หลายคนคงจะสงสัยกันนะครับว่า คนอื่นเค้าถ่ายรูปกันยังไงทำไมมันชัดได้ใจจริงๆ
หลายคนคงดำน้ำกันมา ลองผิดลองถูกสารพัด
บางทีดำซะลึกเลย หาทางออกไม่เจอ ก่อนที่เราจะไปรู้จักมัน
หลายคนคงได้ยินมาประมาณนี้
- หมุนไปที่ infinity เลยครับชัดแน่นอน
- เปิด F 22 เลยครับ ยิ่งแคบยิ่งชัด ชัวร์
- เล็งขอบฟ้าเลยครับ เดี๋ยวมันชัดเองทั้งภาพ
ถ้าใครยังเข้าใจว่าต้องทำแบบข้างบนอยู่ เรามาดูตรงนี้กันนะครับ
Hyperfocal Distance โดยมากแล้วมักจะใช้กับการถ่ายภาพ Landscape
อธิบายได้ง่ายๆคือ การที่เราหาจุด focus ที่จะทำให้ภาพชัดมากที่สุด
จาก Aperture (รูรับแสง) และ focal Range (ระยะเลนส์) ที่เราใช้
โดยที่ระยะ Hyperfocal Distance ที่เราได้เมื่อนำมาหารครึ่งจะได้ระยะชัดมา
อย่าเพิ่ง งงนะครับ ตามนี้นะ สมมติว่าระยะ Hyperfocal ที่ได้มาคือ 1 เมตร
ภาพของเราจะชัดตั้งแต่ 0.5 เมตรไปจนสุดขอบฟ้าครับ
ไม่งง แล้วใช่มะพอนึกออกแล้วนะครับ แต่ตอนนี้ทุกคนกะลังจะถามใช่มั้ยครับ
ว่าแล้วเราจะหา Hyperfocal ยังไง
มันมีสูตรตามนนี้นะครับ
( Focal Range ยกกำลัง 2 ) หาร ( Aperture คูณ 0.03 )
** กล้องตัวคูณใช้ 0.02 นะครับ
Ex.
( 17mm ^ 2 = 289 ) หาร ( F11 * 0.03=0.33 )
ได้ 289 หาร 0.33 = 875mm หรือ 0.87 เมตร
เท่ากับว่าเมื่อถ่ายที่ 17mm ( กล้อง FX ) ที่ F11 ภาพจะชัดตั้งแต่ 0.43 เมตร
ไปจนสุดขอบฟ้า พอจะเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับ
แล้วถามว่า จะไปถ่ายรูปหรือสอบเลขกันแน่เนี่ย เราสามารถหาไปก่อนได้ครับ
หรือจะหาตารางก็ได้
เมื่อเราคุ้นเคยแล้ว เราจะรู้เองครับว่าหมุนเท่าไร ระยะชัดเริ่มจากตรงไหน
เปลี่ยนเลนส์ปุ๊บรู้ปั๊บไรประมาณนี้
ข้อดีของมันคืออะไร
- เวลาไปถ่าย twilight หรือที่มืดมาก มัวแต่มาโฟกัส มองไม่รู้เรื่องหรอกครับ
หมุนไปที่ Hyperfocal
ของแต่ละระยะเลยครับจบ
- ความรวดเร็ว Dusk & Dawn (รุ่งอรุณ กับ สนธยา) ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญมาก
วันๆนึงอาจได้แค่ไม่กี่ shot ครับ ความไวจำเป็นมาก
- ชัดมากๆ ครับ เต็มศักยภาพของตัวเลนส์นั้นๆ เลย
มาดูภาพตัวอย่างกันนะครับ ภาพแรกนี้
เกิดจากการหา Hyperfocal แล้วนะครับที่ระยะ Focal 17mm F11
Hyperfocal Distance 0.875 M
(หมายความว่า ใช้เลนส์ที่ระยะ 17mm F11 แล้วเล็ง ให้ฉากด้านหน้าสุดของเฟรม อยู่ห่างจากตัวกล้อง
ไม่น้อยกว่า 0.875 M นะครับ)
crop foreground มาดูกันก่อน
ทีนี้มาดู F11 แล้วหมุนไปที่ Infinity นะครับ เล็งที่เดิมกับภาพแรก
มาซูมภาพดูกันครับ
ลองเทียบกันดูครับ รูปบนใช้ Hyperfocal ส่วนรูปล่างเป็น Infinity Focal นะครับ
แล้ว F22 อ่ะไม่ดีกว่าหรอชัดลึกนะ ลึกสุดใจเลย
แต่มันมีข้อเสียของมันอยู่ครับ มันมีชื่อเรียกว่า Diffraction
ตัวนี้คืออะไร แปลเป็นไทยได้ประมาณว่า การกระจายตัวของแสง
อธิบายได้ก็คือเมื่อแสงผ่านรูรับแสงแล้วบริเวณ ขอบๆของรูรับรับแสงจะทำให้แสงขาดหาย
ยิ่งแคบเท่าไรยิ่งผลของมันจะมากท่านั้น
โดยทั่วไปแล้วกับกล้องตัวคูณจะเกิดขึ้นที่ F11 ขึ้นไป
ส่วน FX นั้นจะ F16 ขึ้นไป
มาดูรูปข้างล่างครับ ที่ F22
ลองมาดูเปรียบเทียบนะครับ
ครึ่งบนเป็นรูปจากการใช้ hyperfocal ส่วนครึ่งล่างนั้นเป็นผลจาก Diffraction ของ F22 ครับ
เป็นยังไงกันบ้างครับ เห็นความแตกต่างเลยใช่ไหมครับ
ก่อนจะลากันไปวันนี้ ผมมีสิ่งดีดีมานำเสนออีกเช่นเคย
http://www.dofmaster.com/dofjs.html
เป็นเว็บที่ใช้คำนวณหา DOF และ Hyperfocal ของเลนส์แต่ละช่วง กับกล้องแต่ละรุ่น
ลองเข้าไปใช้ดูนะครับ แล้วจะเข้าใจได้มากขึ้น
ผมก็ใช้อยู่ประจำครับ จะช่วยให้เรารู้ระยะทำการของเลนส์ที่เราใช้ (ผมเป็นเลนส์ฟิกซ์ด้วยยิ่งจำง่าย)
วิธีการใช้นะครับ
1.เลือกรุ่นของกล้อง
2.เลือกระยะเลนส์ Focal length (mm)
3.เลือก F ที่เราจะใช้ Selected f-stop
4.เลือกระยะห่างของแบบกับตัวกล้องครับ Subject distance หน่วยเอาเป็น cm ก็ได้ครับเข้าใจง่ายดี
จากนั้นอ่านค่าที่ได้ทางฝั่งขวามือ นี่คือตัวอย่างของผม
ผมเลือกเลนส์ 50mm F1.4 ระยะห่างของกล้องกับแบบที่ 250 cm ค่าที่ได้ตามนี้
-Subject distance คือ ระยะห่างของกล้องกับตัวแบบ
-Depth of field
****Near limit คือ ระยะชัดด้านหน้า จากตัวแบบเข้ามาหากล้อง
****Far limit คือ ระยะชัดด้านหลัง จากตัวแบบออกไป
****Total คือ ระยะชัดครอบคลุมทั้งหมดในภาพ
-In front of subject คือ คิดค่าระยะชัดหน้า ออกมาเป็น %
-Behind subject คือ คิดค่าระยะชัดหลัง ออกมาเป็น %
