หลายคนคงจะสงสัยกันนะครับว่า คนอื่นเค้าถ่ายรูปกันยังไงทำไมมันชัดได้ใจจริงๆ
หลายคนคงดำน้ำกันมา ลองผิดลองถูกสารพัด
บางทีดำซะลึกเลย หาทางออกไม่เจอ ก่อนที่เราจะไปรู้จักมัน
หลายคนคงได้ยินมาประมาณนี้
- หมุนไปที่ infinity เลยครับชัดแน่นอน
- เปิด F 22 เลยครับ ยิ่งแคบยิ่งชัด ชัวร์
- เล็งขอบฟ้าเลยครับ เดี๋ยวมันชัดเองทั้งภาพ
ถ้าใครยังเข้าใจว่าต้องทำแบบข้างบนอยู่ เรามาดูตรงนี้กันนะครับ
Hyperfocal Distance โดยมากแล้วมักจะใช้กับการถ่ายภาพ Landscape
อธิบายได้ง่ายๆคือ การที่เราหาจุด focus ที่จะทำให้ภาพชัดมากที่สุด
จาก Aperture (รูรับแสง) และ focal Range (ระยะเลนส์) ที่เราใช้
โดยที่ระยะ Hyperfocal Distance ที่เราได้เมื่อนำมาหารครึ่งจะได้ระยะชัดมา
อย่าเพิ่ง งงนะครับ ตามนี้นะ สมมติว่าระยะ Hyperfocal ที่ได้มาคือ 1 เมตร
ภาพของเราจะชัดตั้งแต่ 0.5 เมตรไปจนสุดขอบฟ้าครับ
ไม่งง แล้วใช่มะพอนึกออกแล้วนะครับ แต่ตอนนี้ทุกคนกะลังจะถามใช่มั้ยครับ
ว่าแล้วเราจะหา Hyperfocal ยังไง
มันมีสูตรตามนนี้นะครับ
( Focal Range ยกกำลัง 2 ) หาร ( Aperture คูณ 0.03 )
** กล้องตัวคูณใช้ 0.02 นะครับ
Ex.
( 17mm ^ 2 = 289 ) หาร ( F11 * 0.03=0.33 )
ได้ 289 หาร 0.33 = 875mm หรือ 0.87 เมตร
เท่ากับว่าเมื่อถ่ายที่ 17mm ( กล้อง FX ) ที่ F11 ภาพจะชัดตั้งแต่ 0.43 เมตร
ไปจนสุดขอบฟ้า พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับ
แล้วถามว่า จะไปถ่ายรูปหรือสอบเลขกันแน่เนี่ย เราสามารถหาไปก่อนได้ครับ
หรือจะหาตารางก็ได้
เมื่อเราคุ้นเคยแล้ว เราจะรู้เองครับว่าหมุนเท่าไร ระยะชัดเริ่มจากตรงไหน
เปลี่ยนเลนส์ปุ๊บรู้ปั๊บไรประมาณนี้
ข้อดีของมันคืออะไร
- เวลาไปถ่าย twilight หรือที่มืดมาก มัวแต่มาโฟกัส มองไม่รู้เรื่องหรอกครับ
หมุนไปที่ Hyperfocal
ของแต่ละระยะเลยครับจบ
- ความรวดเร็ว Dusk & Dawn (รุ่งอรุณ กับ สนธยา) ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก
วันๆนึงอาจได้แค่ไม่กี่ shot ครับ ความไวจำเป็นมาก
- ชัดมากๆ ครับ เต็มศักยภาพของตัวเลนส์นั้นๆ เลย
มาดูภาพตัวอย่างกันนะครับ ภาพแรกนี้
เกิดจากการหา Hyperfocal แล้วนะครับที่ระยะ Focal 17mm F11
Hyperfocal Distance 0.875 M
(หมายความว่า ใช้เลนส์ที่ระยะ 17mm F11 แล้วเล็ง ให้ฉากด้านหน้าสุดของเฟรม อยู่ห่างจากตัวกล้อง
ไม่น้อยกว่า 0.875 M นะครับ)
crop foreground มาดูกันก่อน
ทีนี้มาดู F11 แล้วหมุนไปที่ Infinity นะครับ เล็งที่เดิมกับภาพแรก
มาซูมภาพดูกันครับ
ลองเทียบกันดูครับ รูปบนใช้ Hyperfocal ส่วนรูปล่างเป็น Infinity Focal นะครับ
แล้ว F22 อ่ะไม่ดีกว่าหรอชัดลึกนะ ลึกสุดใจเลย
แต่มันมีข้อเสียของมันอยู่ครับ มันมีชื่อเรียกว่า Diffraction
ตัวนี้คืออะไร แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า การกระจายตัวของแสง
