...

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เครื่องมือรีทัชพื้นฐาน (ตอนที่1)

ว่ากันด้วยเครื่องมือพื้นฐาน ในโปรแกรม lightroom วันนี้มาแนะนำก่อนสามอันคือ Crop overlay , spot removal และ red eye correction สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่ทราบนะครับ

แนะนำดูแบบ HD


***แถมพิเศษ เรื่องทฤษฎีการจัดองค์ประกอบแบบต่างๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก google
หรือไปที่บอร์ดนี้ ซึ่งสรุปได้ดี มีภาพประกอบเข้าใจง่าย ลองไปอ่านกันดูนะครับ
คลิกที่ลิงค์เลย http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/2012/10/O12749628/O12749628.html

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558

hyperfocal distance (ตอนพิเศษ)

ในบทความนี้เป็นการพูดถึงเรื่อง hyperfocal distance ซึ่งเคยอธิบายไว้แล้วในบทความเก่าๆ แต่ครั้งนี้มาเป็นคลิปวีดีโอ เพื่อเพิ่มการอธิบายให้เข้าใจมากขึ้น 

แนะนำดูแบบ HD


สรุปเพิ่มเติมเล็กน้อยนะครับ
1.hyperfocus ไม่ได้หมายถึงการโฟกัสที่ได้ภาพชัดที่สุด แต่หมายถึงการโฟกัสที่ได้ระยะชัดกว้างที่สุด
2.hyperfocus ไม่ได้คมชัดเท่ากันทุกจุด หมายความว่า แน่นอนจุดโฟกัสต้องชัดที่สุด แต่ส่วนอื่นๆก็ชัดในแบบที่พอรับได้
3.hyperfocus เป็นการเลือกใช้ค่า F ที่พอเพียง ครอบคลุมจุดที่เราต้องการความชัด โดยไม่ใช้ F สูงเกินความจำเป็น (เมื่อ F สูงเกิน ภาพจะไม่คมชัด)
4.เรา จะเลือกใช้ hyperfocus หรือ infinity โฟกัส ก็ได้  ถ้าหากฉากหน้าที่เราต้องการให้ชัด ไม่ได้อยู่ใกล้กล้องเกิน เช่น ฉากหน้าที่เราต้องการให้ชัดนั้นอยู่ห่างจากกล้อง 3m จากในคลิป เลนส์ 18 mm F11 ได้ระยะชัดเริ่มที่ 0.33m  ส่วนถ้าหมุนไปที่ infinity จะได้ระยะชัดเริ่มที่ประมาณ 0.8-1m (ค่านี้ประมาณเอาจากสเกลบนเลนส์นะครับ) เราเลือกใช้โฟกัสแบบไหนก็ได้ภาพเหมือนกัน เพราะสิ่งที่เราต้องการให้ชัดมันอยู่ห่างตั้ง 3m
5.เลนส์ทางยาวมากๆก็ ใช้ hyperfocus ได้เหมือนกัน แต่ระยะชัดหน้าจะเริ่มไกลตัวกล้องหน่อย ก็ไม่มีผลอะไร ถ้าจุดที่เราต้องการให้เริ่มชัดมันอยู่ไกลกว่าค่าจุดที่เริ่มชัดหน้าจากการ คำนวณตามสูตร
6.ถ้าต้องการให้ช่อง view finder แสดงภาพตามค่า F ที่เราตั้งไว้  ให้กดปุ่ม PV (ปุ่มเช็คระยะชัดลึก)บนกล้อง ภาพที่มองผ่านช่องมองจะแสดงความชัดตามค่า F ที่เราตั้งไว้ (แต่แสงอาจจะมืดลง ต้องลองทำดูถึงจะรู้)

ก็คิดว่าน่าจะเข้าใจมากขึ้น แต่ถ้าอยากเห้นผลลัพธ์ ต้องออกไปลองแล้วล่ะครับ
พบกันตอนหน้า สำหรับโปรแกรม Lightroom กันต่อนะครับ

วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ฝึกใช้ camera calibration

เมื่อก่อนตอนที่ผมหัดถ่ายรูปแรกๆ ผมนำไฟล์ภาพจากกล้อง(RAW) มาเปิดในคอมพิวเตอร์ ถึงกับงงเลย
ทำไมสีสัน มันไม่เหมือนตอนดูจากจอ LCD กล้อง ทำไมสีมันซีดๆ เมื่อได้ศึกษาหาคำตอบก็ค้นพบว่า
ภาพ ที่เราเห็นจากจอกล้องนั้น ได้ผ่านกระบวนการ process ตามค่า setting ต่างๆในตัวกล้อง เช่น พวก picture control / picture style เป็นต้น แต่ไฟล์ raw ที่นำมาเปิดด้วยโปรแกรม LR จะถูก process ด้วยค่า setting ของ Adobe ซึ่งแน่นอนว่าภาพที่ได้ย่อมแตกต่างกัน (แม้แต่กล้อง ของแต่ละค่ายก็มีกระบวนการ process ที่ต่างกันอีกด้วย) ดังนั้นวันนี้ ผมจึงจะมานำเสนอ การ calibration เพื่อให้ได้ภาพที่มีสีสันต่างๆ ใกล้เคียงกับภาพที่มองจากหลังกล้อง เชิญรับชมได้จากคลิปเลย...

แนะนำดูแบบ HD


****ในคลิปนี้แถมสอนการใช้งาน Sync ให้ด้วย เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ลดขั้นตอนในการแต่งภาพได้มากเลยทีเดียว
****ขออภัยในคลิปพูดผิดตรงที่บอกว่าดู survey (ในคลิปเป็นมุมมอง compare)
- คีย์ลัดในการดู survey view กดปุ่ม N
- คีย์ลัดในการดู compare view กดปุ่ม C
- คีย์ลัดในการดู grid view กดปุ่ม G

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เครื่องมือ remove chromatic aberration (LR5)

รูปที่มักจะเกิด Chromatic ก็คือรูปถ่ายย้อนแสง บางรูปที่ถ่ายอาจจะเกิดมาก บางรูปก็อาจจะเกิดน้อย แต่ถ้าหากพบว่ามันเป็นส่วนเกินของภาพหรือดูแล้วรู้สึกขัดตา เราก็จะต้อง Remove มันออกไป มาดูการกำจัดขอบม่วงโดยใช้โปรแกรม LR กันดีกว่า

(แนะนำดูแบบ HD)


****เพิ่มเติมจากในคลิปนะครับ
ข้อควรระวังในการปรับลด chromatic  หากวัตถุอื่นๆที่มีสีใกล้เคียงกับขอบม่วง/ขอบเขียว ถ้าเราดึงแถบลดสีม่วง/เขียว มากเกินไป บริเวณที่ว่านี้จะถูกดูดสีออกไปด้วย เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรดึงแถบม่วงและแถบเขียวจนสุดนะครับ

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จัดการสัดส่วนที่ผิดเพี้ยน

ส่วนที่เราต้องเรียนรู้ต่อจาก Histogram ก็คือ พาแนล Lens Corrections เป็นส่วนที่เอาไว้ปรับแก้ความบิดเบี้ยวของตัวเลนส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ที่ต้องการสัดส่วนที่ตรงความเป็นจริง ควรมีส่วนบิดเบี้ยวที่เกิดจากเลนส์น้อยที่สุด (Distortion น้อย) ซึ่งเลนส์ดีๆแบบนี้ ราคาแพงมาก เพราะฉะนั้นผมจึงต้องพึ่ง LR เพื่อลดต้นทุนค่าอุปกรณ์ ก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง... แต่ถ้าท่านอยากได้ความเบี้ยวที่เป็นธรรมชาติจากตัวเลนส์ ท่านสามารถข้ามบทเรียนนี้ไปได้เลย...หรือจะเรียนรู้ไว้ก็ไม่เสียหายนะ

อันดับแรก เปิดโปรแกรม LR แล้ว Import รูปที่บิดเบี้ยวจากตัวเลนส์ มาสักรูปครับ(ชนิดไฟล์ Raw นะครับ) จากนั้นไปที่แท็บ Develop แล้วลองเลื่อนหาดูพาแนล Lens Corrections (ตามรูปด้านล่าง)