-Hyperfocal distance คือ ระยะโฟกัสที่จะเริ่มชัดที่สุด ไปจนถึงอินฟินิตี้
-Circle of confusion คือ ขนาด วงกลมที่เล็กที่สุด ก่อนที่จะกลายเป็นจุดแสง
ดูรูปประกอบจะเข้าใจง่ายขึ้นครับ
รูปด้านล่างนี้ แบ่งเป็นสองเรื่องนะครับ ซีกบนเป็นระยะ DOF ซีกล่างเป็นระยะ hyperfocal
สองอย่างนี้จะต่างกัน
- Dof จะมีตัวแปร 3 อย่าง คือ ระยะเลนส์ ระยะโฟกัส และค่า F
- hyperfocal มี 2 ตัวแปร คือ ระยะเลนส์ กับ ค่า F เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับระยะโฟกัส
จากรูปด้านล่างจะเห็นว่า ถ้าผมใช้เลนส์ 50mm ที่ F1.4 ระยะที่จะเริ่มชัดอยู่ที่ 5897.6cm ไป
จนสุดขอบฟ้าเลย
แต่หากผมใช้ 50mm F8 คำนวณค่าแล้ว ระยะ hyperfocal จะเริ่มที่ 10 เมตรกว่าๆ
ฉะนั้นเวลาที่ผมจะถ่ายอะไรที่มันไกลกว่าสิบเมตร แล้วให้ชัดทั้งภาพ
ผมก็เลือกใช้รูรับแสงแค่ F8 ก็เพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องอัด F แคบสุด
เพราะคุณภาพของรูปที่ได้ก็จะต่ำลง เกิด Diffraction ตามที่กล่าวตอนต้นแล้ว
นี่คือหนึ่งตัวอย่างประโยชน์ของ hyperfocal
ยังไงลองเอาไปใช้กันดูนะครับ
...
วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การชดเชยแสง (Exposure Compensation) ตอน2
ตามตัวอย่างนี้ ผมวัดแสงให้พอดีที่รูปหมายเลข 5(ตรงกลาง)
และชดเชยแสงครั้งละ 0.3EV จนถึง 1.3EV ทั้งฝั่งบวกและลบ
แล้วเอารูปมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพการไล่ระดับความสว่างของภาพ
ทีนี้ ในขณะที่เราถ่ายรูปจริงนั้น สมมติว่ารูปอันเดอร์มาก
ถ้าเทียบความมืดแล้วก็น่าจะพอๆ กับรูปหมายเลข 1
ก็ชดเชยแสงไปทางด้าน "บวก" แต่จะเพิ่มครั้งล่ะ 0.3EV ก็ดูจะช้าไปสำหรับรูปที่มืดมาก
การชดเชยครั้งแรก อาจชดเชยไป "+1.0EV" เลย แล้วดูผลลัพธ์ว่า
ได้อย่างที่ต้องการแล้วหรือยัง
หากยังไม่ได้รูปที่ชอบ ก็ชดเชยไปอีกครั้ง ก็น่าจะได้รูปที่พอดีครับ
หลังจากคุณวัดและชดเชยแสงแล้ว หากได้รูปที่มีความสว่างเท่ากับรูปหมายเลข "5"
ก็ถือว่าเป็นรูปที่แสงถูกต้อง
แต่ถ้าความสว่างของรูป ไปตกที่หมายเลข 4 กับ 6 นั้น "ถือว่ารับได้ครับ"
แม้ว่ารูปหมายเลข 4 จะ Under ไปนิดและรูปหมายเลข 6 จะ Over ไปนิด แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ
ถือว่าเกิด Error บ้างเล็กน้อย แก้ไขไม่ยาก
ปรับแต่งในโปรแกรมแต่งรูป 2-3 คลิ๊กก็ได้รูปที่ "แสงพอดี"
แต่หากรูปที่ได้มานั้น ความสว่างตกอยู่ในรูปที่ 1, 2, 3, 7, 8, 9 นั้น ผมแนะนำว่าให้ถ่ายใหม่
เพราะถึงแม้ว่ารูปเหล่านั้นจะสามารถปรับแต่งได้
แต่หากเราได้รูปต้นฉบับที่มืดหรือว่างเกินไป(Error สูง)
เมื่อนำมาปรับด้วยโปรแกรมแต่งรูป คุณภาพของไฟล์จะลดลงครับ เช่น
มี Noise มากขึ้น และยังต้องมาเสียเวลามากในการแต่งอีกด้วย
ฉะนั้น!! ผมแนะนำว่า "ถ่ายใหม่เลยครับ"
มาถึงจุดสำคัญของเรื่องการชดเชยแสง นั่นก็คือ "เราจะต้องชดเชยแสงเมื่อไหร่"
ตอบ : ต้องชดเชยแสง เมื่อไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ผมแบ่งสาเหตุที่ต้องชดเชยแสงไว้ 3 กรณีคือ
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
มาดูตัวอย่างเป็นข้อๆ ไป...
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
ใครที่เคยศึกษาเรื่องการชดเชยแสงมาบ้างก็ต้องเคยเห็นตารางนี้แน่นอน
หลักๆ นั้นเค้าสื่อว่า "ถ่ายรูปสีนั้น" ก็ควรจะชดเชยแสงกลับไป "เท่านี้" เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ตาเห็น เช่น
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีขาวมาก ก็ควรชดเชยแสง "+2.0EV"
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีดำมาก ก็ควรชดเชยแสง "- 2.0EV"
- ส่วนสีอื่นๆ ก็ดูจากตารางครับ
แต่ๆ...
ผมแนะนำว่า "ไม่ต้องไปจำสีและค่าการชดเชยแสง" ของมันหรอกครับ เพราะ
1. ใครจะไปจำได้ว่าสีนั้น(มีความเข้มสีเท่านี้ด้วย) ต้องชดเชยแสงเท่าไหร่
2. สีเดียวกัน ในสภาพแสงที่ต่างกัน มันก็สะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน
เช่นมีลูกบอลสีดำลูกนึง แต่เอาแสงแรงๆ มาส่อง สีที่เรามองเห็นนั้น
อาจไม่เห็นเป็นสีดำแล้วครับ อาจถึงขั้นเห็นเป็นสีขาวเลย
หรือสมมติอีกทีว่าเรามีลูกบอลสีขาวลูกนึง
แต่เอาไปไว้ในห้องที่มืดมากๆ แล้วให้เราไปดู
เราก็ไม่รู้หรอกครับว่า "ลูกบอลนั้นสีขาว" เราอาจมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำเลยด้วยซ้ำ
3. ค่าการชดเชยแสงต่างๆ ที่ให้มานั้น อาจไม่สัมพันธ์กับกล้องรุ่นใหม่ๆ
แต่ๆ...
