รูปต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ดีครับ เพราะในรูปเดียวมีสภาพแสงถึง 3 แบบ คือ
1. ส่วนที่อยู่ในเงา
2. ส่วนที่โดนแสงบางส่วน(รำไร)
3. ส่วนที่โดนแสงเต็มๆ
แบ่งรูปนี้ออกเป็น 3 Zone คือ
Zone 1 คือ Zone ที่อยู่ในเงาทั้งหมด เป็นส่วนที่มืดที่สุดในรูปนี้
Zone 2 คือ Zone ที่โดนแดดบางส่วน โดนเงาบางส่วน เป็นส่วนที่เรียกว่าโดนแสงแบบ "รำไร"
Zone 3 คือ Zone ที่โดนแดดมากที่สุด รับแสงไปเต็มๆ
ฉะนั้น หากเราลองวัดแสงตามจุดต่างๆ ในรูปนี้ ค่าแสงที่วัดได้ย่อมไม่เท่ากันแน่นอน
ต่อไปทำการทดสอบด้วยการถ่าย 3 รูป วัดแสงที่ "สัญลักษณ์โฟกัส" 1 จุดต่อ 1 รูป โดย
ใช้โหมด A ตั้งรูรับแสงที่ F11 ตั้ง ISO200 วัดแสงแบบ Spot เหมือนกันทั้ง 3 รูป
วิธีการถ่ายคือ
1. เล็งจุดโฟกัสไปที่ "สัญลักษณ์โฟกัส ที่ผมทำเครื่องหมายไว้" แล้วล็อคค่าแสง
2. โฟกัสที่แก้ว
3. จัด Composition
4. ถ่าย
ถ่ายแบบนี้ทั้ง 3 Zone ผลที่ได้ คือ
Zone 1 วัดแสงที่แก้ว (ตามจุดโฟกัสที่ผมทำเครื่องหมายเอาไว้)
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/25 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณโต๊ะ ที่แก้ววางอยู่ สว่างพอดี หรือ พูดว่า Zone 1 จะได้แสงที่พอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 2 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 1 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Over ไปนิดนึง
และใน Zone 3 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 2 ก็ต้อง Over มากเป็นธรรมดา เมื่อเทียบกับ Zone 1
Zone 2 วัดแสงที่บริเวณสนามหญ้า
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/60 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณสนามหญ้า หรือ Zone 2 สว่างพอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 1 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 2 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Under ไปนิดนึง
และใน Zone 3 ที่สภาพแสงมากกว่า Zone 2 ก็ต้อง Over นิดนึง เมื่อเทียบกับ Zone 2
Zone 3 วัดแสงที่ Background ด้านหลัง
กล้องเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100 Sec
ภาพที่ได้คือบริเวณ Background ด้านหลังหรือ Zone 3 สว่างพอดี เพราะเราวัดแสงที่ Zone นี้
แสงใน Zone 2 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 3 อยู่ก่อนแล้วก็จะ Under ไปนิดนึง
และใน Zone 1 ที่สภาพแสงน้อยกว่า Zone 2 ก็ต้อง Under มากเป็นธรรมดา เมื่อเทียบกับ Zone 3
สำหรับสภาพปกติ หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ถ้าเราอยากให้ส่วนไหนสว่างพอดี ก็วัดแสงที่ตรงนั้นเลย...
บริเวณที่เราวัดแสง ก็จะได้แสงที่พอดี ไม่มืดหรือสว่างเกินไป เมื่อเทียบกับของจริง
ในทางกลับ เมื่อไหร่เจอสภาพแสงที่ "ยุ่งยาก" วัดแสงแล้ว มันไม่พอดีซักที
อาจเกิดจาก สภาพแสงในขณะนั้น มีหลายความเข้มแสงในรูปเดียว
เช่น เราถ่ายรูป Portrait แบบย้อนแสง หลายๆ ครั้งคงได้เห็นรูปที่ "ตัวแบบดำปี๋" มองไม่รู้เลยว่าเป็นใคร
นั่นเพราะ สภาพแสงที่ต่างกันมากนั้นเอง ระหว่าง "ตัวแบบ" ที่หันหลังให้แสง กับ "Background" ซึ่งในที่นี้ก็คือดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงมาเต็มๆ
กรณีแบบนี้มี 3 ทางเลือกในเบื้องต้นคือ
1. ชดเชยแสง
2. เลือกระบบวัดแสงใหม่ เลือกจุดวัดแสงใหม่
3. หลบมุมนิดหน่อย
สำหรับเรื่องสภาพแสงที่ยุ่งยากนั้น พักไว้ก่อน เดี๋ยวผมจะเขียนบทความอีกเรื่องคือ "การชดเชยแสง" ให้อ่านกันอีกที
จะบอกทั้งหมดว่า การชดเชยแสงคืออะไร ชดเชยอย่างไร ต้องชดเชยในกรณีไหนบ้าง...
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างเป็น กรณีๆ ไป
อย่างรูปนี้ก็นับเป็นรูปนึงที่จัดว่าเป็นรูปที่ "สภาพแสงยุ่งยาก" เพราะมีความต่างของแสงมากในรูปๆ เดียว
เราลองมาวิเคราะห์กันว่า ในเบื้องต้นก่อนวัดแสงนั้น เราจะใช้โหมดวัดแสง ระบบไหนดี
รูปนี้อาจใช้ Spot หรือ Center-Weighted ก็ได้ครับ แต่ไม่ดีแน่ถ้าจะใช้ระบบวัดแสงแบบ Matrix
เพราะมันจะเอาค่าแสงที่แรงมากของดวงอาทิตย์ มาคำนวณด้วย...
ถ้าใช้ Spot หรือ Center-Weighted เลือกจุดวัดแสงดีๆ อาจไม่ต้องชดเชยแสง ได้รูปอย่างที่เห็นเลย
หลังจากเลือกระบบวัดแสงแล้ว ก็มาพิจารณาต่อว่าจะวัดแสงตรงไหนดี
รูปนี้มีแสงมากจากดวงอาทิตย์ และมีแสงน้อยมากทีดอกชบา เมื่อเทียบกับด้านหลัง
เราอยากได้แสงพอดีที่ดอกชบา ก็วัดแสงพอดีที่ดอกชบา แล้วถ่ายเลยครับ
ส่วนรูปนี้ หากมองคร่าวๆ รูปนี้ก็เป็นรูปหนึ่งที่ถ่าย "ย้อนแสง"
ถ้าอยู่ในช่วงแดดจ้า อาจต้องเลือกจุดวัดแสงดีๆ หน่อย หรือไม่ก็ต้องช่วยด้วยการชดเชยแสง
แต่สภาพแสงในขณะนั้น ดวงอาทิตย์ใกล้ลับขอบฟ้าเต็มที สถาพแสงน้อยมาก มองด้วยตาเปล่าก็ไม่แสบตาอะไร
ถือว่าเป็นสภาพแสงที่ไม่ยุ่งยากอะไรใช้ Center-Weighted วัดแสงที่เรือ แล้วถ่ายเลย
**ทริค รูปไหนที่มีทั้งสีขาวและสีดำในรูปเดียวกัน ดูง่ายมากครับ ว่าวัดแสงถูกหรือปล่าว
เพราะถ้าวัดแสงถูก "ขาวต้องเป็นขาว ดำต้องเป็นดำ"
รูปนี้วัดแสงแบบ Spot จิ้มไปตรงขอบเสื้อด้านหน้า ชดเชยบวกนิดเดียว(0.3EV)
ในเบื้องต้น ใครที่วัดแสงไม่แม่นก็ไม่เป็นไรครับ เพียงแต่ต้องเข้าใจว่า จะต้องแก้ไขอย่างไร เช่น
ถ่ายมาแล้ว Under ก็อาจต้อง เพิ่มขนาดรูรับแสงหรือลด Shutter Speed ให้ต่ำลง ในทางกลับกัน
ถ่ายมาแล้ว Over ก็อาจต้อง ลดขนาดรูรับแสงหรือเพิ่ม Shutter Speed ให้สูงขึ้น เป็นต้น
ตัวผมเองก็ใช่ว่าจะวัดแสงแม่นไปซะทุกรูป ในบางครั้งถึงกับหลงทิศก็มี
แต่ผมรู้ว่าจะแก้ไขอย่างไร แค่นี้ก็สามารถได้งานติดมือกลับบ้านแล้ว
ในหลายครั้งผมไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะต้องชดเชยยังไง หรือวัดแสงตรงไหน
ถ่ายเลยครับ แล้วดูรูปหลังกล้อง
ถ้าไม่พอใจก็ปรับแต่งเอาตรงนั้นแหละ จะเพิ่มจะลด "รูรับแสง"
หรือจะเพิ่มจะลด "Shutter Speed" อะไรก็ว่ากันไป
เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการ กล้องดิจิตอลสมัยนี้ วัดแสงแม่นมากทีเดียว
ให้กล้องมันวัดให้ พอใจ ไม่พอใจอย่างไร
ก็ปรับจูนอีกนิดหน่อยก็เอาอยู่