เห็นความเบี้ยวในภาพแล้วใช่ไหม..ต่อไปเรามาดูเครื่องมือดีกว่า ตอนนี้จะขอกล่าวถึงแท็บในพาเนล Lens Corrections สามอันก่อน คือ Basic , profile , manual


 1.แท็บ Basic  ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าพื้นฐาน  เป็นการปรับแต่งค่าเบื้องต้น ประกอบด้วย
- Enable Profile Corrections ติ๊กเพื่อเปิดการใช้งานในส่วนของแท็บ Profile 
- Remove Chromatic Aberration ติ๊กเพื่อเปิดการใช้งานในส่วนแท็บ Color (จะกล่าวในบทต่อไป)
- Constrain Crop ตัดส่วนเกินทิ้ง เอาเฉพาะพื้นที่ภาพ (เดี่ยวมีตัวอย่างให้ดู)
ปุ่มด้านล่างอีก 5 ปุ่ม คือ
- Auto ใช้ปรับความเบี้ยวแบบอัตโนมัติ โดยให้โปรแกรม LR จัดการให้
- Off  ปิดการใช้งานปุ่ม Auto (เมื่อเข้ามาทุกครั้งจะเป็น Off เสมอ)
- Level จัดการปรับระดับความเบี้ยวในแนวนอน อัตโนมัติ
- Vertical จัดการปรับระดับความเบี้ยวในแนวดิ่ง อัตโนมัติ
- Full จัดการภาพให้เป็น Perspective (ภาพที่มีจุดรวมสายตาอยู่จุดใดจุดหนึ่ง อยากทราบเพิ่มเติมหาได้ใน Google ครับ)  

2. แท็บ Profile เป็นส่วนที่ LR ได้เก็บค่าความบิดเบี้ยวของภาพ ที่เกิดจากกล้องและเลนส์แต่ละโมเดลไว้  เพื่อเป็นการอ้างอิง แล้วปรับความเบี้ยวให้ลดลงโดยอัตโนมัติ 
- Setup เราจะกำหนดเป็น Auto หรือ Default ก็ได้ โปรแกรมจะไปเลือก model กล้องให้ตามค่าที่บันทึกมาในไฟล์ Raw (ถ้าเป็นไฟล์ jpeg โปรแกรมจะไม่รู้ว่าเราใช้กล้องและเลนส์ตัวไหนถ่ายมา)
- Lens Profile คงไม่ต้องบอกว่าคืออะไร ตัวนี้โปรแกรมเลือกให้อัตโนมัติอยู่แล้ว ไม่ต้องไป custom นะครับ เพราะค่าที่ดีที่สุดก็คือ เลือก Model ตรงกับกล้องและเลนส์ที่เราใช้ถ่ายมานั่นแหละครับ
- Amount ส่วนที่ใช้ปรับแต่งเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ถ้าเรายังไม่พอใจกับการจัดการอัตโนมัติของ LR ตรงนี้มีให้ปรับสองอันคือ Distortion (ความป่องตรงกลางภาพ) และ Vignetting (ขอบดำ/ขาว)


3. หากเรายังไม่พอใจกับการจัดการอัตโนมัติ  สามารถปรับทั้งหมดเองได้ ที่แท็บ Manual 
รายละเอียดดังนี้
- Distortion  ใช้เพิ่มความป่องบวม หรือจะลดลงจนยุบก็ได้ 
- Vertical  ใช้บิดภาพในแนวตั้ง บิดขึ้นหรือบิดลง
- Horizontal ใช้บิดภาพแนวนอน บิดซ้ายหรือบิดขวา
- Rotate  ใช้หมุนองศาภาพ เอียงซ้ายหรือเอียงขวา
- Scale ใช้ย่อหรือขยาย  ซูมเข้าหรือซูมออก
- Aspect ใช้ยืดภาพออก ยืดในแนวนอน หรือ ยืดในแนวตั้ง
- Constrain Crop ที่ติดค้างไว้เมื่อกี้ (ใช้งานเหมือนกับในแท็บ Basic) ดูได้จากภาพด้านล่าง 



