคู่ตรงข้าม คือสีคู่ใดบ้าง...สีใกล้เคียง สีโทนร้อน สีโทนเย็น... จุดเด่นของแต่ละชนิดคืออะไร...
สามารถหาข้อมูลศึกษาได้ทั่วไป
ถ้าเข้าใจและสามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงได้ ก็จะทำให้การถ่ายรูปของเรา สนุกขึ้นอีกเยอะเลยทีเดียว...
สิ่งสำคัญอีกอย่างของวงจรสี ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายรูปก็คือ White Balance นั่นเอง...
จะควบคุม White Balance ให้ได้ ต้องมีความรู้เรื่องสี สุดท้ายก็หวังว่าบทความนี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจหรือผู้ที่เป็นช่างภาพมือใหม่นะครับ ว่างๆเดี๋ยวจะหาเรื่องอื่นๆมาเพิ่มเติม ส่วนท่านใดมีเทคนิคการถ่ายรูปดีๆ ก็นำมาแบ่งปันกันเพื่อเป็นวิทยาทานครับ ขอบคุณรูปภาพจาก http://auxincool.multiply.com/
ขอบคุณมากนะคะ ดีมากๆเลยค่ะ :D
ตอบลบ