รูปต่อไป หากเป็นลักษณะนี้ให้ระวัง ถ้าใช้ Center-Weighted วัดแสงที่รถ
รูปอาจจะติด under เพราะรถมีความแวววาวสูงมาก คล้ายกับกระจกเงาสะท้อนแสงดีๆ นี่เอง
จึงทำให้แสงเข้ากล้องมาก
หลายๆ ครั้ง ก็ไม่จำเป็นต้องไป "คำนึง คำนวณ " อะไรมากครับ
ยุคนี้แล้ว ถ่ายปุ๊ป เห็นผลลัพธ์ปั๊ป ไม่พอใจก็ถ่ายใหม่
เพียงแต่ในบางครั้ง ถ้าเราคิดและวางแผนซักนิด มันอาจได้ผลลัพธ์ที่เร็วกว่า เท่านั้นเอง
หลักการมองเห็นของดวงตามนุษย์ กับของกล้อง ก็เหมือนกัน คือ
ไม่ได้มองเห็นสีของวัตถุโดยตรง แต่มองเห็น "แสง" ที่สะท้อนออกมาจากวัถุดังกล่าว
วัตถุมีสีอะไร ก็จะสะท้อนแสงสีนั้นออกมา
แต่ข้อจำกัดการมองเห็นของกล้องกับสายตามนุษย์นั้น ยังต่างกันมาก
ส่วนมืดส่วนสว่างในการมองไปยังจุดๆ หนึ่ง สายตามนุษย์แยกแยะออกได้ ขอเพียงแค่มีแสงบ้างเท่านั้น
แต่กล้องไม่เก่งขนาดนั้น ส่วนมืดส่วนสว่าง กล้องยังสู้สายตามนุษย์ไม่ได้
เช่น ถ้าเราถ่ายรูปที่มีทั้งส่วนมืดและส่วนสว่างในรูปเดียวกัน
กล้องมักจะเสียรายละเอียดไปส่วนหนึ่ง คือ
ถ้าเราเลือวัดแสง(แสงพอดี) ที่ส่วนมืด... ส่วนสว่างก็มักจะสว่างไป
หรือถ้าเราเลือกวัดแสง(แสงพอดี) ที่ส่วนสว่าง... ส่วนมืดก็มักจะมืดไป
หรือที่เรารู้จักในนามของ Dynamic Range นั่นเอง(ใครที่ยังไม่รู้ว่า Dynamic Range คืออะไร ลองถาม google ดูเลยครับ)
อย่างรูปนี้ ถือว่ามี 2 สภาพแสงในรูปเดียว คือบริเวณที่โดนแดดจัด กับส่วนที่อยู่ในเงา
หากมองด้วยตาเปล่าในสถานที่จริง ก็สามารถเห็นรายละเอียดในเงาได้ชัดเจนครับ
แต่กล้องไม่สามารถทำได้ถึงขนาดนั้น ถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้ ต้องเลือกครับ ว่าจะเอาอะไร
ในที่นี้ถ้าต้องการถ่ายเสือ ก็วัดแสงให้พอดีที่ตัวเสือเลย แน่นอนว่ารายละเอียดในเงามืด
เกือบเป็นสีดำเลยทีเดียว แต่ความสว่างที่ตัวเสือนั้นพอดี
สำหรับจุดอ่อนของกล้องในข้อนี้ เราสามารถนำมันมาใช้ประโยชน์ได้เหมือนกัน
การทำให้ส่วนมืด มืดกว่าเก่า ก็เป็นการขับให้จุดเด่นในภาพ เด่นขึ้นได้เช่นกัน
ถือว่ามีประโยชน์พอสมควรทีเดียว ถ้าเลือกใช้เป็น
รูปนี้ก็มีสภาพแสงต่างกันมาก ถ้าเราเลือกวัดแสงที่จุดไหน อีกจุดก็จะเสียรายละเอียดไป
รูปนี้ วัดแสงที่กุ้งเผา ชดเชยบวกนิดๆ เพราะอยากได้รายละเอียดในส่วนมืดมาด้วย เดี๋ยวส่วนมืดจะมืดไป
ในเบื้องต้น เพียงแค่เข้าใจว่า กล้องในปัจจุบัน มันเป็นแบบนี้
บางครั้งต้องยอมเสียรายละเอียดในบางส่วนไป เพื่อรักษารายละเอียดอีกส่วน
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมคิดว่าทางผู้ผลิตคงจะพัฒนากล้องให้ดีขึ้น และกำจัดจุดอ่อนตรงนี้ให้น้อยลงได้เมื่อนั้นการวัดแสงก็จะง่ายขึ้นอีกมากครับ
"สี" ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่บอกได้ว่าการวัดแสงนั้นถูกต้องหรือไม่
เช่นเราถ่ายรูปที่มีทั้งสีขาวและสีดำในรูปเดียว แบบนี้เช็คง่ายเลยครับ
ถ้าวัดแสงถูก "ขาวต้องเป็นขาว ดำต้องเป็นดำ"
จากรูปนี้ ยังเห็นยี่ห้อเป็น "สีขาว" ชัดเจน ส่วนบอดี้ก็เป็นสี "ดำ"
ถ้าวัดแสงผิด สมมติว่า Under ไป ยี่ห้อก็จะไม่ขาวมาก จะออกขาวอมเทาๆ นิดนึง หรือ
ถ้าวัดแสงผิด Over ไป ตัวบอดี้ก็จะไม่ดำมาก จะออกไปทางเทาดำมากกว่า
รูปต่อไปเป็นตัวอย่างของการเลือกจุดวัดแสง กับจุดโฟกัสคนละจุดกัน
คือโฟกัสที่คนด้านหน้า แต่วัดแสงที่ท้องฟ้า ระหว่างไหล่ของคนทั้งสอง
สำหรับรูปนี้ ถ้าวัดแสงที่ดวงอาทิตย์ คงได้รูปดำมืดแล้วก็มีจุดขาวๆ อยู่จุดนึง(คือดวงอาทิตย์นั่นเอง)
หรือถ้าวัดแสงพอดีที่ตัวคน ก็คงจะได้ท้องฟ้าขาวสะอาดเลยทีเดียว ไม่มีดวงอาทิตย์กลมๆ ให้เห็น
ฉะนั้น เราก็เลือกวัดแสงบริเวณที่ถือว่ากลางๆ ครับ รูปจะได้ไม่ Over หรือ Under มากไป
การถ่ายรูปลักษณะนี้ การวัดแสงจะลำบากกว่าปกตินิดหน่อย เพราะต้องอาศัยความชำนาญในการเลือกจุดวัดแสงหรือเลือกจุดที่คิดว่าดีแล้ว ก็อาจต้องชดเชยช่วยอีกนิด เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ต้องการ
การแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสจะมีประโยชน์อย่างมาก สำหรับกรณีแบบนี้
เพราะรูปลักษณะนี้ ถ้าเรายังโฟกัสและล๊อคค่าแสงไปในตัว จะต้องได้ชดเชยเกิน 3 Stop แน่นอน
เรียกว่าชดเชยกันจนเหนื่อยเลยครับ ทางผู้ผลิตกล้องจึงมี Function เพิ่มขึ้นมาให้ผู้ใช้
สามารถแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสได้
แต่ละค่ายมีวิธีการแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัสอย่างไร ก็อ่านในคู่มือนะครับ
รูปนี้ แสงลงกำลังดี เห็นเป็นลำ
อยากให้แสงพอดีที่คนแถวๆ ลำแสง ก็วัดแสงตรงนั้นเลย อาจจะต้องชดเชยแสง
เพื่อเปิดรายละเอียดส่วนอื่นๆบ้าง
ถ้าไม่ชดเชยเลย จะเห็นลำแสงชัดขึ้น แต่ก็แลกมาด้วยสภาพแวดล้อมมืดขึ้นอีกนิด
แล้วแต่ความชอบของคนถ่ายครับ ว่าชอบแบบไหน
สรุป
- หัวใจหลักของเรื่องการวัดแสงคือ "การเลือกจุดที่จะเป็นตัวแทนของค่าแสงในรูปนั้นๆ แล้วทำการล็อคค่าแสงไว้"
- สาเหตุที่ต้องล็อคค่าแสง เพราะค่าแสงจะไม่เพี้ยนไปจากจุดที่เราต้องการ เวลาเราจัด Composition ใหม่
** ผมบอกไว้ในข้างต้นแล้วว่า "กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา" เมื่อเราจัด Composition ใหม่(Pan กล้อง) ค่าแสงมันก็เปลี่ยนตลอด
ดังนั้นจึงต้องมีการล็อคค่าแสงนั้นไว้ เพื่อไม่ให้ค่าแสงเปลี่ยนขณะที่เราจัด Composition ใหม่
และเพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงในการชดเชยแสงด้วย หากการวัดแสงครั้งแรกยังไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ส่วนเรื่อง ควรวัดแสงที่ไหนและชดเชยค่าแสงเท่าไหร่นั้น ต้องออกไปฝึกเองครับ
เพราะไม่มีใครสามารถบอกเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวได้
ในเรื่องการวัดแสงก็มีเท่านี้ครับ แต่ในกระบวนการถ่ายนั้นยังไม่จบครับ ยังต้องรู้เรื่อง "การชดเชยแสง" ด้วย
จริงๆ แล้วเรื่องของการวัดแสงกับการชดเชยแสงนั้นจะถือว่าเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้
เพราะทั้งสองอย่างนี้ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ครับ แต่แยกหัวข้อดีกว่า เพราะเดี๋ยวมันจะยาวเกินไป
ปล. แล้วจะรีบทำข้อมูลเรื่อง "การชดเชยแสง" ให้ในเร็ววันครับ
...
วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557
การวัดแสง (Light Metering) ตอน1
ในเรื่องของการวัดแสงนั้น ต้องทำความเข้าใจ 2-3 เรื่อง ซึ่งถ้าตั้งใจอ่านก็สามารถเข้าใจได้ เรื่องของการวัดแสงนั้นจริงๆ แล้วง่ายมาก
"ทำไมจึงคิดว่าการวัดแสง เป็นเรื่องง่ายล่ะ"
"เพราะทุกครั้งที่เราจะถ่ายรูป(ด้วยกล้องดิจิตอล) กล้องมันวัดแสงให้เรียบร้อยแล้วครับ มันวัดแสงอยู่ตลอดเวลาครับ" ต่างจากสมัยกล้องฟิมล์ ที่ต้องวัดแสงเอง
โดยส่วนมากของกล้องดิจิตอลนั้น มันจะวัดแสงแล้วล็อคค่าแสงทันทีเมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงหรือเรียกว่า "การโฟกัส" นั่นเอง พอโฟกัสแล้ว ไม่ว่าจะแพนกล้องอย่างไร ค่าแสงจะไม่เปลี่ยนแล้ว เพราะกล้องจะโฟกัสและล็อคค่าแสงไปในตัวเลย แล้วก็ถ่ายโดยการกดชัตเตอร์จนจมสุดตามปกติ
*** นั่นหมายความว่า คุณโฟกัสที่อะไร กล้องก็จะวัดและล็อคแสงที่ตรงนั้นทันที ***
หลักการข้อนี้สำคัญมาก ต้องเข้าใจน่ะครับ ไม่งั้นไปต่อไม่ได้ แต่กล้องดิจิตอลสมัยนี้ สามารถที่จะเลือก(ตั้งค่า)ได้ว่า เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง กล้องจะ...
1. โฟกัสอย่างเดียว ไม่ล็อคค่าแสง (ในกรณีนี้ เราจะเป็นคนเลือกเองว่าจะให้กล้องวัดแสงที่ไหน เพราะเราอาจไม่เอาค่าแสงที่จุดเดียวกับจุดที่เราโฟกัสก็ได้) หรือ...
2. ทั้งโฟกัสและล็อคค่าแสงทันที
แล้วแต่คน แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความชอบครับ.
*** อย่าลืมที่ผมบอกว่า กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา แค่เราเปิดกล้องขึ้นมา กล้องมันก็จะวัดแสงทันที เราแพนกล้องไปที่ไหน มันก็จะวัดแสงตรงนั้น ฉะนั้นเรามีหน้าที่แค่ "เลือกจุดที่จะให้กล้องวัดแสง" กับ "ล็อคค่าแสง" เท่านั้น ***
ในเบื้องต้นผมแนะนำว่าให้แยกปุ่มโฟกัสออกจากปุ่มล๊อคค่าแสงก่อน นั่นก็คือ จะวัดแสงก็กดปุ่มนึง จะโฟกัสก็กดอีกปุ่มนึง สำหรับกล้องนิคอนให้ล๊อคค่าแสงด้วยการกดปุ่ม AE-L แทน ส่วนการโฟกัส ก็โฟกัสด้วยปุ่มโฟกัสเหมือนเดิม ส่วนค่ายอื่นๆ ผมไม่ทราบครับ แต่คิดว่าในคู่มือทุกเล่มมีบอกไว้ครับ
ถามว่าทำไมเราต้องแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัส ?
เพราะบางครั้ง หรือหลายๆ ครั้ง จุดที่เราวัดแสงมันเป็นคนละจุด กับจุดที่เราต้องการโฟกัสนั่นเอง
ทีนี้เราลองมาดูวิธีการของการวัดแสงกัน
หลักการก็ง่ายมากครับ เราเล็งจุดโฟกัสไปที่อะไร กล้องมันก็จะวัดแสงตรงนั้น
จากรูปตัวอย่าง ผมจะให้แสงพอดีที่ "พระพุทธรูป" ก็ทำดังนี้ครับ
1. เอาจุดโฟกัสไปเล็งที่พระพุทธรูป กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงให้กล้องมันโฟกัส แล้วปล่อยชัตเตอร์
2. จากนั้นก็ล็อคค่าแสง(กดปุ่ม AE-L)
3. โฟกัสอีกที(กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง)
4. จัด Composition ใหม่ตามต้องการ
5. ถ่าย(กดชัตเตอร์จนสุด)
กรรมวิธีมันก็เท่านี้เองครับ อาจดูเหมือนวุ่นวาย แต่ง่ายมากๆ กระบวนการทั้งหมดนั้น เมื่อทำจนชินก็จะใช้เวลาแค่ 2-3 วินาทีเองครับ
มาถึงคำถามสำคัญที่สุดของเรื่องนี้
"ทำไมต้องมีการวัดแสง?"