- ในส่วน Lens Vignetting มีสองค่าให้ปรับ คือ Amount (ใช้เพิ่ม/ลดแสงบริเวณขอบภาพ) และ Midpoint (คงสภาพแสงจากจุดกลางภาพ  ต้องการบริเวณกว้างหรือแคบ เพื่อไม่ให้แสงที่เราปรับเพิ่ม/ลด ในส่วน Amount เข้ามารบกวน) สังเกตุ ถ้า midpoint ค่ามากขอบวิกเน็ทจะชัดเจน  ถ้าค่า midpoint น้อย  ขอบวิกเน็ทจะเกลี่ยให้เนียนยิ่งขึ้น แต่แสงจะกินเข้ามากลางภาพเยอะด้วย

มาดูผลลัพธ์สุดท้ายของการปรับลดความบิดเบี้ยวในภาพตัวอย่างนี้


****แนะนำพิเศษ  การปรับลดความบิดเบี้ยวบางครั้งจะต้องมีส่วนที่โดน Crop ทิ้ง เพราะฉะนั้นเวลาที่ถ่ายภาพมา ควรจัดองค์ประกอบ แล้วเหลือที่สำหรับการตัดทิ้งนี้ด้วย

ลองไปฝึกกันดูนะครับ สำหรับตอนนี้ก็คงจบเพียงเท่านี้ ครั้งหน้าจะมาพูดต่อในส่วนที่ติดค้างอีกที่
ก็คือ Remove Chromatic Aberration....

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ภาพ ด้วย Histogram

histigram คือ กราฟที่จะช่วยบอกค่าต่างๆในรูปรูปหนึ่งว่า ในรูปนั้นมีปริมาณส่วนที่มืด ส่วนที่พอดีหรือส่วนที่สว่าง มากแค่ไหน นอกจากนี้ยังบอกค่าของเม็ดสี (RGB) ในแต่ละจุดบนภาพของเราด้วย การถ่ายภาพให้ได้ระดับแสงที่ดีนั้น ย่อมนำมาต่อยอดในการแต่งภาพได้ดีกว่า ในกล้องสมัยนี้ จะมี Histogram บอกให้เราทราบทันทีหลังจากที่เรากดชัตเตอร์ เดี๋ยวเราจะมาเรียนรู้ว่า ภาพที่ดีนั้น ควรมีกราฟลักษณะใด มารู้จักพาแนล Histogram ใน LR กันเลย

หลังจากเปิดโปรแกรมแล้ว ลอง import ภาพเข้ามาสักภาพครับแล้วไปเลือกที่แท็บ Develop


พาแนล Histogram จะอยู่ขวามือบนนะครับ มาดูองค์ประกอบรวมของพาแนลก่อน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgRFF3Fjth2aGUuo7mf_C-7nII-f1eVk8JixmMQrvXRKoMPAGMyp7tBBjSH-GIT6Zl_3qhrTWnrin_DhJ12cj80cKeXYRMW6BEtXb147L1EHTFTK03dnJSk-_RsgeL6ELSyiJfsAT2fP34/s1600/histogram1.jpg 
 จากภาพด้านบน จุดสูงสุดของกราฟอยู่ที่โซน Blacks แสดงว่าภาพนี้ พื้นที่แสงส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมืด
การอ่านกราฟก็เหมือนทั่วไป แกนแนวนอนเรียงจากมืดไปหาสว่าง(ซ้ายไปขวา) แกนแนวตั้งบอกปริมาณจากน้อยไปหามาก(ล่างขึ้นบน)

มาดูรูปที่ 1 สมมติว่าถ่ายมาได้แบบนี้จากตัวกล้องเลย (อันนี้ผมดึง Exprosure ลงนะครับ เพื่อทำเป็นภาพตัวอย่าง)

1. Shadows clipping คือ ส่วนที่มืดมาก จนเส้นกราฟล้นไปทางซ้ายมือ ถ้าถ่ายภาพมาได้แบบนี้ ส่วนที่ถูก Clipping ตัดออกไป จะไม่สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้เลย คือมืดจนจมไปเลย หากเราดูด้วยตาจะเห็นว่ามีพื้นที่ที่เป็นสีดำมากมาย แต่ไม่โดนไฮไลท์สีน้ำเงิน แสดงว่าจุดนั้นยังสามาถดึงรายละเอียดกลับมาได้ไม่มากก็น้อย