ตารางนี้มันก็มีประโยชน์มากครับ ประโยชน์ที่ว่าคือ ทำให้เรารู้ว่า "ถ่ายสีอะไร แล้วควรชดเชยไปทางไหน ประมาณเท่าไหร่" เช่น
- หากถ่ายสีเหลือง ก็ควรชดเชยไปทางบวก "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีฟ้าหรือสีชมพู ก็ควรชดเชยไปทางบวก "นิดนึง"
หรือ
- หากถ่ายสีเทาเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีน้ำเงินหรือเขียวเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "นิดนึง"
แล้ว ไอ้ "นิดนึง" นี่มันเท่าไหร่ หรือไอ้ "มากหน่อย" นี่มันเท่าไหร่ นั้น!! ขึ้นอยู่กับประสบการณ์แล้วครับ ใครก็บอกค่าที่แน่นอนไม่ได้
ปล. หากรู้ทิศทางของการชดเชย เราจะสามารถเดาได้ว่าควรชดเชยเท่าไหร่
ก็ถือว่า "ชดเชยแสงเป็นแล้ว" จะเกิดความผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร
ชดเชยแสงแล้วถ่ายซ้ำไปอีกที ก็เอาอยู่
ทีนี้ การชดเชยแสงเพราะ "สี" ก็เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะสามารถเดาได้ง่าย เช่น
สมมติว่าเราไปถ่ายรูปที่มีสีเดียวทั้งรูป จะสีอะไรก็ได้
เราประเมินแล้วว่าสีมันเข้มกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงดำ
ก็ชดเชยรอไว้เลย -0.3EV หรือ -0.7EV แล้วแต่การประเมินครับ
หรือในทางกลับกัน หากเราประเมินแล้วว่า สีมันอ่อนกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงกับสีขาว
ก็ชดเชยรอไว้เลย +0.3EV หรือ +0.7EV แล้วแต่การประเมินเช่นกัน
จากรูปนี้ "ถ่ายสีขาว" ก็ชี้จุดโฟกัสวัดแสงที่สีขาวเลย หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้ว ก็ถ่ายเลย
ได้รูปอย่างที่เห็นครับ คือเรารับรู้ได้ว่านั่นคือสีขาว แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสีขาวอมเทา
ซึ่งไม่เหมือนกับที่ตาเห็น
รูปนี้เลยต้องชดเชยแสงไป +1.0EV จะได้รูปที่ถือว่าใกล้เคียงกับของจริงที่สุดแล้ว
รูปด้านบน วัดแสงแล้วถ่ายเลย กล้องเลือก Shutter Speed ที่ 1/13Sec
หลังจากที่ชดเชยแสงไป +1EV กล้องมันจะปรับ Shutter Speed ให้ช้าลง
เพื่อให้แสงเข้าได้มากขึ้น ได้ Shutter Speed ใหม่เป็น 1/6Sec แทน
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
ในบางครั้งที่เราถ่ายรูป ตัวแสงเองนั่นแหละที่เป็นปัญหา
อาจเป็นเพราะมีแสงน้อยไปบ้าง หรือแสงมากไปบ้าง
ผมยกให้เห็นซักตัวอย่างก็แล้วกัน เป็นสถานการณ์ที่คิดว่าคนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแล้ว
นั่นก็คือ "การถ่ายย้อนแสง" นั่นเอง
ปัญหาหลักของการถ่ายย้อนแสงคือ "ได้รูปอันเดอร์"
เคยไหมที่ถ่ายคนแบบย้อนแสง แล้วตัวแบบดำปี๋
นั่นเป็นเพราะมีแสงเข้ากล้องมากเกินไป
กล้องมันจะพยายามลดแสงลงด้วยการ "เพิ่ม Shutter Speed หรือลดขนาดรูรับแสงลง"
ทำให้ ไม่มีแสงเพียงพอที่ตัวแบบ แบบเลยดำปี๋ เป็นเรื่องธรรมดา
ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการชดเชยแสงครับ (ผมไม่กล่าวถึงการใช้แฟลชเข้ามาช่วยนะครับ)
ผมจำลองตัวอย่างการถ่ายรูปย้อนแสง มาให้ดูกัน
โดยวางสีไม้ไว้ด้านหน้า แล้ววางไฟที่สว่างมากไว้ด้านหลัง ดังรูป
ใช้โหมด A วัดแสงพอดีที่สีไม้แล้วถ่าย
ปรากฏว่า... ได้รูป "อันเดอร์" ทั้งที่วัดแสงเรียบร้อยแล้ว
รูปลักษณะนี้ไม่แปลกครับ เพราะมีแสงเข้ามาจากทางด้านหลังมาก
กล้องมันก็จะเพิ่ม Shutter Speed เพื่อรักษารายละเอียดของทั้งภาพเอาไว้
แสงโดยรวมของทั้งรูป "ถือว่าโอเค" แต่แสงที่สีไม้ "อันเดอร์ไป"
หากตั้งใจจะเก็บรายละเอียดที่สีไม้ ก็ชดเชยแสงไปทางบวก
แน่นอนว่ารายละเอียดที่ สีไม้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับการเสียรายละเอียดด้านหลังไป
จริงๆแล้ว มีวิธีการแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ได้ ถ้าเรามีอุปกรณ์ช่วยอย่าง แฟลช