"เพราะ กล้องถ่ายรูปไม่สามารถถ่ายทอดรูป ให้เหมือนที่ดวงตามนุษย์เห็นได้ การวัดแสงจึงเป็นการบอกให้กล้องทำงาน ให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับสิ่งที่มนุษย์เห็นมากที่สุด"
แต่ก่อนที่จะไปต่อเรื่องการวัดแสงนั้นก็ต้องเข้าใจ เรื่อง "ระบบวัดแสง" เสียก่อน
ใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบวัดแสง ตามไปอ่านเรื่องระบบวัดแสงที่
แนะนำว่าให้อ่านเรื่อง ระบบวัดแสงก่อน เพราะเนื้อหามันต่อเนื่องกัน
สำหรับเรื่องของการวัดแสงนั้น จะมีแค่ 2 ค่าหลักๆ เท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ
ขนาดรูรับแสง(F) กับ Shutter Speed(S)
2 ค่านี้ ถือเป็นหัวใจของการถ่ายรูปเลยทีเดียว มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
การวัดแสงนั้น ก็เพื่อให้ได้รูปที่มี ---> แสงพอดี
แสงพอดี ---> คือรูปที่ไม่สว่าง หรือมืดจนเกินไป เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมจริง
หากเขียนสมการ "แสงที่พอดี" คงเขียนได้ประมาณนี้ครับ
แสงที่พอดี = S & F (ให้ "&" หมายถึง "สัมพันธ์")
แสงที่พอดีนั้น กล้องมันคำนวณให้ครับ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า กล้องมันคำนวณยังไง
แต่สิ่งที่เราต้องรู้คือ "สถานการณ์แบบไหน ควรเลือกระบบวัดแสงยังไง และวัดแสงตรงไหน จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด"
ปล. White Balance กับ Picture Style เป็นระบบการจัดการเรื่องสีครับ ไม่เกี่ยวแสงนะ
ส่วน ISO นั้นเป็นทางเลือกครับ เช่น ในสภาพแสงน้อย Shutter Speed ไม่พอก็เอา ISO เข้ามาช่วย ซึ่งทุกคนคงเข้าใจเรื่อง ISO อยู่แล้ว คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง
เวลาถ่ายรูป หากใช้โหมด A คือเลือกขนาดรูรับแสงเอง ส่วน Shutter Speed(S) กล้องมันจะคำนวณให้ว่าต้องใช้ S เท่าไหร่
เช่น ผมตั้ง F ที่ 3.5 แล้วเล็งไปยังจุดที่จะถ่าย กล้องมันจะคำนวณ S ให้ทันที ซึ่งในที่นี้ก็คือ การวัดแสงให้พอดีในขณะนั้นๆ นั่นเอง สมมติว่า แสงที่พอดีในขณะนั้น สามารถระบุค่าได้ และระบุค่าได้เท่ากับ 10 กล้องมันก็สามารถจะคำนวณได้ว่า ในขณะนั้นต้องใช้ S เท่าไหร่ ถ้าตั้งสมการ ให้เห็นภาพคร่าวๆ ก็คงจะตั้งสมการได้ประมาณนี้ครับ
10 = 3.5 & S (เมื่อกล้องมันรู้ค่า F กล้องมันก็จะหาค่า S ได้เสมอ)
ในทางกลับกัน ถ้าเราถ่ายรูปด้วยโหมด S ซึ่งในที่นี้ก็คือ เราระบุค่า Shutter Speed เอง กล้องมันก็สามารถคำนวณได้ว่า ต้องใช้ F ที่เท่าไหร่ จึงจะได้ภาพที่ค่าแสงพอดีในขณะนั้นๆ
มาดูโหมด M กันบ้าง หากใช้โหมดนี้ ก็ต้องเลือกทั้ง F และ S เอง ระบบวัดแสงของกล้องมันก็จะคำนวณให้อีกว่า ค่าแสงที่เกิดจากการตั้ง F และ S ในขณะนั้นๆ "ได้ค่าแสงที่พอดีแล้วหรือยัง" โดยดูที่ Scale วัดแสงว่าอยู่ที่ 0 พอดีหรือไม่ หากยังไม่พอดี(น้อยหรือมากกว่า 0) เราก็ต้องปรับค่าใดค่าหนึ่ง(F หรือ S) หรือทั้งสองค่า ให้ค่าแสงพอดีก่อน จึงจะได้รูปที่ถูกต้อง
ในสภาวะปกตินั้น กล้องจะวัดแสงได้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะผิดพลาดได้เหมือนกัน ถ้า "สภาพแสงหรือสี" ในขณะนั้นไม่ปกติ เราจึงต้องอาศัยการชดเชยแสงเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ได้ค่าแสงที่ถูกต้อง
สภาวะไม่ปกติเป็นอย่างไร การชดเชยแสงคืออะไร ทำอย่างไร ใช้เมื่อไหร่ เดี๋ยวผมจะเขียนต่อในบทความต่อไปครับ สำหรับวันนี้เบรคไว้เท่านี้ก่อน...
"ทำไมจึงคิดว่าการวัดแสง เป็นเรื่องง่ายล่ะ"
"เพราะทุกครั้งที่เราจะถ่ายรูป(ด้วยกล้องดิจิตอล) กล้องมันวัดแสงให้เรียบร้อยแล้วครับ มันวัดแสงอยู่ตลอดเวลาครับ" ต่างจากสมัยกล้องฟิมล์ ที่ต้องวัดแสงเอง
โดยส่วนมากของกล้องดิจิตอลนั้น มันจะวัดแสงแล้วล็อคค่าแสงทันทีเมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงหรือเรียกว่า "การโฟกัส" นั่นเอง พอโฟกัสแล้ว ไม่ว่าจะแพนกล้องอย่างไร ค่าแสงจะไม่เปลี่ยนแล้ว เพราะกล้องจะโฟกัสและล็อคค่าแสงไปในตัวเลย แล้วก็ถ่ายโดยการกดชัตเตอร์จนจมสุดตามปกติ
*** นั่นหมายความว่า คุณโฟกัสที่อะไร กล้องก็จะวัดและล็อคแสงที่ตรงนั้นทันที ***
หลักการข้อนี้สำคัญมาก ต้องเข้าใจน่ะครับ ไม่งั้นไปต่อไม่ได้ แต่กล้องดิจิตอลสมัยนี้ สามารถที่จะเลือก(ตั้งค่า)ได้ว่า เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง กล้องจะ...
1. โฟกัสอย่างเดียว ไม่ล็อคค่าแสง (ในกรณีนี้ เราจะเป็นคนเลือกเองว่าจะให้กล้องวัดแสงที่ไหน เพราะเราอาจไม่เอาค่าแสงที่จุดเดียวกับจุดที่เราโฟกัสก็ได้) หรือ...
2. ทั้งโฟกัสและล็อคค่าแสงทันที
แล้วแต่คน แล้วแต่กรณี แล้วแต่ความชอบครับ.
*** อย่าลืมที่ผมบอกว่า กล้องดิจิตอลมันวัดแสงตลอดเวลา แค่เราเปิดกล้องขึ้นมา กล้องมันก็จะวัดแสงทันที เราแพนกล้องไปที่ไหน มันก็จะวัดแสงตรงนั้น ฉะนั้นเรามีหน้าที่แค่ "เลือกจุดที่จะให้กล้องวัดแสง" กับ "ล็อคค่าแสง" เท่านั้น ***
ในเบื้องต้นผมแนะนำว่าให้แยกปุ่มโฟกัสออกจากปุ่มล๊อคค่าแสงก่อน นั่นก็คือ จะวัดแสงก็กดปุ่มนึง จะโฟกัสก็กดอีกปุ่มนึง สำหรับกล้องนิคอนให้ล๊อคค่าแสงด้วยการกดปุ่ม AE-L แทน ส่วนการโฟกัส ก็โฟกัสด้วยปุ่มโฟกัสเหมือนเดิม ส่วนค่ายอื่นๆ ผมไม่ทราบครับ แต่คิดว่าในคู่มือทุกเล่มมีบอกไว้ครับ
ถามว่าทำไมเราต้องแยกปุ่มล๊อคค่าแสงออกจากปุ่มโฟกัส ?
เพราะบางครั้ง หรือหลายๆ ครั้ง จุดที่เราวัดแสงมันเป็นคนละจุด กับจุดที่เราต้องการโฟกัสนั่นเอง
ทีนี้เราลองมาดูวิธีการของการวัดแสงกัน
หลักการก็ง่ายมากครับ เราเล็งจุดโฟกัสไปที่อะไร กล้องมันก็จะวัดแสงตรงนั้น
จากรูปตัวอย่าง ผมจะให้แสงพอดีที่ "พระพุทธรูป" ก็ทำดังนี้ครับ
1. เอาจุดโฟกัสไปเล็งที่พระพุทธรูป กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึงให้กล้องมันโฟกัส แล้วปล่อยชัตเตอร์
2. จากนั้นก็ล็อคค่าแสง(กดปุ่ม AE-L)
3. โฟกัสอีกที(กดชัตเตอร์ลงครึ่งนึง)
4. จัด Composition ใหม่ตามต้องการ
5. ถ่าย(กดชัตเตอร์จนสุด)
กรรมวิธีมันก็เท่านี้เองครับ อาจดูเหมือนวุ่นวาย แต่ง่ายมากๆ กระบวนการทั้งหมดนั้น เมื่อทำจนชินก็จะใช้เวลาแค่ 2-3 วินาทีเองครับ
มาถึงคำถามสำคัญที่สุดของเรื่องนี้
"ทำไมต้องมีการวัดแสง?"
