...

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

วิเคราะห์ภาพ ด้วย Histogram

histigram คือ กราฟที่จะช่วยบอกค่าต่างๆในรูปรูปหนึ่งว่า ในรูปนั้นมีปริมาณส่วนที่มืด ส่วนที่พอดีหรือส่วนที่สว่าง มากแค่ไหน นอกจากนี้ยังบอกค่าของเม็ดสี (RGB) ในแต่ละจุดบนภาพของเราด้วย การถ่ายภาพให้ได้ระดับแสงที่ดีนั้น ย่อมนำมาต่อยอดในการแต่งภาพได้ดีกว่า ในกล้องสมัยนี้ จะมี Histogram บอกให้เราทราบทันทีหลังจากที่เรากดชัตเตอร์ เดี๋ยวเราจะมาเรียนรู้ว่า ภาพที่ดีนั้น ควรมีกราฟลักษณะใด มารู้จักพาแนล Histogram ใน LR กันเลย

หลังจากเปิดโปรแกรมแล้ว ลอง import ภาพเข้ามาสักภาพครับแล้วไปเลือกที่แท็บ Develop


พาแนล Histogram จะอยู่ขวามือบนนะครับ มาดูองค์ประกอบรวมของพาแนลก่อน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgRFF3Fjth2aGUuo7mf_C-7nII-f1eVk8JixmMQrvXRKoMPAGMyp7tBBjSH-GIT6Zl_3qhrTWnrin_DhJ12cj80cKeXYRMW6BEtXb147L1EHTFTK03dnJSk-_RsgeL6ELSyiJfsAT2fP34/s1600/histogram1.jpg 
 จากภาพด้านบน จุดสูงสุดของกราฟอยู่ที่โซน Blacks แสดงว่าภาพนี้ พื้นที่แสงส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มมืด
การอ่านกราฟก็เหมือนทั่วไป แกนแนวนอนเรียงจากมืดไปหาสว่าง(ซ้ายไปขวา) แกนแนวตั้งบอกปริมาณจากน้อยไปหามาก(ล่างขึ้นบน)

มาดูรูปที่ 1 สมมติว่าถ่ายมาได้แบบนี้จากตัวกล้องเลย (อันนี้ผมดึง Exprosure ลงนะครับ เพื่อทำเป็นภาพตัวอย่าง)

1. Shadows clipping คือ ส่วนที่มืดมาก จนเส้นกราฟล้นไปทางซ้ายมือ ถ้าถ่ายภาพมาได้แบบนี้ ส่วนที่ถูก Clipping ตัดออกไป จะไม่สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้เลย คือมืดจนจมไปเลย หากเราดูด้วยตาจะเห็นว่ามีพื้นที่ที่เป็นสีดำมากมาย แต่ไม่โดนไฮไลท์สีน้ำเงิน แสดงว่าจุดนั้นยังสามาถดึงรายละเอียดกลับมาได้ไม่มากก็น้อย

รูปที่ 2 ครับ สมมติปรับค่ากล้องแล้วถ่ายใหม ได้ภาพสว่างแบบข้างล่างนี้


2. Hightlight Clipping คือ ส่วนที่สว่างมาก จนเส้นกราฟล้นไปทางขวามือ เช่นเดียวกันส่วนที่สว่างจนถูกตัดทิ้ง จะไม่สามารถดึงรายละเอียดกลับมาได้เลย คือสว่างจนเป็นสีขาวไปเลย สังเกตุด้วยตายังมีพื้นที่สีขาวอีกเยอะ แต่ไม่โดนไฮไลท์สีแดง แสดงว่ายังดึงกลับมาได้ไม่มากก็น้อย 

รูปที่ 3 ผมปรับกล้องแล้วถ่ายใหม่อีกครั้ง ได้รูปแบบข้างล่างนี้


3. เมื่อคลิกทั้ง Shadows clipping และ Hightlight clipping แล้วไม่มีจุดไฮไลท์สีน้ำเงินและสีแดง นั่นแสดงว่าภาพที่เราถ่ายมานั้น เก็บรายละเอียดได้ครอบคลุมทั้งหมด สามารถนำมาดึง Exprosure ได้ (ดึงเพิ่ม/ลดแสง) สังเกตุว่าเส้นกราฟจะไม่ล้นขอบด้านขวาและด้านซ้าย ไม่มีส่วนที่ถูก Clipping ออก

***เพราะฉะนั้น เมื่อท่านกดชัตเตอร์ไปแล้ว ควรที่จะดู Histogram บนกล้องด้วยว่ามีส่วนล้นขอบหรือไม่ ถ้ามีส่วนล้น ควรถ่ายใหม่เลยครับ เพื่อให้ได้ภาพที่สามารถนำมาต่อยอดในการแต่งภาพได้ดี

นอกจากนี้ Histogram ของ LR ยังสามารถช่วยให้เราปรับแสงเบื้องต้นได้ด้วย โดยการคลิกเมาส์ค้างไว้ในโซนที่เราต้องการปรับ (Blacks Shadows Exprosure hightlights whites) แล้วลากเมาส์ไปทางซ้ายหากต้องการลดแสงในโซนนั้นลง หรือ ลากเมาส์ไปทางขวา เมื่อต้องการเพิ่มแสงให้โซนนั้น เส้นกราฟในโซนจะย้ายตามทิศทางการลากเมาส์ของเรา ดูรูปประกอบด้านล่าง



การปรับค่าในแต่ละโซนจะสามารถปรับได้สูงสุด +100 และ ลดต่ำสุดได้ -100
***แนะนำพิเศษ โดยทั่วไปการปรับค่าของผม จะไม่ใช้ + หรือ - เกิน 20  จะเลือกปรับโซนละนิดหน่อย เพราะหากปรับมากไปทำให้ภาพสูญเสียคุณภาพ(เมื่อซูมดู 100%) จะปรับเกินนี้ก็ต่อเมื่อไม่มีทางเลือกแล้ว นอกจากนี้การปรับค่าผมยังรักษาสมดุลด้วยเช่น เมื่อ whites -20  ก็ควรไปดัน Blacks +20  (ผิดหรือถูกหลักไม่รู้ อันนี้ประสบการณ์ผมล้วนๆ) ดูได้จากรูปด้านล่างนี้


 สรุปบทนี้ ... การถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ดีมีคุณภาพนั้น จะต้องพึ่ง Histrogram ซึ่งเป็นเหมือนเข็มทิศของนักถ่ายภาพเลย (การดูภาพด้วยตาจากจอ LCD บนกล้องอาจไม่เพียงพอ) การได้ภาพที่ดีเป็นต้นทุน ทำให้นำไปปรับแต่งได้ โดยไม่เสียคุณภาพหรือเสียไปน้อยมาก อ้อ..ลืมแนะนำว่า ภาพที่จะนำมาปรับแต่งนั้น ควรเลือกใช้ไฟล์ RAW เนื่องจากมีการเก็บค่าความลึกของสีมากกว่าไฟล์แบบ JPEG ลึกแล้วดีกว่ายังไง>> สามารถขุดได้เยอะกว่าไงครับ อิอิ

...ติดตาม..ตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น