หรืออาจจะใช้เทคนิค HDR เข้ามาช่วย ซึ่งผมจะยังไม่กล่าวถึงในหัวข้อนี้นะครับ
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
การชดเชยลักษณะนี้ โดยส่วนมากกล้องจะวัดแสงให้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ผู้ถ่ายอาจอยากได้
- รูปที่สว่างอีกนิด เพื่อเปิดรายละเอียดตรงนั้น หรือ
- รูปที่มืดอีกหน่อย เพื่อขับให้จุดเด่น ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้น
เรียกว่าชดเชยเพราะจริตส่วนบุคคลแล้วครับ
สำหรับภาพรวมของการชดเชยแสงก็มีเท่านี้ครับ
รายละเอียดยิบย่อย ไม่ต้องพูดถึง เพราะพูดกันให้ตายก็ไม่จบ
ออกไปลองเอง ให้ประสบกาณ์มันสอนดีกว่า
คนที่อ่านบทความนี้จนจบ "ก็ใช่ว่าจะทำเป็นทันที"
"แค่บทความนี้เป็นแนวทาง ให้ฝึกฝนไปในทิศที่ถูกต้อง"
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้าง
สุดท้าย ขอให้สนุกกับการถ่ายรูปครับ
และชดเชยแสงครั้งละ 0.3EV จนถึง 1.3EV ทั้งฝั่งบวกและลบ
แล้วเอารูปมาเรียงต่อกัน เพื่อให้เห็นภาพการไล่ระดับความสว่างของภาพ
ทีนี้ ในขณะที่เราถ่ายรูปจริงนั้น สมมติว่ารูปอันเดอร์มาก
ถ้าเทียบความมืดแล้วก็น่าจะพอๆ กับรูปหมายเลข 1
ก็ชดเชยแสงไปทางด้าน "บวก" แต่จะเพิ่มครั้งล่ะ 0.3EV ก็ดูจะช้าไปสำหรับรูปที่มืดมาก
การชดเชยครั้งแรก อาจชดเชยไป "+1.0EV" เลย แล้วดูผลลัพธ์ว่า
ได้อย่างที่ต้องการแล้วหรือยัง
หากยังไม่ได้รูปที่ชอบ ก็ชดเชยไปอีกครั้ง ก็น่าจะได้รูปที่พอดีครับ
หลังจากคุณวัดและชดเชยแสงแล้ว หากได้รูปที่มีความสว่างเท่ากับรูปหมายเลข "5"
ก็ถือว่าเป็นรูปที่แสงถูกต้อง
แต่ถ้าความสว่างของรูป ไปตกที่หมายเลข 4 กับ 6 นั้น "ถือว่ารับได้ครับ"
แม้ว่ารูปหมายเลข 4 จะ Under ไปนิดและรูปหมายเลข 6 จะ Over ไปนิด แต่ก็ไม่มีปัญหาครับ
ถือว่าเกิด Error บ้างเล็กน้อย แก้ไขไม่ยาก
ปรับแต่งในโปรแกรมแต่งรูป 2-3 คลิ๊กก็ได้รูปที่ "แสงพอดี"
แต่หากรูปที่ได้มานั้น ความสว่างตกอยู่ในรูปที่ 1, 2, 3, 7, 8, 9 นั้น ผมแนะนำว่าให้ถ่ายใหม่
เพราะถึงแม้ว่ารูปเหล่านั้นจะสามารถปรับแต่งได้
แต่หากเราได้รูปต้นฉบับที่มืดหรือว่างเกินไป(Error สูง)
เมื่อนำมาปรับด้วยโปรแกรมแต่งรูป คุณภาพของไฟล์จะลดลงครับ เช่น
มี Noise มากขึ้น และยังต้องมาเสียเวลามากในการแต่งอีกด้วย
ฉะนั้น!! ผมแนะนำว่า "ถ่ายใหม่เลยครับ"
มาถึงจุดสำคัญของเรื่องการชดเชยแสง นั่นก็คือ "เราจะต้องชดเชยแสงเมื่อไหร่"
ตอบ : ต้องชดเชยแสง เมื่อไม่ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ
ผมแบ่งสาเหตุที่ต้องชดเชยแสงไว้ 3 กรณีคือ
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
มาดูตัวอย่างเป็นข้อๆ ไป...
1. ชดเชยแสงเพราะ "สี"
ใครที่เคยศึกษาเรื่องการชดเชยแสงมาบ้างก็ต้องเคยเห็นตารางนี้แน่นอน
หลักๆ นั้นเค้าสื่อว่า "ถ่ายรูปสีนั้น" ก็ควรจะชดเชยแสงกลับไป "เท่านี้" เพื่อให้ได้รูปอย่างที่ตาเห็น เช่น
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีขาวมาก ก็ควรชดเชยแสง "+2.0EV"
- หากถ่ายรูปอะไรที่มีสีดำมาก ก็ควรชดเชยแสง "- 2.0EV"
- ส่วนสีอื่นๆ ก็ดูจากตารางครับ
แต่ๆ...
ผมแนะนำว่า "ไม่ต้องไปจำสีและค่าการชดเชยแสง" ของมันหรอกครับ เพราะ
1. ใครจะไปจำได้ว่าสีนั้น(มีความเข้มสีเท่านี้ด้วย) ต้องชดเชยแสงเท่าไหร่
2. สีเดียวกัน ในสภาพแสงที่ต่างกัน มันก็สะท้อนแสงได้ไม่เท่ากัน
เช่นมีลูกบอลสีดำลูกนึง แต่เอาแสงแรงๆ มาส่อง สีที่เรามองเห็นนั้น
อาจไม่เห็นเป็นสีดำแล้วครับ อาจถึงขั้นเห็นเป็นสีขาวเลย
หรือสมมติอีกทีว่าเรามีลูกบอลสีขาวลูกนึง
แต่เอาไปไว้ในห้องที่มืดมากๆ แล้วให้เราไปดู
เราก็ไม่รู้หรอกครับว่า "ลูกบอลนั้นสีขาว" เราอาจมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำเลยด้วยซ้ำ
3. ค่าการชดเชยแสงต่างๆ ที่ให้มานั้น อาจไม่สัมพันธ์กับกล้องรุ่นใหม่ๆ
แต่ๆ...