"เพราะ กล้องถ่ายรูปไม่สามารถถ่ายทอดรูป ให้เหมือนที่ดวงตามนุษย์เห็นได้ การวัดแสงจึงเป็นการบอกให้กล้องทำงาน ให้ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับสิ่งที่มนุษย์เห็นมากที่สุด"
แต่ก่อนที่จะไปต่อเรื่องการวัดแสงนั้นก็ต้องเข้าใจ เรื่อง "ระบบวัดแสง" เสียก่อน
ใครที่ยังไม่เข้าใจเรื่องระบบวัดแสง ตามไปอ่านเรื่องระบบวัดแสงที่
แนะนำว่าให้อ่านเรื่อง ระบบวัดแสงก่อน เพราะเนื้อหามันต่อเนื่องกัน
สำหรับเรื่องของการวัดแสงนั้น จะมีแค่ 2 ค่าหลักๆ เท่านั้นที่เข้ามาเกี่ยวข้องคือ
ขนาดรูรับแสง(F) กับ Shutter Speed(S)
2 ค่านี้ ถือเป็นหัวใจของการถ่ายรูปเลยทีเดียว มองข้ามไม่ได้เด็ดขาด
การวัดแสงนั้น ก็เพื่อให้ได้รูปที่มี ---> แสงพอดี
แสงพอดี ---> คือรูปที่ไม่สว่าง หรือมืดจนเกินไป เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมจริง
หากเขียนสมการ "แสงที่พอดี" คงเขียนได้ประมาณนี้ครับ
แสงที่พอดี = S & F (ให้ "&" หมายถึง "สัมพันธ์")
แสงที่พอดีนั้น กล้องมันคำนวณให้ครับ ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่า กล้องมันคำนวณยังไง
แต่สิ่งที่เราต้องรู้คือ "สถานการณ์แบบไหน ควรเลือกระบบวัดแสงยังไง และวัดแสงตรงไหน จึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด"
ปล. White Balance กับ Picture Style เป็นระบบการจัดการเรื่องสีครับ ไม่เกี่ยวแสงนะ
ส่วน ISO นั้นเป็นทางเลือกครับ เช่น ในสภาพแสงน้อย Shutter Speed ไม่พอก็เอา ISO เข้ามาช่วย ซึ่งทุกคนคงเข้าใจเรื่อง ISO อยู่แล้ว คงไม่ต้องอธิบายกันมาก
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง
เวลาถ่ายรูป หากใช้โหมด A คือเลือกขนาดรูรับแสงเอง ส่วน Shutter Speed(S) กล้องมันจะคำนวณให้ว่าต้องใช้ S เท่าไหร่
เช่น ผมตั้ง F ที่ 3.5 แล้วเล็งไปยังจุดที่จะถ่าย กล้องมันจะคำนวณ S ให้ทันที ซึ่งในที่นี้ก็คือ การวัดแสงให้พอดีในขณะนั้นๆ นั่นเอง สมมติว่า แสงที่พอดีในขณะนั้น สามารถระบุค่าได้ และระบุค่าได้เท่ากับ 10 กล้องมันก็สามารถจะคำนวณได้ว่า ในขณะนั้นต้องใช้ S เท่าไหร่ ถ้าตั้งสมการ ให้เห็นภาพคร่าวๆ ก็คงจะตั้งสมการได้ประมาณนี้ครับ
10 = 3.5 & S (เมื่อกล้องมันรู้ค่า F กล้องมันก็จะหาค่า S ได้เสมอ)
ในทางกลับกัน ถ้าเราถ่ายรูปด้วยโหมด S ซึ่งในที่นี้ก็คือ เราระบุค่า Shutter Speed เอง กล้องมันก็สามารถคำนวณได้ว่า ต้องใช้ F ที่เท่าไหร่ จึงจะได้ภาพที่ค่าแสงพอดีในขณะนั้นๆ
มาดูโหมด M กันบ้าง หากใช้โหมดนี้ ก็ต้องเลือกทั้ง F และ S เอง ระบบวัดแสงของกล้องมันก็จะคำนวณให้อีกว่า ค่าแสงที่เกิดจากการตั้ง F และ S ในขณะนั้นๆ "ได้ค่าแสงที่พอดีแล้วหรือยัง" โดยดูที่ Scale วัดแสงว่าอยู่ที่ 0 พอดีหรือไม่ หากยังไม่พอดี(น้อยหรือมากกว่า 0) เราก็ต้องปรับค่าใดค่าหนึ่ง(F หรือ S) หรือทั้งสองค่า ให้ค่าแสงพอดีก่อน จึงจะได้รูปที่ถูกต้อง
ในสภาวะปกตินั้น กล้องจะวัดแสงได้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ก็อาจจะผิดพลาดได้เหมือนกัน ถ้า "สภาพแสงหรือสี" ในขณะนั้นไม่ปกติ เราจึงต้องอาศัยการชดเชยแสงเข้าร่วมด้วย เพื่อให้ได้ค่าแสงที่ถูกต้อง
สภาวะไม่ปกติเป็นอย่างไร การชดเชยแสงคืออะไร ทำอย่างไร ใช้เมื่อไหร่ เดี๋ยวผมจะเขียนต่อในบทความต่อไปครับ สำหรับวันนี้เบรคไว้เท่านี้ก่อน...
วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ระบบวัดแสงของกล้อง
ระบบวัดแสงของกล้องจะมีหน้าที่คำนวณหาค่า สปีดชัตเตอร์(Shutter Speed)(S) กับ ขนาดรูรับแสง(Aperture)(F) ให้เหมาะสมกับสภาพแสงในขณะนั้นๆ
หากเราตั้งโหมด A ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า S
หากเราตั้งโหมด S ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า F
หากเราตั้งโหมด M ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณให้ว่า ค่าที่ตั้งอยู่ในขณะนั้นเหมาะสมแล้วยัง มืดหรือสว่างไป(ดูที่สเกลวัดแสง)
ปล. ข้อมูลใน Blog อ้างอิงจากกล้อง Nikon นะครับ ค่ายอื่นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างบางจุด
ก่อนจะพูดถึงระบบวัดแสง มาพูดถึงรูปก่อน กล้องจะมองเห็นรูปต่างจากตาของเราครับ คือ กล้องจะไม่มองสีสันต่างๆ แต่จะมองในลักษณะสีขาวดำ (เทากลาง) ที่มีความสว่างและมืดต่างกันไปในแต่ละ pixels
รูปตัวอย่าง ผมทำพิกเซลให้ใหญ่ เพื่อจะได้เห็นชัด จริงๆแล้วจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม จุดเล็กมากๆ
ระบบวัดแสงของ Nikon มี 3 แบบคือ
- 3D Matrix Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ ระบบนี้กล้องจะวัดความมืดความสว่างของทั้งภาพ แล้วนำค่าความมืดความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน
- Center-Weighted Metering แบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ เน้นในส่วนกลางภาพประมาณ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ อีกประมาณ 25%
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด กล้องจะวัดแสงเฉพาะในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยไม่เฉลี่ยพื้นที่รอบๆ เลย
ส่วนของ Canon นั้น ผมหาข้อมูลมา มี 4 แบบคือ
- Evaluative Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมือนระบบ Matrix ของ Nikon
- Partial Metering แบบเฉพาะส่วน ระบบนี้ กล้องจะนำพื้นที่กลางรูป(ขนาดใหญ่) ไปคำนวณเท่านั้น
(คล้ายกับ Center-weighted average แต่ไม่คิดพื้นที่รอบนอก...)
- Center-weighted average Metering เหมือนระบบ Center-Weighted ของ Nikon
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด เหมือนระบบ Spot ของ Nikon(ประมาณ 4% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มาดูกันว่า ระบบวัดแสงแบบต่างๆ กล้องจะใช้พื้นที่ในการคำนวณอย่างไร
1. 3D Matrix Metering, Evaluative Metering สำหรับระบบนี้ พูดสั้นๆ ว่า "เอาพื้นที่ทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณนั่นเอง"
2. Partial Metering จะนำพื้นที่ส่วนกลางภาพ(ขนาดใหญ่) มาใช้คำนวณเท่านั้น...
3. Center-Weighted Metering, Center-weighted average Metering ระบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ ระบบนี้กล้องจะให้ความสำคัญกับพื้นที่กลางภาพสูง(ประมาณ 75%) แต่ก็เอาพื้นที่รอบๆ มาใช้ในการคำนวณด้วย(ประมาณ 25%) โดยให้ความสำคัญรองลงมา
4. Spot Metering ระบบนี้จะใช้พื้นที่ขนาดเล็ก "เป็นตัวแทนของพื้นที่ภาพทั้งหมด" ที่จะใช้ในการคำนวณ
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง... ว่ารูปแบบไหน ควรใช้ระบบวัดแสงแบบไหน...