อธิบายได้ก็คือเมื่อแสงผ่านรูรับแสงแล้วบริเวณ ขอบๆของรูรับรับแสงจะทำให้แสงขาดหาย
ยิ่งแคบเท่าไรยิ่งผลของมันจะมากท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วกับกล้องตัวคูณจะเกิดขึ้นที่ F11 ขึ้นไป
ส่วน FX นั้นจะ F16 ขึ้นไป
มาดูรูปข้างล่างครับ ที่ F22
ลองมาดูเปรียบเทียบนะครับ
ครึ่งบนเป็นรูปจากการใช้ hyperfocal ส่วนครึ่งล่างนั้นเป็นผลจาก Diffraction ของ F22 ครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ เห็นความแตกต่างเลยใช่ไหมครับ
ก่อนจะลากันไปวันนี้ ผมมีสิ่งดีดีมานำเสนออีกเช่นเคย
http://www.dofmaster.com/dofjs.html
เป็นเว็บที่ใช้คำนวณหา DOF และ Hyperfocal ของเลนส์แต่ละช่วง กับกล้องแต่ละรุ่น
ลองเข้าไปใช้ดูนะครับ แล้วจะเข้าใจได้มากขึ้น
ผมก็ใช้อยู่ประจำครับ จะช่วยให้เรารู้ระยะทำการของเลนส์ที่เราใช้ (ผมเป็นเลนส์ฟิกซ์ด้วยยิ่งจำง่าย)
วิธีการใช้นะครับ
1.เลือกรุ่นของกล้อง
2.เลือกระยะเลนส์ Focal length (mm)
3.เลือก F ที่เราจะใช้ Selected f-stop
4.เลือกระยะห่างของแบบกับตัวกล้องครับ Subject distance หน่วยเอาเป็น cm ก็ได้ครับเข้าใจง่ายดี
จากนั้นอ่านค่าที่ได้ทางฝั่งขวามือ นี่คือตัวอย่างของผม
ผมเลือกเลนส์ 50mm F1.4 ระยะห่างของกล้องกับแบบที่ 250 cm ค่าที่ได้ตามนี้
-Subject distance คือ ระยะห่างของกล้องกับตัวแบบ
-Depth of field
****Near limit คือ ระยะชัดด้านหน้า จากตัวแบบเข้ามาหากล้อง
****Far limit คือ ระยะชัดด้านหลัง จากตัวแบบออกไป
****Total คือ ระยะชัดครอบคลุมทั้งหมดในภาพ
-In front of subject คือ คิดค่าระยะชัดหน้า ออกมาเป็น %
-Behind subject คือ คิดค่าระยะชัดหลัง ออกมาเป็น %
-Hyperfocal distance คือ ระยะโฟกัสที่จะเริ่มชัดที่สุด ไปจนถึงอินฟินิตี้
-Circle of confusion คือ ขนาด วงกลมที่เล็กที่สุด ก่อนที่จะกลายเป็นจุดแสง
ดูรูปประกอบจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
รูปด้านล่างนี้ แบ่งเป็นสองเรื่องนะครับ ซีกบนเป็นระยะ DOF ซีกล่างเป็นระยะ hyperfocal
สองอย่างนี้จะต่างกัน
- Dof จะมีตัวแปร 3 อย่าง คือ ระยะเลนส์ ระยะโฟกัส และค่า F
- hyperfocal มี 2 ตัวแปร คือ ระยะเลนส์ กับ ค่า F เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับระยะโฟกัส
จากรูปด้านล่างจะเห็นว่า ถ้าผมใช้เลนส์ 50mm ที่ F1.4 ระยะที่จะเริ่มชัดอยู่ที่ 5897.6cm ไป
จนสุดขอบฟ้าเลย
แต่หากผมใช้ 50mm F8 คำนวณค่าแล้ว ระยะ hyperfocal จะเริ่มที่ 10 เมตรกว่าๆ
ฉะนั้นเวลาที่ผมจะถ่ายอะไรที่มันไกลกว่าสิบเมตร แล้วให้ชัดทั้งภาพ
ผมก็เลือกใช้รูรับแสงแค่ F8 ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอัด F แคบสุด
เพราะคุณภาพของรูปที่ได้ก็จะต่ำลง เกิด Diffraction ตามที่กล่าวตอนต้นแล้ว
นี่คือหนึ่งตัวอย่างประโยชน์ของ hyperfocal
ยังไงลองเอาไปใช้กันดูนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น