ตารางนี้มันก็มีประโยชน์มากครับ ประโยชน์ที่ว่าคือ ทำให้เรารู้ว่า "ถ่ายสีอะไร แล้วควรชดเชยไปทางไหน ประมาณเท่าไหร่" เช่น
- หากถ่ายสีเหลือง ก็ควรชดเชยไปทางบวก "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีฟ้าหรือสีชมพู ก็ควรชดเชยไปทางบวก "นิดนึง"
หรือ
- หากถ่ายสีเทาเข้มหรือน้ำตาลเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "มากหน่อย"
- หากถ่ายสีน้ำเงินหรือเขียวเข้ม ก็ควรชดเชยไปทางลบ "นิดนึง"
แล้ว ไอ้ "นิดนึง" นี่มันเท่าไหร่ หรือไอ้ "มากหน่อย" นี่มันเท่าไหร่ นั้น!! ขึ้นอยู่กับประสบการณ์แล้วครับ ใครก็บอกค่าที่แน่นอนไม่ได้
ปล. หากรู้ทิศทางของการชดเชย เราจะสามารถเดาได้ว่าควรชดเชยเท่าไหร่
ก็ถือว่า "ชดเชยแสงเป็นแล้ว" จะเกิดความผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร
ชดเชยแสงแล้วถ่ายซ้ำไปอีกที ก็เอาอยู่
ทีนี้ การชดเชยแสงเพราะ "สี" ก็เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะสามารถเดาได้ง่าย เช่น
สมมติว่าเราไปถ่ายรูปที่มีสีเดียวทั้งรูป จะสีอะไรก็ได้
เราประเมินแล้วว่าสีมันเข้มกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงดำ
ก็ชดเชยรอไว้เลย -0.3EV หรือ -0.7EV แล้วแต่การประเมินครับ
หรือในทางกลับกัน หากเราประเมินแล้วว่า สีมันอ่อนกว่าเทากลางแน่ แต่ไม่ถึงกับสีขาว
ก็ชดเชยรอไว้เลย +0.3EV หรือ +0.7EV แล้วแต่การประเมินเช่นกัน
จากรูปนี้ "ถ่ายสีขาว" ก็ชี้จุดโฟกัสวัดแสงที่สีขาวเลย หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้ว ก็ถ่ายเลย
ได้รูปอย่างที่เห็นครับ คือเรารับรู้ได้ว่านั่นคือสีขาว แต่จริงๆ แล้วมันเป็นสีขาวอมเทา
ซึ่งไม่เหมือนกับที่ตาเห็น
รูปนี้เลยต้องชดเชยแสงไป +1.0EV จะได้รูปที่ถือว่าใกล้เคียงกับของจริงที่สุดแล้ว
รูปด้านบน วัดแสงแล้วถ่ายเลย กล้องเลือก Shutter Speed ที่ 1/13Sec
หลังจากที่ชดเชยแสงไป +1EV กล้องมันจะปรับ Shutter Speed ให้ช้าลง
เพื่อให้แสงเข้าได้มากขึ้น ได้ Shutter Speed ใหม่เป็น 1/6Sec แทน
2. ชดเชยแสงเพราะ "แสง"
ในบางครั้งที่เราถ่ายรูป ตัวแสงเองนั่นแหละที่เป็นปัญหา
อาจเป็นเพราะมีแสงน้อยไปบ้าง หรือแสงมากไปบ้าง
ผมยกให้เห็นซักตัวอย่างก็แล้วกัน เป็นสถานการณ์ที่คิดว่าคนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแล้ว
นั่นก็คือ "การถ่ายย้อนแสง" นั่นเอง
ปัญหาหลักของการถ่ายย้อนแสงคือ "ได้รูปอันเดอร์"
เคยไหมที่ถ่ายคนแบบย้อนแสง แล้วตัวแบบดำปี๋
นั่นเป็นเพราะมีแสงเข้ากล้องมากเกินไป
กล้องมันจะพยายามลดแสงลงด้วยการ "เพิ่ม Shutter Speed หรือลดขนาดรูรับแสงลง"
ทำให้ ไม่มีแสงเพียงพอที่ตัวแบบ แบบเลยดำปี๋ เป็นเรื่องธรรมดา
ปัญหานี้แก้ได้ด้วยการชดเชยแสงครับ (ผมไม่กล่าวถึงการใช้แฟลชเข้ามาช่วยนะครับ)
ผมจำลองตัวอย่างการถ่ายรูปย้อนแสง มาให้ดูกัน
โดยวางสีไม้ไว้ด้านหน้า แล้ววางไฟที่สว่างมากไว้ด้านหลัง ดังรูป
ใช้โหมด A วัดแสงพอดีที่สีไม้แล้วถ่าย
ปรากฏว่า... ได้รูป "อันเดอร์" ทั้งที่วัดแสงเรียบร้อยแล้ว
รูปลักษณะนี้ไม่แปลกครับ เพราะมีแสงเข้ามาจากทางด้านหลังมาก
กล้องมันก็จะเพิ่ม Shutter Speed เพื่อรักษารายละเอียดของทั้งภาพเอาไว้
แสงโดยรวมของทั้งรูป "ถือว่าโอเค" แต่แสงที่สีไม้ "อันเดอร์ไป"
หากตั้งใจจะเก็บรายละเอียดที่สีไม้ ก็ชดเชยแสงไปทางบวก
แน่นอนว่ารายละเอียดที่ สีไม้ดีขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับการเสียรายละเอียดด้านหลังไป
จริงๆแล้ว มีวิธีการแก้ไขสถานการณ์เช่นนี้ได้ ถ้าเรามีอุปกรณ์ช่วยอย่าง แฟลช
หรืออาจจะใช้เทคนิค HDR เข้ามาช่วย ซึ่งผมจะยังไม่กล่าวถึงในหัวข้อนี้นะครับ
3. ชดเชยแสงเพราะ "ความชอบ"
การชดเชยลักษณะนี้ โดยส่วนมากกล้องจะวัดแสงให้ถูกต้องอยู่แล้ว แต่ผู้ถ่ายอาจอยากได้
- รูปที่สว่างอีกนิด เพื่อเปิดรายละเอียดตรงนั้น หรือ
- รูปที่มืดอีกหน่อย เพื่อขับให้จุดเด่น ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น เป็นต้น
เรียกว่าชดเชยเพราะจริตส่วนบุคคลแล้วครับ
สำหรับภาพรวมของการชดเชยแสงก็มีเท่านี้ครับ
รายละเอียดยิบย่อย ไม่ต้องพูดถึง เพราะพูดกันให้ตายก็ไม่จบ
ออกไปลองเอง ให้ประสบกาณ์มันสอนดีกว่า
คนที่อ่านบทความนี้จนจบ "ก็ใช่ว่าจะทำเป็นทันที"
"แค่บทความนี้เป็นแนวทาง ให้ฝึกฝนไปในทิศที่ถูกต้อง"
และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้าง
สุดท้าย ขอให้สนุกกับการถ่ายรูปครับ
วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การชดเชยแสง (Exposure Compensation) ตอน1
ในหลายๆ ครั้งที่เราถ่ายรูป แล้วความสว่างของรูปไม่เป็นไปอย่างที่ต้องการ
อาจมืดหรือสว่างไป จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่
เราสามารถปรับแต่งเพิ่มได้ด้วยการ "ชดเชยแสง" ครับ
หน่วยของมัน ในภาษาสากลเรียกว่า "EV"
EV ย่อมาจาก "Exposure Value" เป็นค่าที่ใช้ในการวัดความสว่างของแสง
คำถาม : "ทำไมต้องมีการชดเชยแสงด้วย?"
ตอบ : เพราะในบางสถานการณ์กล้องมันไม่สามารถบันทึกภาพให้เหมือน
หรือใกล้เคียงกับที่ตาเรามองเห็นได้ แม้ว่าเราก็วัดแสงแล้วก็ตาม
รูปที่ได้มานั้นอาจมืดหรือสว่างไป เลยต้องปรับแก้ด้วยการ "ชดเชยแสง"
เช่นในสถานกาณ์แบบนี้ คนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแน่ๆ
เมื่อดูภาพหลังจากถ่าย แล้วเกิดคำถามว่า "ทำไมสีมันไม่ดำเหมือนของจริง"
หรือ "ทำไมสีมันไม่ขาวเหมือนของจริง" ทั้งที่เราก็วัดแสงให้มันพอดีแล้ว...