ปล. ระบบวัดแสงทุกระบบสามารถให้ผลลัพธ์ได้เหมือนกัน ถ้าใช้ควบคู่ไปกับ "การชดเชยแสง"
แต่มาถึงตรงนี้ ก็คงจะพอนึกภาพออกกันบ้างแล้ว ว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไร ทีนี้... มาดูตัวอย่างแรกกันเลย... รูปลักษณะนี้ ใช้ Center-Weighted น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงมากที่สุด...
เลือก Center-Weighted แล้ววัดแสงที่ดอกไม้เลย
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Center-Weighted
ใช้ Center-Weighted วัดแสงที่พระพุทธรูปได้เลย จากรูปนี้... จะใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot ก็ได้ครับ แต่ต้องเลือกจุดวัดแสงแม่นๆ หน่อย...ถ้าจะใช้ Spot ก็จิ้มไปตรงไหล่พระพุทธรูปเลยครับ ให้ติดส่วนที่เป็นสีขาวกับสีดำมาอย่างละครึ่ง... น่าจะได้รูปที่พอดี
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Spot
สำหรับระบบวัดแสงนั้น... จะเลือกโหมดไหนก็ไม่ผิดครับ แต่ต้องเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ ถ้าใช้โหมดวัดแสงต่างกัน "ก็ให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน ก็ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรง... ถ้าจะให้ตรงก็ต้องช่วยด้วยการ "ชดเชยแสง"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอยู่แล้ว ไม่ต้องชดเชยแสงเลย"
ทุกอย่างแล้วแต่สถานการณ์ครับ
รูปล่างนี้ เป็นรูปที่ได้รับแสงเท่าๆ กัน... โทนสีโดยรวม เมื่อเทียบกับสีเท่ากลางก็น่าจะพอดี... ไม่มืดหรือสว่างเกินไป...เจอรูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering ได้เลยครับ
รูปที่จุดเด่นโดนแสงน้อย เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมโดยรวม รูปลักษณะนี้ ใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด
จิ้มไปที่หน้าของผู้หญิงเลยครับ...หรือจะวัดที่ข้างๆ เสื้อของผู้หญิงก็ได้... ให้โดนส่วนมืดและส่วนสว่างพอๆ กัน ก็น่าจะได้แสงที่ถูกต้อง
รูปล่างนี้ สภาพแสงโดยรวมเท่ากันทั้งรูป รูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering อีกแล้วครับหรือจะใช้ Center-Weighted ก็น่าจะไม่ผิดโดยวัดที่เต๊นท์ขวามือ
หากเจอรูปลักษณะนี้ ง่ายมากเลยครับ ไม่ต้องคิดมาก จุดเด่น(หัวเสือ) อยู่กลางภาพ และมีขนาดพื้นที่พอๆ กับ Center-Weighted ก็ใช้ Center-Weighted ได้เลย
สังเกตไหมว่าหลายๆ ตัวอย่างข้างบน ผมจะพูดว่ารูปนี้สมควรใช้ระบบนี้ แต่ถ้าจะใช้อีกระบบ ก็น่าจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน...นั่นหมายความว่า ถ้าหากเข้าใจการทำงานของระบบวัดแสงมากขึ้นแล้ว ก็แทบไม่ต้องเปลี่ยนระบบวัดแสงเลย... เพียงแต่เลือกจุดที่จะวัดแสงให้เหมาะสมเท่านั้นเอง
ผมเลือกใช้ระบบวัดแสงแบบ Center-Weighted เป็นหลัก
75% ของรูปที่ผมถ่าย แสงพอดีครับ ไม่ต้องชดเชยแสงเลย
อีกราว 20% ต้องชดเชยเพราะระบบ Center-Weighted เอาไม่อยู่
อีกราว 5% ต้องชดเชยเพราะอยากได้รูปอย่างที่ชอบ (มืด/สว่าง กว่าปกติ)
คำถามสุดท้าย ถ้าหากท่านอยากได้รูปออกมาแบบนี้ จะเลือกวัดแสงแบบไหน
ผมเลือก Center-Weighted ครับ
แต่ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้แบบไหน ก็สามารถที่จะให้ผลลัพธ์เหมือนกันได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกชดเชยแสง และการวัดแสงให้ถูกจุด แค่นั้นเองครับ แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันจะช่วยให้เราถ่ายภาพตามต้องการได้ไวขึ้น โดยไม่ต้อง ถ่ายหลายๆครั้ง เพราะถ้าเราเลือกระบบวัดแสงได้เหมาะสมกับสถานการณ์ แทบจะไม่ต้องมีการชดเชยแสงเลยก็ว่าได้
ครั้งต่อไปจะพูดถึงการวัดแสงอีกนะครับ ยังมีสิ่งที่ต้องรู้อีกมากครับ ผมเองก็กำลังศึกษาอยู่
ข้อมูลที่นำมานี้ ได้จากการสรุปความจากที่ศึกษามาเช่นกันครับ เพื่อให้มือใหม่ที่เข้ามาอ่าน
สามารถเข้าใจได้ง่ายครับ
หากเราตั้งโหมด A ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า S
หากเราตั้งโหมด S ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณหาค่า F
หากเราตั้งโหมด M ระบบวัดแสงก็มีหน้าที่คำนวณให้ว่า ค่าที่ตั้งอยู่ในขณะนั้นเหมาะสมแล้วยัง มืดหรือสว่างไป(ดูที่สเกลวัดแสง)
ปล. ข้อมูลใน Blog อ้างอิงจากกล้อง Nikon นะครับ ค่ายอื่นอาจเหมือนกันหรือแตกต่างบางจุด
ก่อนจะพูดถึงระบบวัดแสง มาพูดถึงรูปก่อน กล้องจะมองเห็นรูปต่างจากตาของเราครับ คือ กล้องจะไม่มองสีสันต่างๆ แต่จะมองในลักษณะสีขาวดำ (เทากลาง) ที่มีความสว่างและมืดต่างกันไปในแต่ละ pixels
รูปตัวอย่าง ผมทำพิกเซลให้ใหญ่ เพื่อจะได้เห็นชัด จริงๆแล้วจะเป็นช่องสี่เหลี่ยม จุดเล็กมากๆ
ระบบวัดแสงของ Nikon มี 3 แบบคือ
- 3D Matrix Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ ระบบนี้กล้องจะวัดความมืดความสว่างของทั้งภาพ แล้วนำค่าความมืดความสว่างทั้งหมดมาคำนวณรวมกัน
- Center-Weighted Metering แบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ เน้นในส่วนกลางภาพประมาณ 75% เฉลี่ยส่วนรอบๆ อีกประมาณ 25%
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด กล้องจะวัดแสงเฉพาะในกรอบพื้นที่โฟกัสที่เลือกไว้ 100% โดยไม่เฉลี่ยพื้นที่รอบๆ เลย
ส่วนของ Canon นั้น ผมหาข้อมูลมา มี 4 แบบคือ
- Evaluative Metering แบบเฉลี่ยทั้งภาพ เหมือนระบบ Matrix ของ Nikon
- Partial Metering แบบเฉพาะส่วน ระบบนี้ กล้องจะนำพื้นที่กลางรูป(ขนาดใหญ่) ไปคำนวณเท่านั้น
(คล้ายกับ Center-weighted average แต่ไม่คิดพื้นที่รอบนอก...)
- Center-weighted average Metering เหมือนระบบ Center-Weighted ของ Nikon
- Spot Metering แบบเฉพาะจุด เหมือนระบบ Spot ของ Nikon(ประมาณ 4% ของจุดศูนย์กลางช่องมองภาพ)
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น มาดูกันว่า ระบบวัดแสงแบบต่างๆ กล้องจะใช้พื้นที่ในการคำนวณอย่างไร
1. 3D Matrix Metering, Evaluative Metering สำหรับระบบนี้ พูดสั้นๆ ว่า "เอาพื้นที่ทั้งหมดมาใช้ในการคำนวณนั่นเอง"
2. Partial Metering จะนำพื้นที่ส่วนกลางภาพ(ขนาดใหญ่) มาใช้คำนวณเท่านั้น...
3. Center-Weighted Metering, Center-weighted average Metering ระบบเฉลี่ยหนักกลางภาพ ระบบนี้กล้องจะให้ความสำคัญกับพื้นที่กลางภาพสูง(ประมาณ 75%) แต่ก็เอาพื้นที่รอบๆ มาใช้ในการคำนวณด้วย(ประมาณ 25%) โดยให้ความสำคัญรองลงมา
4. Spot Metering ระบบนี้จะใช้พื้นที่ขนาดเล็ก "เป็นตัวแทนของพื้นที่ภาพทั้งหมด" ที่จะใช้ในการคำนวณ
ทีนี้มาดูตัวอย่างกันบ้าง... ว่ารูปแบบไหน ควรใช้ระบบวัดแสงแบบไหน...