รูปที่ 2 ครับ สมมติปรับค่ากล้องแล้วถ่ายใหม ได้ภาพสว่างแบบข้างล่างนี้


2. Hightlight Clipping คือ ส่วนที่สว่างมาก จนเส้นกราฟล้นไปทางขวามือ เช่นเดียวกันส่วนที่สว่างจนถูกตัดทิ้ง จะไม่สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้เลย คือสว่างจนเป็นสีขาวไปเลย สังเกตุด้วยตายังมีพื้นที่สีขาวอีกเยอะ แต่ไม่โดนไฮไลท์สีแดง แสดงว่ายังดึงกลับมาได้ไม่มากก็น้อย 

รูปที่ 3 ผมปรับกล้องแล้วถ่ายใหม่อีกครั้ง ได้รูปแบบข้างล่างนี้


3. เมื่อคลิกทั้ง Shadows clipping และ Hightlight clipping แล้วไม่มีจุดไฮไลท์สีน้ำเงินและสีแดง นั่นแสดงว่าภาพที่เราถ่ายมานั้น เก็บรายละเอียดได้ครอบคลุมทั้งหมด สามารถนำมาดึง Exprosure ได้ (ดึงเพิ่ม/ลดแสง) สังเกตุว่าเส้นกราฟจะไม่ล้นขอบด้านขวาและด้านซ้าย ไม่มีส่วนที่ถูก Clipping ออก

***เพราะฉะนั้น เมื่อท่านกดชัตเตอร์ไปแล้ว ควรที่จะดู Histogram บนกล้องด้วยว่ามีส่วนล้นขอบหรือไม่ ถ้ามีส่วนล้น ควรถ่ายใหม่เลยครับ เพื่อให้ได้ภาพที่สามารถนำมาต่อยอดในการแต่งภาพได้ดี

นอกจากนี้ Histogram ของ LR ยังสามารถช่วยให้เราปรับแสงเบื้องต้นได้ด้วย โดยการคลิกเมาส์ค้างไว้ในโซนที่เราต้องการปรับ (Blacks Shadows Exprosure hightlights whites) แล้วลากเมาส์ไปทางซ้ายหากต้องการลดแสงในโซนนั้นลง หรือ ลากเมาส์ไปทางขวา เมื่อต้องการเพิ่มแสงให้โซนนั้น เส้นกราฟในโซนจะย้ายตามทิศทางการลากเมาส์ของเรา ดูรูปประกอบด้านล่าง



การปรับค่าในแต่ละโซนจะสามารถปรับได้สูงสุด +100 และ ลดต่ำสุดได้ -100
***แนะนำพิเศษ โดยทั่วไปการปรับค่าของผม จะไม่ใช้ + หรือ - เกิน 20  จะเลือกปรับโซนละนิดหน่อย เพราะหากปรับมากไปทำให้ภาพสูญเสียคุณภาพ(เมื่อซูมดู 100%) จะปรับเกินนี้ก็ต่อเมื่อไม่มีทางเลือกแล้ว นอกจากนี้การปรับค่าผมยังรักษาสมดุลด้วยเช่น เมื่อ whites -20  ก็ควรไปดัน Blacks +20  (ผิดหรือถูกหลักไม่รู้ อันนี้ประสบการณ์ผมล้วนๆ) ดูได้จากรูปด้านล่างนี้


 สรุปบทนี้ ... การถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ดีมีคุณภาพนั้น จะต้องพึ่ง Histrogram ซึ่งเป็นเหมือนเข็มทิศของนักถ่ายภาพเลย (การดูภาพด้วยตาจากจอ LCD บนกล้องอาจไม่เพียงพอ) การได้ภาพที่ดีเป็นต้นทุน ทำให้นำไปปรับแต่งได้ โดยไม่เสียคุณภาพหรือเสียไปน้อยมาก อ้อ..ลืมแนะนำว่า ภาพที่จะนำมาปรับแต่งนั้น ควรเลือกใช้ไฟล์ RAW เนื่องจากมีการเก็บค่าความลึกของสีมากกว่าไฟล์แบบ JPEG ลึกแล้วดีกว่ายังไง>> สามารถขุดได้เยอะกว่าไงครับ อิอิ

...ติดตาม..ตอนต่อไป