อย่างรูปนี้ วัดแสงพอดีที่กล้องแล้ว แต่รูปที่ได้
ตัวกล้องกลับไม่ดำเหมือนของจริง กลับดูเหมือนกล้องมีสี "ดำอมเทา"
ซึ่งของจริงมันต้องดำกว่านี้ เมื่อเราเห็นผลลัพธ์ดังนั้นเราก็
"ชดเชยแสงไปฝั่งลบ" เพื่อให้ได้รูปที่ใกล้เคียงกับกับของจริงมากที่สุด
ส่วนวิธีการชดเชยทำอย่างไร เดี๋ยวค่อยว่ากันครับ
มาถึงตรงนี้ ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ผมก็ไม่ได้เก่งถึงกับขนาดที่เห็นรูป
ก็รู้เลยว่า "มันต้องชดเชยไปทางนั้น ด้วยค่าเท่านี้"
มีในบางกรณีเท่านั้นที่รู้ว่าต้องชดเชยแน่ แต่ชดเชยเท่าไหร่นั้น
ส่วนมากก็ต้องลองครับ ลองไปเรื่อยๆ แล้วประสบการณ์มันจะสอนเอง
ว่าในกรณีไหนควรชดเชยเท่าไหร่ หรือเรียกง่ายๆ ว่า
"เดาได้แม่นยำขึ้น" เท่านั้นเอง เช่น
ตอนเล่นกล้องใหม่ๆ นั้น อย่าว่าแต่เดาเรื่องชดเชยเท่าไหร่เลย
แค่เดาว่าชดเชยไปฝั่งบวกหรือลบ "ก็งงแล้ว"
เล่นไปซักพักจะเริ่มจับทางได้เองครับว่า "ต้องชดเชยไปฝั่งไหน"
และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นอีก ก็จะสามารถเดาได้แม่นยำขึ้นว่า
"น่าจะชดเชยซักเท่าไหร่" บางทีเดาครั้งเดียวถูกเลย
บางครั้งก็ Error นิดหน่อย ชดเชยเพิ่มไปทีสองทีก็เอาอยู่
"หลังจากวัดและชดเชยแสงเป็นแล้ว" สิ่งเดียวที่จะแตกต่างระหว่างมือใหม่กับมือเก่าก็คือ
"เวลาในการถ่ายรูปนั้นๆ" มือเก่าประสบการณ์สูงอาจเลือกจุดวัดแสงได้แม่นยำกว่า
หรือถ้าต้องชดเชยแสง ก็ชดเชยไม่มาก
มือใหม่อาจเลือกจุดวัดแสงไม่แม่น ต้องชดเชยแล้วถ่ายใหม่
บางครั้งต้องชดเชยถึง 2-3 ครั้งว่าจะได้รูปอย่างมือเก่า
แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการของมัน "เราได้รูปเหมือนมือเก่าแน่นอน"
อาจใช้เวลามากกว่าไปซัก 1 นาที ซึ่งผมก็ถือว่าไม่เสียหายอะไร
คนที่เล่นกล้องทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า "Stop" แน่นอน
Stop คือหน่วยวัดของกล้องที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดค่าต่างๆ ของกล้อง ครั้งละ 1 เท่าตัว เช่น
"เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop" หมายถึง "เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 เท่าตัว"
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างคร่าวๆ กันบ้าง
สมมติ ว่าผมตั้ง Shutter Speed อยู่ที่ 1/10Sec
หากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้นครั้งละ 1 Stop เป็นจำนวน 3 ครั้ง
จะได้ Shutter Speed ที่เท่าไหร่
- ตั้งต้นที่ 1/10Sec, Stop แรก Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/20Sec ----> เพิ่มขึ้น 1 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/20Sec, Stop ที่สอง Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/40Sec ----> เพิ่มขึ้น 2 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/40Sec, Stop ที่สาม Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/80Sec ----> เพิ่มขึ้น 3 Stop
หลังจากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 3 Stop ก็จะได้ Shutter Speed ที่ 1/80Sec นั่นเอง
แต่ การเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 Stop นั้น ช่วงมันกว้างมาก ใน 1 Stop จึงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงอีกที
นั่นหมายความว่า "ซอย 1 Stop" ออกเป็น 3 ช่วง จะได้ช่วงล่ะ "0.333 Stop"
ช่วงที่ 1 มีค่า 0.333 หรือประมาณ 0.3 Stop
ช่วงที่ 2 มีค่า 0.666 หรือประมาณ 0.7 Stop
ช่วงที่ 3 มีค่า 0.999 หรือประมาณ 1.0 Stop
สำหรับมือใหม่ คุ้นๆ ตัวเลขพวกนี้บ้างไหมครับ คงจะเคยเห็นกันบ้างละนะ
ตัว เลข 0.3, 0.7, 1.0 Stop นี้ เป็นค่าที่ใช้ในการชดเชยระบบต่างๆ ของกล้อง
ไม่ว่าจะเป็น "การเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสง, Shutter Speed และ ISO" เป็นต้น
ต่อจากข้างบน มาดูตัวอย่างกันอีกที เอาให้เคลียร์
สมมติว่าเราตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/10Sec (ดูตาราง s ) แล้ว...
ชดเชยแสง -0.3 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/13Sec
ชดเชยแสง -0.7 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/15Sec
ชดเชยแสง -1.0 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
ปล. ชดเชยไปฝั่งลบ Shutter Speed ก็ต้อง "เร็วขึ้น"
ชดเชยไปฝั่งบวก Shutter Speed ก็ต้อง "ช้าลง" อย่าสับสนน่ะครับ
ดูอีกตัวอย่างน่ะครับ(ตาราง S) หาก...
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop ของ 1/10Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 2 Stop ของ 1/25Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/100Sec
ลด Shutter Speed ลง 1 Stop ของ 1/320Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/160Sec
ทีนี้มาดูการเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสงกันบ้าง
1 Stop ของรูรับแสงนั้น หมายถึง "พื้นที่วงกลมที่เพิ่มขึ้น/ลดลง 1 เท่าตัว"
แต่ตัวเลขของรูรับแสงที่เราเห็นนั้น "เป็นรัศมีของวงกลม" ครับ
ฉะนั้น!! ตัวเลขของรูรับแสง "จะไม่เพิ่มขึ้น/ลดลง ครั้งล่ะเท่าตัวเหมือน
Speed Shutter กับ ISO" น่ะครับ
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า(ดูรูปจากตาราง F )
สมมติว่าผมตั้งรูรับแสงไว้ที่ F3.5 แล้ว...
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.3 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.7 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4.5
ลดขนาดรูรับแสงลง 1.0 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F5
ปล. 1 Stop ของรูรับแสงนั้น ก็แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นกัน
หากเขียนเป็นช่วงให้เห็นชัดๆ ก็สามารถเขียนได้เป็นแบบนี้ครับ
..., -2.0, -1.7, -1.3, -1.0, -0.7, -0.3, 0.0, 0.3, 0.7, 1.0, 1.3, 1.7, 2.0, ...