ปล. ระบบวัดแสงทุกระบบสามารถให้ผลลัพธ์ได้เหมือนกัน ถ้าใช้ควบคู่ไปกับ "การชดเชยแสง"
แต่มาถึงตรงนี้ ก็คงจะพอนึกภาพออกกันบ้างแล้ว ว่าแต่ละระบบทำงานอย่างไร ทีนี้... มาดูตัวอย่างแรกกันเลย... รูปลักษณะนี้ ใช้ Center-Weighted น่าจะได้ผลลัพธ์ที่ตรงหรือใกล้เคียงมากที่สุด...
เลือก Center-Weighted แล้ววัดแสงที่ดอกไม้เลย
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Center-Weighted
ใช้ Center-Weighted วัดแสงที่พระพุทธรูปได้เลย จากรูปนี้... จะใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot ก็ได้ครับ แต่ต้องเลือกจุดวัดแสงแม่นๆ หน่อย...ถ้าจะใช้ Spot ก็จิ้มไปตรงไหล่พระพุทธรูปเลยครับ ให้ติดส่วนที่เป็นสีขาวกับสีดำมาอย่างละครึ่ง... น่าจะได้รูปที่พอดี
รูปลักษณะนี้ โหมดที่น่าจะให้ผลลัพธ์ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยไม่ต้องชดเชยแสง คือระบบ Spot
สำหรับระบบวัดแสงนั้น... จะเลือกโหมดไหนก็ไม่ผิดครับ แต่ต้องเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร จึงจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ ถ้าใช้โหมดวัดแสงต่างกัน "ก็ให้ผลลัพธ์ไม่เหมือนกัน"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน ก็ให้ผลลัพธ์ที่ไม่ตรง... ถ้าจะให้ตรงก็ต้องช่วยด้วยการ "ชดเชยแสง"
-รูปบางลักษณะ จะใช้โหมดวัดแสงแบบไหน "ก็ให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องอยู่แล้ว ไม่ต้องชดเชยแสงเลย"
ทุกอย่างแล้วแต่สถานการณ์ครับ
รูปล่างนี้ เป็นรูปที่ได้รับแสงเท่าๆ กัน... โทนสีโดยรวม เมื่อเทียบกับสีเท่ากลางก็น่าจะพอดี... ไม่มืดหรือสว่างเกินไป...เจอรูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering ได้เลยครับ
รูปที่จุดเด่นโดนแสงน้อย เมื่อเทียบกับสภาพแวดล้อมโดยรวม รูปลักษณะนี้ ใช้ระบบวัดแสงแบบ Spot น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด
จิ้มไปที่หน้าของผู้หญิงเลยครับ...หรือจะวัดที่ข้างๆ เสื้อของผู้หญิงก็ได้... ให้โดนส่วนมืดและส่วนสว่างพอๆ กัน ก็น่าจะได้แสงที่ถูกต้อง
รูปล่างนี้ สภาพแสงโดยรวมเท่ากันทั้งรูป รูปแบบนี้ ใช้ 3D Matrix Metering อีกแล้วครับหรือจะใช้ Center-Weighted ก็น่าจะไม่ผิดโดยวัดที่เต๊นท์ขวามือ
หากเจอรูปลักษณะนี้ ง่ายมากเลยครับ ไม่ต้องคิดมาก จุดเด่น(หัวเสือ) อยู่กลางภาพ และมีขนาดพื้นที่พอๆ กับ Center-Weighted ก็ใช้ Center-Weighted ได้เลย
สังเกตไหมว่าหลายๆ ตัวอย่างข้างบน ผมจะพูดว่ารูปนี้สมควรใช้ระบบนี้ แต่ถ้าจะใช้อีกระบบ ก็น่าจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน...นั่นหมายความว่า ถ้าหากเข้าใจการทำงานของระบบวัดแสงมากขึ้นแล้ว ก็แทบไม่ต้องเปลี่ยนระบบวัดแสงเลย... เพียงแต่เลือกจุดที่จะวัดแสงให้เหมาะสมเท่านั้นเอง
ผมเลือกใช้ระบบวัดแสงแบบ Center-Weighted เป็นหลัก
75% ของรูปที่ผมถ่าย แสงพอดีครับ ไม่ต้องชดเชยแสงเลย
อีกราว 20% ต้องชดเชยเพราะระบบ Center-Weighted เอาไม่อยู่
อีกราว 5% ต้องชดเชยเพราะอยากได้รูปอย่างที่ชอบ (มืด/สว่าง กว่าปกติ)
คำถามสุดท้าย ถ้าหากท่านอยากได้รูปออกมาแบบนี้ จะเลือกวัดแสงแบบไหน
ผมเลือก Center-Weighted ครับ
แต่ไม่ว่าท่านจะเลือกใช้แบบไหน ก็สามารถที่จะให้ผลลัพธ์เหมือนกันได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกชดเชยแสง และการวัดแสงให้ถูกจุด แค่นั้นเองครับ แต่สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ มันจะช่วยให้เราถ่ายภาพตามต้องการได้ไวขึ้น โดยไม่ต้อง ถ่ายหลายๆครั้ง เพราะถ้าเราเลือกระบบวัดแสงได้เหมาะสมกับสถานการณ์ แทบจะไม่ต้องมีการชดเชยแสงเลยก็ว่าได้
ครั้งต่อไปจะพูดถึงการวัดแสงอีกนะครับ ยังมีสิ่งที่ต้องรู้อีกมากครับ ผมเองก็กำลังศึกษาอยู่
ข้อมูลที่นำมานี้ ได้จากการสรุปความจากที่ศึกษามาเช่นกันครับ เพื่อให้มือใหม่ที่เข้ามาอ่าน
สามารถเข้าใจได้ง่ายครับ
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557
"จันทรุปราคาเต็มดวง" ครั้งสุดท้ายของปี
ข่าวประชาสัมพันธ์ เตรียมพร้อมถ่ายภาพ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ครั้งสุดท้ายของปี
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557
White Balance ตอน2
White Balance แบบ Color temp(K)
ภาพตัวอย่างถ่ายไล่ให้ดูตั้งแต่ อันแรก(2500K) จนถึงอันสุดท้ายเลย(10000K)
สังเกตุดูการไล่สีนะครับ
White Balance ชนิดนี้เหมาะสำหรับคนที่แม่นเรื่องอุณหภูมิของแสง
ส่วนมากจะใช้ White Balance ชนิดนี้เมื่อ
1. White Balance สำเร็จรูปมันเกิด Error สูง เปลี่ยนมาปรับแบบละเอียดด้วย Color temp(K) น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องกว่า
2. ต้องการย้อมสีรูปเพื่อให้ได้สีอย่างที่ต้องการ
สำหรับบางท่าน ตั้ง Auto ตลอด
ระวังนะครับ เพราะหลายๆ เหตุการณ์ สีมันเพี้ยนเอาง่ายๆ
ศึกษาเพิ่มเติมอีกนิดให้เข้าใจ ไหนๆ ก็มีอุปกรณ์แล้ว ใช้ให้คุ้มค่าดีกว่า
เมื่อใช้เป็น จะถ่ายรูปสนุกขึ้นอีกเยอะเลยครับ ดูตัวอย่างภาพล่างนะครับ
ต่อไปจะให้ดูภาพตัวอย่าง แต่ละแบบ วัตถุสีขาว ก้ควรจะได้สีขาวตามที่ตาเห็นนะครับ
เห็นไฟส้มๆ เมื่อไหร่ ใช้ Incandescent ก่อนเลย
มีน้อยมากที่สีเพี้ยน... ถ้าสีเพี้ยนก็ Shift สีช่วยเอา... ไม่ยากครับ
ภายในห้องติดหลอดไฟแบบหัวกลม
ตั้ง White Balance เป็น Incandescent โลด
วัดแสงดีๆ หน่อย... ไม่ต้อง Shift สี... ได้อย่างที่ต้องการเลย
ตามด้วย Fluorescent ...
รูปนี้ภายในร้านติดหลอดไฟแบบ Fluorescent และคิดว่าเป็นชนิด Day White Fluorescent...