มาดูวิธีการชดเชยแสงกันบ้าง ในกรณีที่ใช้โหมด A กับ S
หลังจากล็อคค่าแสงแล้วก็
1. กดปุ่มชดเชยแสง(ปุ่มที่มีเครื่องหมาย +/-) ค้างไว้
2. หมุนวงแหวนเพื่อเลือกค่าการชดเชยแสง
แต่ชดไปทางไหน เท่าไหร่นั้น ต้องดูเอาเองครับ ไม่มีใครสามารถบอกได้
ส่วนโหมด M "ชดเชยด้วยปุ่มชดเชยแสงไม่ได้นะ"
ต้องชดเชยด้วยการปรับ "รูรับแสงกับ Shutter Speed" ครับ
มาดูตัวอย่างการชดเชยแสงกันบ้างดีกว่า เช่น
สมมติว่า ผมใช้โหมด A ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 3.5 ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100Sec
แต่ปรากฏว่ารูปมืดไป(Under) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงเพิ่มขึ้น
- ชดเชยแสงครั้งแรก +0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/80Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง +0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/60Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม +1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/50Sec ---> (สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ในทางกลับกัน
หากผมใช้โหมด S ตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/50Sec ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก ขนาดรูรับแสงให้ที่ F6.3
แต่ปรากฏว่ารูปสว่างไป(Over) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงลดลง
- ชดเชยแสงครั้งแรก -0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F7.1 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง -0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F8 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม -1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F9 --->(สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ปล. จริงๆ แล้วเมื่อถ่ายเล่นไปซักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถประเมินได้ว่ารูปนั้นๆ ควรชดเชยเท่าไหร่
ไม่จำเป็นต้องชดเชยครั้งล่ะ 0.3 เหมือนอย่างที่ผมเขียนไว้น่ะครับ
ผมแค่เขียนให้เห็นภาพชัดๆ เท่านั้นเอง
วันนี้หมดเวลาแล้ว งานด่วนเข้า เอาไว้ติดตามตอนต่อไปนะครับ
ลองไปทำความเข้าใจ และลองฝึกหัดดูครับ ใจเย็นๆ อ่านช้าๆ
คงจะเข้าใจได้ไม่ยากครับ..
อาจมืดหรือสว่างไป จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่
เราสามารถปรับแต่งเพิ่มได้ด้วยการ "ชดเชยแสง" ครับ
หน่วยของมัน ในภาษาสากลเรียกว่า "EV"
EV ย่อมาจาก "Exposure Value" เป็นค่าที่ใช้ในการวัดความสว่างของแสง
คำถาม : "ทำไมต้องมีการชดเชยแสงด้วย?"
ตอบ : เพราะในบางสถานการณ์กล้องมันไม่สามารถบันทึกภาพให้เหมือน
หรือใกล้เคียงกับที่ตาเรามองเห็นได้ แม้ว่าเราก็วัดแสงแล้วก็ตาม
รูปที่ได้มานั้นอาจมืดหรือสว่างไป เลยต้องปรับแก้ด้วยการ "ชดเชยแสง"
เช่นในสถานกาณ์แบบนี้ คนเล่นกล้องทุกคนต้องเคยเจอมาแน่ๆ
เมื่อดูภาพหลังจากถ่าย แล้วเกิดคำถามว่า "ทำไมสีมันไม่ดำเหมือนของจริง"
หรือ "ทำไมสีมันไม่ขาวเหมือนของจริง" ทั้งที่เราก็วัดแสงให้มันพอดีแล้ว...
อย่างรูปนี้ วัดแสงพอดีที่กล้องแล้ว แต่รูปที่ได้
ตัวกล้องกลับไม่ดำเหมือนของจริง กลับดูเหมือนกล้องมีสี "ดำอมเทา"
ซึ่งของจริงมันต้องดำกว่านี้ เมื่อเราเห็นผลลัพธ์ดังนั้นเราก็
"ชดเชยแสงไปฝั่งลบ" เพื่อให้ได้รูปที่ใกล้เคียงกับกับของจริงมากที่สุด
ส่วนวิธีการชดเชยทำอย่างไร เดี๋ยวค่อยว่ากันครับ
มาถึงตรงนี้ ออกตัวไว้ก่อนเลยว่า ผมก็ไม่ได้เก่งถึงกับขนาดที่เห็นรูป
ก็รู้เลยว่า "มันต้องชดเชยไปทางนั้น ด้วยค่าเท่านี้"
มีในบางกรณีเท่านั้นที่รู้ว่าต้องชดเชยแน่ แต่ชดเชยเท่าไหร่นั้น
ส่วนมากก็ต้องลองครับ ลองไปเรื่อยๆ แล้วประสบการณ์มันจะสอนเอง
ว่าในกรณีไหนควรชดเชยเท่าไหร่ หรือเรียกง่ายๆ ว่า
"เดาได้แม่นยำขึ้น" เท่านั้นเอง เช่น
ตอนเล่นกล้องใหม่ๆ นั้น อย่าว่าแต่เดาเรื่องชดเชยเท่าไหร่เลย
แค่เดาว่าชดเชยไปฝั่งบวกหรือลบ "ก็งงแล้ว"
เล่นไปซักพักจะเริ่มจับทางได้เองครับว่า "ต้องชดเชยไปฝั่งไหน"
และเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นอีก ก็จะสามารถเดาได้แม่นยำขึ้นว่า
"น่าจะชดเชยซักเท่าไหร่" บางทีเดาครั้งเดียวถูกเลย
บางครั้งก็ Error นิดหน่อย ชดเชยเพิ่มไปทีสองทีก็เอาอยู่
"หลังจากวัดและชดเชยแสงเป็นแล้ว" สิ่งเดียวที่จะแตกต่างระหว่างมือใหม่กับมือเก่าก็คือ
"เวลาในการถ่ายรูปนั้นๆ" มือเก่าประสบการณ์สูงอาจเลือกจุดวัดแสงได้แม่นยำกว่า
หรือถ้าต้องชดเชยแสง ก็ชดเชยไม่มาก
มือใหม่อาจเลือกจุดวัดแสงไม่แม่น ต้องชดเชยแล้วถ่ายใหม่
บางครั้งต้องชดเชยถึง 2-3 ครั้งว่าจะได้รูปอย่างมือเก่า
แต่ถ้าเราเข้าใจหลักการของมัน "เราได้รูปเหมือนมือเก่าแน่นอน"
อาจใช้เวลามากกว่าไปซัก 1 นาที ซึ่งผมก็ถือว่าไม่เสียหายอะไร
คนที่เล่นกล้องทุกคนต้องเคยได้ยินคำว่า "Stop" แน่นอน
Stop คือหน่วยวัดของกล้องที่ใช้ในการเพิ่มหรือลดค่าต่างๆ ของกล้อง ครั้งละ 1 เท่าตัว เช่น
"เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop" หมายถึง "เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 เท่าตัว"
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างคร่าวๆ กันบ้าง
สมมติ ว่าผมตั้ง Shutter Speed อยู่ที่ 1/10Sec
หากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้นครั้งละ 1 Stop เป็นจำนวน 3 ครั้ง
จะได้ Shutter Speed ที่เท่าไหร่
- ตั้งต้นที่ 1/10Sec, Stop แรก Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/20Sec ----> เพิ่มขึ้น 1 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/20Sec, Stop ที่สอง Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/40Sec ----> เพิ่มขึ้น 2 Stop
- ตั้งต้นที่ 1/40Sec, Stop ที่สาม Shutter Speed ก็ไปอยู่ที่ 1/80Sec ----> เพิ่มขึ้น 3 Stop
หลังจากเพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 3 Stop ก็จะได้ Shutter Speed ที่ 1/80Sec นั่นเอง
แต่ การเพิ่มขึ้นครั้งละ 1 Stop นั้น ช่วงมันกว้างมาก ใน 1 Stop จึงแบ่งออกเป็น 3 ช่วงอีกที
นั่นหมายความว่า "ซอย 1 Stop" ออกเป็น 3 ช่วง จะได้ช่วงล่ะ "0.333 Stop"
ช่วงที่ 1 มีค่า 0.333 หรือประมาณ 0.3 Stop
ช่วงที่ 2 มีค่า 0.666 หรือประมาณ 0.7 Stop
ช่วงที่ 3 มีค่า 0.999 หรือประมาณ 1.0 Stop
สำหรับมือใหม่ คุ้นๆ ตัวเลขพวกนี้บ้างไหมครับ คงจะเคยเห็นกันบ้างละนะ
ตัว เลข 0.3, 0.7, 1.0 Stop นี้ เป็นค่าที่ใช้ในการชดเชยระบบต่างๆ ของกล้อง
ไม่ว่าจะเป็น "การเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสง, Shutter Speed และ ISO" เป็นต้น
ต่อจากข้างบน มาดูตัวอย่างกันอีกที เอาให้เคลียร์
สมมติว่าเราตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/10Sec (ดูตาราง s ) แล้ว...
ชดเชยแสง -0.3 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/13Sec
ชดเชยแสง -0.7 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/15Sec
ชดเชยแสง -1.0 EV ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
ปล. ชดเชยไปฝั่งลบ Shutter Speed ก็ต้อง "เร็วขึ้น"
ชดเชยไปฝั่งบวก Shutter Speed ก็ต้อง "ช้าลง" อย่าสับสนน่ะครับ
ดูอีกตัวอย่างน่ะครับ(ตาราง S) หาก...
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 1 Stop ของ 1/10Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/20Sec
เพิ่ม Shutter Speed ขึ้น 2 Stop ของ 1/25Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/100Sec
ลด Shutter Speed ลง 1 Stop ของ 1/320Sec ---> Shutter Speed ใหม่ที่ได้คือ 1/160Sec
ทีนี้มาดูการเพิ่ม/ลด ขนาดรูรับแสงกันบ้าง
1 Stop ของรูรับแสงนั้น หมายถึง "พื้นที่วงกลมที่เพิ่มขึ้น/ลดลง 1 เท่าตัว"
แต่ตัวเลขของรูรับแสงที่เราเห็นนั้น "เป็นรัศมีของวงกลม" ครับ
ฉะนั้น!! ตัวเลขของรูรับแสง "จะไม่เพิ่มขึ้น/ลดลง ครั้งล่ะเท่าตัวเหมือน
Speed Shutter กับ ISO" น่ะครับ
มาดูตัวอย่างกันดีกว่า(ดูรูปจากตาราง F )
สมมติว่าผมตั้งรูรับแสงไว้ที่ F3.5 แล้ว...
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.3 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4
ลดขนาดรูรับแสงลง 0.7 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F4.5
ลดขนาดรูรับแสงลง 1.0 Stop ---> ค่าใหม่ที่ได้ก็จะเป็น F5
ปล. 1 Stop ของรูรับแสงนั้น ก็แบ่งออกเป็น 3 ช่วงเช่นกัน
หากเขียนเป็นช่วงให้เห็นชัดๆ ก็สามารถเขียนได้เป็นแบบนี้ครับ
..., -2.0, -1.7, -1.3, -1.0, -0.7, -0.3, 0.0, 0.3, 0.7, 1.0, 1.3, 1.7, 2.0, ...
มาดูวิธีการชดเชยแสงกันบ้าง ในกรณีที่ใช้โหมด A กับ S
หลังจากล็อคค่าแสงแล้วก็
1. กดปุ่มชดเชยแสง(ปุ่มที่มีเครื่องหมาย +/-) ค้างไว้
2. หมุนวงแหวนเพื่อเลือกค่าการชดเชยแสง
แต่ชดไปทางไหน เท่าไหร่นั้น ต้องดูเอาเองครับ ไม่มีใครสามารถบอกได้
ส่วนโหมด M "ชดเชยด้วยปุ่มชดเชยแสงไม่ได้นะ"
ต้องชดเชยด้วยการปรับ "รูรับแสงกับ Shutter Speed" ครับ
มาดูตัวอย่างการชดเชยแสงกันบ้างดีกว่า เช่น
สมมติว่า ผมใช้โหมด A ตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ 3.5 ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก Shutter Speed ให้ที่ 1/100Sec
แต่ปรากฏว่ารูปมืดไป(Under) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงเพิ่มขึ้น
- ชดเชยแสงครั้งแรก +0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/80Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง +0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/60Sec ---> หากรูปยังสว่างไม่พอก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม +1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน Shutter Speed เป็น 1/50Sec ---> (สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ในทางกลับกัน
หากผมใช้โหมด S ตั้ง Shutter Speed ไว้ที่ 1/50Sec ถ่ายวิวรูปนึง
หลังจากวัดและล็อคค่าแสงแล้วกล้องมันเลือก ขนาดรูรับแสงให้ที่ F6.3
แต่ปรากฏว่ารูปสว่างไป(Over) ก็แก้ด้วยการชดเชยแสงลดลง
- ชดเชยแสงครั้งแรก -0.3 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F7.1 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สอง -0.7 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F8 ---> หากรูปยังสว่างเกินไปก็
- ชดเชยแสงครั้งที่สาม -1.0 Stop กล้องมันก็จะไปเปลี่ยน ขนาดรูรับแสงเป็น F9 --->(สมมติว่า แสงพอดีแล้ว)
ปล. จริงๆ แล้วเมื่อถ่ายเล่นไปซักระยะหนึ่ง ก็จะสามารถประเมินได้ว่ารูปนั้นๆ ควรชดเชยเท่าไหร่
ไม่จำเป็นต้องชดเชยครั้งล่ะ 0.3 เหมือนอย่างที่ผมเขียนไว้น่ะครับ
ผมแค่เขียนให้เห็นภาพชัดๆ เท่านั้นเอง
วันนี้หมดเวลาแล้ว งานด่วนเข้า เอาไว้ติดตามตอนต่อไปนะครับ
ลองไปทำความเข้าใจ และลองฝึกหัดดูครับ ใจเย็นๆ อ่านช้าๆ
คงจะเข้าใจได้ไม่ยากครับ..
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)