ก็ตั้ง White Balance เป็น Fluorescent ชนิด Day White เลยครับ... ได้รูปอย่างที่เห็น
ตามด้วย White Balance Direct sunlight...
อยู่กลางแดดจ้าเมื่อไหร่ เปิดตัวนี้เลย ไม่ผิดหวัง... เหมาะกับการถ่าย lanscape
นอกจากนี้การถ่ายท้องฟ้า ยังสามารถย้อมสีอะไรก็ได้ที่เราต้องการ โดยลองเปลี่ยน White Balance ไปเรื่อยๆ จนพอใจ
White Balance แบบ Flash หารูปตัวอย่างไม่ได้อ่ะ ขออนุญาตข้ามครับ 555+
ต่อกันที่แบบ Cloudy อยากได้รูปโทนร้อน เอา Cloudy ย้อมซะเลย
White Balance แบบ Shade หาตัวอย่างไม่ได้ เช่นกันครับ ลองไปเล่นดูกันเอาเองนะ
สุดท้าย White Balance แบบ Color temp(K) สำหรับรูปนี้ ไม่มีแดดตั้งเป็น Cloudy อาจไม่ถูกใจ
ลองไล่ด้วย K ดู มาจบลงที่ 5560K ครับ
ใช้ White Balance ในการย้อมสี...บรรยากาศ ออกส้มๆ อยู่แล้ว... แต่ไม่ชัดเจน...เร่งสีขึ้น... ด้วยการอัดสีส้ม... ของ 10000K เข้าไปอีกที
รูปนี้ใช้ 10000K เพราะต้องการย้อมสีเช่นกัน
ข้อดีของการย้อมสีคือรูปมันจะได้ "Theme สี" ที่เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น...
แต่ต้องเลือกสีให้เข้ากับงานด้วย
เดี๋ยวอัด 10000K ลูกเดียวเลย... ส้ม เหลือง กระจาย...
ดูตัวอย่างการ Shift สีกันบ้าง (การตั้งค่าที่ใช้ตามมุมขวาล่างในรูปเลย)
สรุปใจความหลักๆ อีกที...
1. ถ่ายภายใต้สภาพแสงแบบไหน... ก็ให้ตั้ง White Balance แบบนั้น...
2. แม้ว่าในบางครั้งเราตั้ง White Balance แล้ว แต่สีเพี้ยน ก็สามารถปรับละเอียด ด้วยการ Shift สีเอา
3. ในขั้น Advance. สามารถใช้ White Balance ย้อมสีรูปให้เป็นอย่างที่ต้องการได้
หลักๆ ก็คงมีเท่านี้ครับ
ถ้าหากเราถ่ายรูปต้นแบบมาดี สามารถมาแต่งเติมต่อส่วนขาดเหลือใน Ps ได้ ทำให้ได้งานที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น อย่าลืมว่าการพึ่งพา Ps อย่าเดียวอาจจะลำบาก หากท่านต้องทำงานกับภาพจำนวนมาก
เพราะฉะนั้นลองศึกษา และปฏิบัติดู จะช่วยลดเวลาการทำงานได้มากทีเดียว
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบ จาก http://auxincool.multiply.com/
ภาพตัวอย่างถ่ายไล่ให้ดูตั้งแต่ อันแรก(2500K) จนถึงอันสุดท้ายเลย(10000K)
สังเกตุดูการไล่สีนะครับ
White Balance ชนิดนี้เหมาะสำหรับคนที่แม่นเรื่องอุณหภูมิของแสง
ส่วนมากจะใช้ White Balance ชนิดนี้เมื่อ
1. White Balance สำเร็จรูปมันเกิด Error สูง เปลี่ยนมาปรับแบบละเอียดด้วย Color temp(K) น่าจะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องกว่า
2. ต้องการย้อมสีรูปเพื่อให้ได้สีอย่างที่ต้องการ
สำหรับบางท่าน ตั้ง Auto ตลอด
ระวังนะครับ เพราะหลายๆ เหตุการณ์ สีมันเพี้ยนเอาง่ายๆ
ศึกษาเพิ่มเติมอีกนิดให้เข้าใจ ไหนๆ ก็มีอุปกรณ์แล้ว ใช้ให้คุ้มค่าดีกว่า
เมื่อใช้เป็น จะถ่ายรูปสนุกขึ้นอีกเยอะเลยครับ ดูตัวอย่างภาพล่างนะครับ
ต่อไปจะให้ดูภาพตัวอย่าง แต่ละแบบ วัตถุสีขาว ก้ควรจะได้สีขาวตามที่ตาเห็นนะครับ
เห็นไฟส้มๆ เมื่อไหร่ ใช้ Incandescent ก่อนเลย
มีน้อยมากที่สีเพี้ยน... ถ้าสีเพี้ยนก็ Shift สีช่วยเอา... ไม่ยากครับ
ภายในห้องติดหลอดไฟแบบหัวกลม
ตั้ง White Balance เป็น Incandescent โลด
วัดแสงดีๆ หน่อย... ไม่ต้อง Shift สี... ได้อย่างที่ต้องการเลย
ตามด้วย Fluorescent ...
รูปนี้ภายในร้านติดหลอดไฟแบบ Fluorescent และคิดว่าเป็นชนิด Day White Fluorescent...
ก็ตั้ง White Balance เป็น Fluorescent ชนิด Day White เลยครับ... ได้รูปอย่างที่เห็น
ตามด้วย White Balance Direct sunlight...
อยู่กลางแดดจ้าเมื่อไหร่ เปิดตัวนี้เลย ไม่ผิดหวัง... เหมาะกับการถ่าย lanscape
นอกจากนี้การถ่ายท้องฟ้า ยังสามารถย้อมสีอะไรก็ได้ที่เราต้องการ โดยลองเปลี่ยน White Balance ไปเรื่อยๆ จนพอใจ
White Balance แบบ Flash หารูปตัวอย่างไม่ได้อ่ะ ขออนุญาตข้ามครับ 555+
ต่อกันที่แบบ Cloudy อยากได้รูปโทนร้อน เอา Cloudy ย้อมซะเลย
White Balance แบบ Shade หาตัวอย่างไม่ได้ เช่นกันครับ ลองไปเล่นดูกันเอาเองนะ
สุดท้าย White Balance แบบ Color temp(K) สำหรับรูปนี้ ไม่มีแดดตั้งเป็น Cloudy อาจไม่ถูกใจ
ลองไล่ด้วย K ดู มาจบลงที่ 5560K ครับ
ใช้ White Balance ในการย้อมสี...บรรยากาศ ออกส้มๆ อยู่แล้ว... แต่ไม่ชัดเจน...เร่งสีขึ้น... ด้วยการอัดสีส้ม... ของ 10000K เข้าไปอีกที
รูปนี้ใช้ 10000K เพราะต้องการย้อมสีเช่นกัน
ข้อดีของการย้อมสีคือรูปมันจะได้ "Theme สี" ที่เป็นเอกลักษณ์มากขึ้น...
แต่ต้องเลือกสีให้เข้ากับงานด้วย
เดี๋ยวอัด 10000K ลูกเดียวเลย... ส้ม เหลือง กระจาย...
ดูตัวอย่างการ Shift สีกันบ้าง (การตั้งค่าที่ใช้ตามมุมขวาล่างในรูปเลย)
สรุปใจความหลักๆ อีกที...
1. ถ่ายภายใต้สภาพแสงแบบไหน... ก็ให้ตั้ง White Balance แบบนั้น...
2. แม้ว่าในบางครั้งเราตั้ง White Balance แล้ว แต่สีเพี้ยน ก็สามารถปรับละเอียด ด้วยการ Shift สีเอา
3. ในขั้น Advance. สามารถใช้ White Balance ย้อมสีรูปให้เป็นอย่างที่ต้องการได้
หลักๆ ก็คงมีเท่านี้ครับ
ถ้าหากเราถ่ายรูปต้นแบบมาดี สามารถมาแต่งเติมต่อส่วนขาดเหลือใน Ps ได้ ทำให้ได้งานที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น อย่าลืมว่าการพึ่งพา Ps อย่าเดียวอาจจะลำบาก หากท่านต้องทำงานกับภาพจำนวนมาก
เพราะฉะนั้นลองศึกษา และปฏิบัติดู จะช่วยลดเวลาการทำงานได้มากทีเดียว
ขอขอบคุณรูปภาพประกอบ จาก http://auxincool.multiply.com/
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)